อำเภอลี้

อำเภอในจังหวัดลำพูน ประเทศไทย

ลี้ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดลำพูน มีเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัด เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังมีโบราณสถานหลายแห่งน่าเที่ยวชม เป็นอำเภอที่มีความเจริญอันดับที่ 2 รองจาก อำเภอเมืองลำพูน และพื้นที่ 1 ใน 3 เป็นพื้นที่เดิมของอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก (ตำบลก้อ เนื้อที่ 531.9 ตารางกิโลเมตร)[1]

อำเภอลี้
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Li
คำขวัญ: 
องค์พระธาตุสูงค่า ตระการตาอุทยานแม่ปิง
ยอยศยิ่งพระนางจามรี ประเพณีงามล้ำเลิศ
ถิ่นกำเนิดนักบุญล้านนา
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอลี้
แผนที่จังหวัดลำพูน เน้นอำเภอลี้
พิกัด: 17°48′12″N 98°57′0″E / 17.80333°N 98.95000°E / 17.80333; 98.95000
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำพูน
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,701.99 ตร.กม. (657.14 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด69,270 คน
 • ความหนาแน่น40.70 คน/ตร.กม. (105.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 51110
รหัสภูมิศาสตร์5104
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอลี้ เลขที่ 29 หมู่ที่ 4 ถนนลำพูน-ลี้ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 51110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอลี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

อำเภอลี้ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเก่าแก่ โดยได้ก่อตั้งเมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ก่อนปี พ.ศ. 1800 มีพระนางจามะรี เป็นราชธิดาของเจ้าเมืองหลวงพระบาง เป็นหัวหน้าในการอพยพผู้คนหลบหนีลี้ภัยข้าศึกและโรคระบาดจากเมืองหลวงพระบางลงมายังทางทิศใต้สู่แคว้นล้านนา ได้สร้างเมือง ณ บริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศเหมาะสม มีสายน้ำ 3 สายมาบรรจบกัน ปัจจุบันเรียกว่า "แม่ลี้" "แม่แต๊ะ" และ "แม่ไป" จึงตั้งชื่อเมืองว่า เมืองลี้ เมืองลี้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา จวบจนทางกรุงสุโขทัยได้ยกทัพมาตี โดยกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินไปยังกรุงสุโขทัย เมืองลี้จึงกลายเป็นเมืองร้าง

ต่อมามีผู้คนอพยพมาจากเมืองเชียงใหม่ ลำพูน เถิน และตาก เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยจนถึงกลางสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองลำพูนหรือนครหริภุญไชยได้แต่งตั้งเจ้าเมืองมาปกครองและตั้งเป็นเมืองลี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2454 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น อำเภอเมืองลี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2460 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอลี้ โดยตั้งแต่ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบันรวมเป็นเวลาเกือบร้อยปีแล้ว

บริเวณที่สร้างเมืองลี้ในอดีตปัจจุบันยังคงปรากฏหลักฐานซากกำแพงเมืองให้เห็นบริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว วัดพระธาตุห้าดวง วัดพระธาตุแท่นคำ วัดลี้หลวง วัดโปงกาง (ปัจจุบันวัดนี้เป็นวัดร้าง) ซึ่งวัดดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณ 2 ข้างทางถนนลำพูน-ลี้ ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 15 ตำบลลี้

ภูมิศาสตร์ แก้

อำเภอลี้มีพื้นที่กว้างขวางเกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,702.12 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่สูง ส่วนมากเป็นภูเขาต้นน้ำลำธารหรือลำห้วย แม่น้ำหรือลำห้วยเกือบทุกสายไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำลี้ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิงที่บ้านวังสะแกง เขตอำเภอเวียงหนองล่อง แม่น้ำลี้เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านจากทางทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือโดยผ่าน 4 อำเภอของจังหวัดลำพูน ได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอเวียงหนองล่อง แม่น้ำลี้จึงเปรียบเสมือนเส้นโลหิตสายใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตทั้ง 4 อำเภอ

สำหรับสภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ส่วนใหญ่อากาศเย็นสบาย ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอลี้แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 99 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2559)[2]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2559)[2]
1. ลี้ Li 17 13,512 4,502
9,010
(ทต.วังดิน)
(ทต.ลี้)
2. แม่ตืน Mae Tuen 17 11,127 3,470
7,657
(ทต.แม่ตืน)
(อบต.เวียงแก้ว)
3. นาทราย Na Sai 23 19,351 19,351 (อบต.นาทราย)
4. ดงดำ Dong Dam 6 3,081 3,081 (ทต.ดงดำ)
5. ก้อ Ko 4 2,437 2,437 (ทต.ก้อ)
6. แม่ลาน Mae Lan 7 3,104 3,104 (อบต.แม่ลาน)
7. ป่าไผ่ Pa Phai 12 9,427 9,427 (ทต.ป่าไผ่)
8. ศรีวิชัย Si Wichai 13 7,614 7,614 (ทต.ศรีวิชัย)
รวม 99 69,653 39,541 (เทศบาล)
30,112 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอลี้ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลวังดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลี้ (สุขาภิบาลวังดินเดิม - เฉพาะหมู่ที่ 4, 6, 14-15)
  • เทศบาลตำบลแม่ตืน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ตืน (สุขาภิบาลแม่ตืนเดิม - เฉพาะหมู่ที่ 3, 11-12)
  • เทศบาลตำบลลี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลี้ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลวังดิน)
  • เทศบาลตำบลดงดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงดำทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศรีวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีวิชัยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลก้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่าไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ตืน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่ตืน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลานทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยว แก้

ภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีพื้นที่บางส่วนเป็นลำน้ำปิงซึ่งยาวประมาณ 140 กิโลเมตร และสองฝั่งแม่น้ำเป็นเกาะแก่ง หน้าผา หินงอก หินย้อย การเดินทางท่องเที่ยวลำน้ำปิงสามารถเริ่มจากอ่างเก็บน้ำดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เรือหางยาว แล้วมาต่อแพที่แก่งสร้อย ล่องมาจนถึงเขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในทางกลับกันอาจจะเช่าเรือหรือแพจากเขื่อนภูมิพลล่องขึ้นไปก็ได้

  • วัดบ้านปาง ตั้งอยู่บนเนินเขาบ้านปาง หมู่ที่ 1 ตำบลศรีวิชัย ห่างจากตัวอำเภอลี้ 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายลี้-บ้านโฮ่ง-เชียงใหม่ กิโลเมตรที่ 89 เป็นวัดซึ่งครูบาศรีวิชัยบวชเรียนเป็นวัดแรก ภายในบริเวณวัดนอกจากจะมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีโบสถ์วิหารสวยงาม และยังมีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารครูบาศรีวิชัย ซึ่งเก็บของใช้ส่วนตัวของท่านไว้อย่างครบถ้วน ได้แก่ สบง จีวร หมอน กระโถน และแจกัน เป็นต้น
  • วัดพระธาตุห้าดวง (เวียงเจดีย์ห้าหลัง) ตั้งอยู่ที่ตำบลลี้ สามารถเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นบริเวณเวียงเก่าลี้ เพราะมีซากกำแพงและคูเมืองตั้งเป็นแถว วัดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เจดีย์ 5 องค์ ตามตำนานกล่าวว่าพระนางจามเทวี กษัตริย์ครองเมืองหริภุญไชยได้ยินข่าวจากราษฎรเมืองลี้ว่ามีดวงแก้ว 5 ดวง ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง จึงได้เสด็จมาทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง เวลากลางคืนจึงได้ทอดพระเนตรเห็นแสงสว่างจากดวงแก้วทั้ง 5 ดวง ลอยอยู่บนกองดิน 5 กอง จึงได้สอบถามความเป็นมาก็ทราบว่า คือพระเมโตธาตุ (น้ำไคลมือ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เคยล้างพระหัตถ์ และน้ำก็ไหลผ่านปลายนิ้วทั้ง 5 ลงพื้นดิน พระนางจึงเกิดศรัทธาสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบกองดินทั้ง 5 กองไว้ และในวันที่ 20 เมษายนของทุกปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุห้าดวง
  • วัดพระบาทห้วยต้ม และ หมู่บ้านกะเหรี่ยงห้วยต้ม วัดพระบาทห้วยต้มเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอลี้ เป็นวัดประจำหมู่บ้านชาวเขาพระบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ตำบลนาทราย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 บริเวณกิโลเมตรที่ 46-47 เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณทางเข้ามีอนุสาวรีย์พระครูบาชัยวงศาตั้งอยู่

วัดพระบาทห้วยต้มมีอาณาบริเวณกว้างขวาง ภายในมีสิ่งก่อสร้างทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลงด้านหลังของวัด และมีองค์พระธาตุที่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม โดยครูบาชัยวงศา พระอาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือเป็นผู้บูรณะก่อสร้างและจากศรัทธาของบรรดาชาวกะเหรี่ยงที่อยู่รอบบริเวณวัด ชาวกะเหรี่ยงเหล่านี้นอกจากจะทำไร่ทำสวนแล้ว ยังมีอาชีพเป็นช่างฝีมือ ทอผ้า ทำสร้อยคอ และเครื่องเงินเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน และทุกปีประมาณเดือนธันวาคม ชาวกะเหรี่ยงจะจัดงานชุมนุมชาวกะเหรี่ยงและสืบสานวัฒนธรรม มีกิจกรรมน่าสนใจ อาทิ การแสดงทางวัฒนธรรมชาวดอย การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และออกร้านจำหน่ายสินค้าฝีมือชาวกะเหรี่ยงบริเวณบ้านพระบาทห้วยต้ม

  • ถ้ำป่าไผ่ เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีรอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไผ่
  • ผาตั้ง เป็นภูเขาหินอ่อน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ลาน
  • หลักเมืองลี้

ศาสนสถาน แก้

ไฟล์:Krabawong 01.gif
ภาพหลวงปู่ครูบาวงษา จากเว็บไซต์ http://www.dhammathai.org/monk/sangha01.php

อำเภอลี้ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งนักบุญของล้านนา" มีวัดสำคัญหลายวัดที่มีตำนานแห่งนักบุญและมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง งดการเก็บเงินข้าราชการแก่ราษฎรในตำบลบ้านก้อ แขวงเมืองตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (24): 390. September 11, 1904.
  2. 2.0 2.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2559 จังหวัดลำพูน กรมการปกครอง
  3. "ไขปริศนาวันเวลาที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพ 20 กุมภาพันธ์, 21 กุมภาพันธ์ หรือ 22 มีนาคม?". มติชนสุดสัปดาห์. 31 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. เปิดประวัติ "ครูบาอภิชัยขาวปี" ศิษย์เอก "ครูบาศรีวิชัย" !!! ครูบาต้องมลทิน ที่ "จอมพลสฤษดิ์" นับถือเป็นที่สุด

แหล่งข้อมูลอื่น แก้