อำเภอร้องกวาง

อำเภอในจังหวัดแพร่ ประเทศไทย

ร้องกวาง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ ในปัจจุบันอำเภอร้องกวางมีอายุในการจัดตั้งเป็นอำเภอครบ 113 ปี (พ.ศ. 2452[1] - 2565)

อำเภอร้องกวาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Rong Kwang
คำขวัญ: 
พระธาตุปูแจล้ำค่า งามตาถ้ำผานางคอย แอ่วดอยเผ่าตองเหลือง ลือเลื่องเมืองธรรมชาติ เลิศล้ำมหาวิทยาลัย งามวิไลแหล่งน้ำตก ถิ่นมรดกประเพณี มีของดีหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอร้องกวาง
แผนที่จังหวัดแพร่ เน้นอำเภอร้องกวาง
พิกัด: 18°20′23″N 100°19′3″E / 18.33972°N 100.31750°E / 18.33972; 100.31750
ประเทศ ไทย
จังหวัดแพร่
พื้นที่
 • ทั้งหมด631.4 ตร.กม. (243.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด47,766 คน
 • ความหนาแน่น75.65 คน/ตร.กม. (195.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 54140
รหัสภูมิศาสตร์5402
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอร้องกวาง หมู่ที่ 1
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 54140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

อำเภอร้องกวางเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในท้องที่อำเภอเมืองสอง ตั้งอยู่ในป่าเรียกว่า "บ้านร้องกวาง" คำว่า "ร้อง" เป็นภาษาท้องถิ่นหมายความว่าทางน้ำเดินหรือร่องที่มีน้ำขังส่วนคำว่า "กวาง" หมายความถึงสัตว์ป่าสี่เท้าชนิดหนึ่งโดยที่หมู่บ้านแห่งนี้มีร่องน้ำหรือลำห้วยไหลผ่านโดยตลอด จึงอุดมไปด้วยต้นไม้นานาชนิดมีสภาพเป็นป่าทึบ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด โดยเฉพาะมีกวางเป็นฝูง ๆ ลงมากินน้ำ เล่นน้ำในลำห้วยนี้เป็นประจำ ลำห้วยนี้จึงได้ชื่อว่า "ลำห้วยร้องกวาง"

ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ทางราชการพิจารณาเห็นว่ามีชุมชนหนาแน่นขึ้นและมีหมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงเพิ่มขึ้นหลายหมู่บ้าน จึงได้รับการยกฐานะเป็นตำบล เรียกว่า ตำบลร้องกวาง ขึ้นกับอำเภอสอง จังหวัดแพร่ พ.ศ. 2438 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลร้องกวางขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ มีที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ในศูนย์กลางของตำบลร้องกวาง อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน เรียกชื่อว่า “กิ่งอำเภอร้องกวาง” ขึ้นต่ออำเภอสอง และทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2452 เรียกชื่อว่า “อำเภอร้องกวาง"

  • วันที่ - 2438 แยกพื้นที่ตำบลร้องกวาง ตำบลทุ่งเพ้อ ตำบลร้องเข็ม ตำบลแม่ยางฮ่อ ตำบลแม่คำมี ตำบลหนองม่วงไข่ ตำบลน้ำเลา และตำบลบ้านเฮิง จากอำเภอเมืองสอง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอร้องกวาง[2][3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองสอง
  • วันที่ 1 กันยายน 2450 โอนพื้นที่กิ่งอำเภอร้องกวาง อำเภอเมืองสอง แขวงเมืองแพร่ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองแพร่[4]
  • วันที่ 12 กันยายน 2452 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอร้องกวาง อำเภอเมืองแพร่ เป็น อำเภอร้องกวาง[1][5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลทุ่งเพ้อ แยกออกจากตำบลร้องกวาง ตั้งตำบลแม่คำมี แยกออกจากตำบลร้องเข็ม และตำบลหนองม่วงไข่[6]
  • วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลทุ่งเพ้อ อำเภอร้องกวาง เป็น ตำบลทุ่งศรี[7]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลร้องกวาง ในท้องที่บางส่วนของตำบลร้องกวาง[8]
  • วันที่ 7 กันยายน 2519 ตั้งตำบลแม่ยางตาล แยกออกจากตำบลแม่ยางฮ่อ[9]
  • วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2525 โอนพื้นที่ตำบลวังหลวง และตำบลน้ำรัด อำเภอสอง มาขึ้นกับอำเภอร้องกวาง[10]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2526 ตั้งตำบลห้วยโรง แยกออกจากตำบลไผ่โทน[11]
  • วันที่ 1 มิถุนายน 2528 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองม่วงไข่ ในท้องที่หมู่ 1,2,3 และ 4 ตำบลหนองม่วงไข่[12]
  • วันที่ 9 กรกฎาคม 2528 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร้องกวาง[13] ให้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ 2,3,5-6,9 และ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลร้องกวาง หมู่ 1-5 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งศรี กับหมู่ 2 และ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลร้องเข็ม
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลแม่คำมี ตำบลหนองม่วงไข่ ตำบลน้ำรัด และตำบลวังหลวง อำเภอร้องกวาง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองม่วงไข่[14] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอร้องกวาง
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลแม่ทราย แยกออกจากตำบลร้องกวาง[15]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลแม่ยางร้อง แยกออกจากตำบลแม่ยางฮ่อ ตั้งตำบลตำหนักธรรม แยกออกจากตำบลแม่คำมี ตั้งตำบลทุ่งแค้ว แยกออกจากตำบลวังหลวง[16]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2538 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง เป็น อำเภอหนองม่วงไข่[17]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลร้องกวาง เป็นเทศบาลตำบลร้องกวาง[18] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลร้องเข็มและสภาตำบลทุ่งศรี รวมกับเทศบาลตำบลร้องกวาง[19]
  • วันที่ 31 มีนาคม 2548 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลบ้านเวียง[20] ให้มีอาณาเขตที่ถูกต้อง และกำหนดให้มีการปกครองทั้งหมด 14 หมู่บ้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอร้องกวางตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอร้องกวางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 ตำบล 92 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด

(พ.ศ. 2563)[21]

ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น

(พ.ศ. 2563)

1. ร้องกวาง   Rong Kwang 13 6,759 4,457
2,302
(ทต. ร้องกวาง)
(อบต. ร้องกวาง)
2. ร้องเข็ม   Rong Khem 9 4,887 4,887 (ทต. ร้องกวาง)
3. น้ำเลา   Nam Lao 10 5,219 5,219 (อบต.น้ำเลา)
4. บ้านเวียง   Ban Wiang 14 7,335 7,335 (ทต. บ้านเวียง)
5. ทุ่งศรี   Thung Si 5 3,111 3,111 (ทต. ร้องกวาง)
6. แม่ยางตาล   Mae Yang Tan 9 4,720 4,720 (อบต.แม่ยางตาล)
7. แม่ยางฮ่อ   Mae Yang Ho 6 3,049 3,049 (อบต.แม่ยางฮ่อ)
8. ไผ่โทน   Phai Thon 9 3,979 3,979 (อบต.ไผ่โทน)
9. ห้วยโรง   Huai Rong 8 3,042 3,042 (อบต.ห้วยโรง)
10. แม่ทราย   Mae Sai 4 2,184 2,184 (อบต.แม่ทราย)
11. แม่ยางร้อง   Mae Yang Rong 6 3,732 3,732 (อบต.แม่ยางร้อง)
รวม 92 48,017 19,790 (เทศบาล)

28,227 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอร้องกวางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลร้องกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งศรีและตำบลร้องเข็มทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลร้องกวาง
  • เทศบาลตำบลบ้านเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเวียงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลร้องกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร้องกวาง (นอกเขตเทศบาลตำบลร้องกวาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยางตาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางฮ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยางฮ่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่โทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่โทนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ทรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางร้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยางร้องทั้งตำบล

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเมืองสาแลอำเภอร้องกวาง ในมณฑลพายัพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1289–1290. September 12, 1909. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 481–485. November 27, 1921.
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลมหาราษฎร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 336–341. November 26, 1922.
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนกิ่งอำเภอร้องกวาง ซึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอเมืองสองแขวงเมืองแพร่มาอยู่ในบังคับอำเภอเมืองแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (22): 560. September 1, 1907.
  5. "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งอำเภอเมืองสาแลอำเภอร้องกวาง ในมณฑลพายัพ หน้า ๑๒๙๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1344. September 19, 1909.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2496
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. August 3, 1956.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (108 ง): 2338–2341. September 7, 1976.
  10. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสองกับอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (15 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-8. February 3, 1982.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-5. June 16, 1983.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองม่วงไข่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 13-14. June 1, 1985.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (88 ง): 3143–3145. July 9, 1985.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (25 ง): 1356. February 13, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 106-109. July 29, 1991.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวางและกิ่งอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (145 ง): (ฉบับพิเศษ) 21-29. November 13, 1992.
  17. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอแก่งหางแมว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเวียงแก่น อำเภอแม่วาง อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอบ่อเกลือ อำเภอโนนสุวรรณ อำเภอห้วยราช อำเภอแม่ลาน อำเภอบางแก้ว อำเภอป่าพะยอม อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอยางสีสุราช อำเภอจังหาร อำเภอบ้านธิ อำเภอภูสิงห์ อำเภอบางกล่ำ อำเภอวังม่วง และอำเภอนายูง พ.ศ. ๒๕๓๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 1–3. August 8, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  18. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-31.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. September 15, 2004.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (26 ง): 5–7. March 31, 2005.
  21. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2563 จังหวัดแพร่ กรมการปกครอง