อำเภอชนบท

อำเภอในจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย

ชนบท เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งราว พ.ศ. 2326 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในชื่อ เมืองชลบถวิบูลย์ แปลว่า "เมืองแห่งทางน้ำไหลอันกว้างใหญ่" โดยมีท้าวคำพาวเมืองแสนเป็นเจ้าเมืองคนแรก (ภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯ สถาปนาตำแหน่งเป็นพระจันตะประเทศ เจ้าเมืองชนบท ในปี พ.ศ. 2335 โดยแบ่งเขตพื้นที่ออกจากการปกครองของเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันศูนย์กลางคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) ไปขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา ต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูปหัวเมืองลาวทั้งหมด จึงทำให้เมืองชลบถวิบูลย์ย้ายมาขึ้นตรงต่อหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ (มณฑลอุดร) จนกระทั่งถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ต่อมาไม่นานก็โดนยุบลงเป็นเพียงตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอบ้านไผ่ ปัจจุบันทางราชการได้จัดตั้งเป็นอำเภอในจังหวัดขอนแก่นอีกครั้ง แต่ชื่อได้เพี้ยนเป็น "ชนบท" ซึ่งแปลว่า "บ้านนอก" ในปัจจุบันมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหมี่ที่สวยงาม

อำเภอชนบท
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chonnabot
คำขวัญ: 
ชนบทเมืองไหม เที่ยวไปภูระงำ
น้ำศักดิ์สิทธิ์ภูหัน ดูตะวันหนองกองแก้ว
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอชนบท
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอชนบท
พิกัด: 16°5′18″N 102°37′18″E / 16.08833°N 102.62167°E / 16.08833; 102.62167
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
พื้นที่
 • ทั้งหมด404.3 ตร.กม. (156.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด47,359 คน
 • ความหนาแน่น117.13 คน/ตร.กม. (303.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40180
รหัสภูมิศาสตร์4018
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอชนบท ถนนแจ้งสนิท ตำบลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 40180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอชนบทตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ แก้

เดิมบริเวณหนองกองแก้ว เขตอำเภอชนบทปัจจุบันนั้น เป็น เขตเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบัน อำเภอสุวรรณภูมิ) มาตั้งแต่ปี 2256 - 2335 เมื่อครั้น พ.ศ. 2326 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีท้าวคำพาว ตำแหน่ง เมืองแสน สมุหกลาโหม (ผู้กำกับดูแลด้านทหาร) แห่งเมืองสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นบุตรชายของ พระยารัตนวงษา (ท้าวอุ่น) เจ้าเมืองศรีสะเกษ ท่านแรก เชื้อสายเจ้าแก้วมงคล[1] ได้อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกมาตั้งหมู่บ้านหนองกองแก้ว ซึ่งมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านชื่อ "หนองกองแก้ว" โดยเดิมบริเวณแถบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตเมืองสุวรรณภูมิ แลภายหลังขอแยกมาตั้งบ้านเมืองแล้ว จึงสมัครเข้ารับราชการกับเจ้าพระยานครราชสีมา โดยได้ทำความดีความชอบเป็นที่พอพระราชหฤทัย 

โดย ในพงศาวดารภาค 4 บันทึกไว้ว่า "ลุจุลศักราช 1154 ปีชวดจัตวาศก หรือ ปี พ.ศ. 2335 ฝ่ายทางเมืองสุวรรณภูมิมีคนลอบฟันท้าวสูนผู้เปนอุปราชเจ้าเมืองถึงแก่กรรม ท้าวเพี้ยกรมการจับตัวทิดโคตรพิจารณาได้ความเปนสัตย์ว่าเปนผู้ฟัน ทิดโคตรถูกเฆี่ยนตายอยู่กับคา แล้วเจ้าเมืองกรมการจึงมีบอกลงมายังกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวอ่อนท้าว บุตรพระขัติยวงษา (ทน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนเก่าซึ่งได้มาถวายตัวเปนมหาดเล็กอยู่ในกรุงเทพฯ นั้นเปนอุปราชเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พระราชทานหมวกตุ้มปี่กระบี่บั้งทองเปนเกียรติยศ"

ในปีนั้นเมืองแสน ชื่อ "ท้าวคำพาว" หรือ เรียก "ท้าวคำพาวเมืองแสน" ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าแก้วมงคล ("ขื่อเมือง" ซึ่งเป็นตำแหน่งกรมการเมืองหรือกรรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ คือมหาเสนาบดีของเมือง แยกการปกครองออกจากผู้ช่วยอาญาสี่ประเภทท้าวทั้งสี่ต่างหาก ขื่อเมืองมี 2 ตำแหน่งคือ เมืองแสน ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายทหาร และเมืองจันทน์ ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายพลเรือน) สุวรรณภูมิไม่ถูกกันกับ พระรัตนวงษา (อ่อน) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ จึงได้อพยพพร้อมผู้คนจำนวนหนึ่ง หนีออกมาตั้งบ้านหนองกองแก้ว (บริเวณอำเภอชนบทปัจจุบัน) สมัครทำราชการขึ้นอยู่กับเจ้าพระยานครราชสีมา จึงบอกกราบบังคมทูลขอตั้งให้ "ท้าวคำพาว" ตำแหน่ง เมืองแสน ของเมืองสุวรรณภูมิ มาแต่เดิม นั้น เป็นเจ้าเมือง และขอยกบ้านหนองแก้วขึ้นเป็นเมือง จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ "ท้าวคำพาว" เมืองแสนเป็น ที่ "พระจันตะประเทศ" เจ้าเมืองชนบท (ต้นตะกูล ประจันตะเสน(พระราชทาน), พึ่งมี ,วรแสน) และยกบ้านหนองแก้วขึ้นเป็นเมืองชนบท ขึ้นเมืองนครราชสีมา แบ่งเอาที่ดินเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งแต่ตำบลบ้านกู่ทองไปจนถึงหนองกองแก้ว เป็นเขตของเมืองชนบทแต่ครั้งนั้น

เมื่อครั้น พ.ศ. 2326 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีท้าวคำพาวเมืองแสน สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ ได้อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกมาตั้งหมู่บ้านหนองกองแก้ว ซึ่งมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านชื่อ "หนองกองแก้ว" โดยเดิมบริเวณแถบนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตเมืองสุวรรณภูมิ แลภายหลังขอแยกมาตั้งบ้านเมืองแล้ว จึงสมัครเข้ารับราชการกับเจ้าพระยานครราชสีมา โดยได้ทำความดีความชอบเป็นที่พอพระราชหฤทัย 

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2335 พระยานครราชสีมาจึงมีใบบอกลงไปยังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ท้าวคำพาวเมืองแสน เป็นเจ้าเมืองตำแหน่งพระจันตะประเทศ  และยกฐานะบ้านหนองกองแก้ว  ขึ้นเป็นเมืองพระราชทานนามว่า เมือง "ชลบถวิบูลย์" แบ่งอาณาเขตออกจากเมืองสุวรรณภูมิ และยกเมืองชลบถ ขึ้นกับเมืองนครราชสีมา และเมืองชลบถ นับว่าเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญยิ่งจนมีเมืองขึ้นถึง 4 เมือง คือ

1. เมืองเกษตรสมบูรณ์

2. เมืองชัยภูมิ (ต่อมาเป็นศูนย์กลางของชัยภูมิจึงได้รับการยกฐานะ เป็นจังหวัดชัยภูมิ)

3. เมืองสี่มุม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองจตุรัส)

4. เมืองโนนลาว (ต่อมาสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ เป็นเมืองโนนไทย)

เมื่อ พ.ศ. 2433 ประเทศไทยได้จัดการปฏิรูปหัวเมืองลาวที่เป็นเมืองขึ้นของไทยทั้งหมดคือ

พ.ศ. 2442 มีการเปลี่ยนชื่อเรียกหัวเมืองใหม่ทั้งหมด ให้เรียกเป็น มณฑล

และ หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ได้ย้ายที่ตั้งหัวเมืองลงมาจากฝั่งแม่น้ำโขง 50 กิโลเมตร เนื่องจากทางการไทย ได้ทำสัญญากับฝรั่งเศส (ยึดลาว) ให้ทั้งสองฝ่ายตั้งกองกำลังห่างจากแนวเขตแดนระยะทาง 50 กิโลเมตร หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เปลี่ยนเป็น มณฑลลาวพวน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น มณฑลอุดร

พ.ศ. 2434 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงประจำมณฑลอุดร หลังจากรวมเมืองขอนแก่น 2 ให้ย้ายไปรวมกับเมืองขอนแก่น 1 ที่บริเวณบ้านทุ่มแล้ว ท่านได้เดินทางลงมาตรวจเยี่ยมเมืองชลบถ ท่านเห็นว่าเมืองชลบถเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ยิ่งนัก สมญานามว่า เมืองชลบถพิบูลย์

พ.ศ. 2447 ไทยได้จัดแบ่งเขตการปกครองเป็นบริเวณ คือ จัดให้มีเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กันรวมเป็นกลุ่ม ให้เมืองที่มีประชาหนาแน่นเป็นที่ตั้ง เมือชลบถจึงถูกตัดออกมากับบริเวณพาชี อันประกอบด้วย 

  1. เมืองขอนแก่น 
  2. เมืองชลบถพิบูลย์
  3. เมืองภูเวียง 

เมืองขอนแก่นเป็นเมืองใหญ่ จึงได้เป็นศูนย์กลางการปกครองในที่ตั้งบริเวณพาชี

พ.ศ. 2450 มีการเปลี่ยนแปลงเขตบริเวณพาชี เมืองชลบถถูกยุบลงมาเป็นอำเภอ ทำให้ฐานะพระศรีชนะบาล เจ้าเมืองชลบถ ปรับลงเป็นนายอำเภอ 

พ.ศ. 2466 ตามแผนที่ทางราชการจะตัดทางรถไฟผ่านเมืองชลบถ แต่ก็ได้มีการสำรวจใหม่ ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2468 เปลี่ยนเส้นทางการสร้างทางรถไฟผ่านบ้านไผ่ ตำบลบ้านไผ่ อำเภอชนบท (ขณะนั้น)

พ.ศ. 2457 ตั้งอำเภอพล

พ.ศ. 2471 ตั้งกิ่งอำเภอบ้านไผ่  

พ.ศ. 2482 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านไผ่ขึ้นเป็นอำเภอ ผลจากการที่ทางรถไฟผ่านอำเภอบ้านไผ่ ได้มีคนอพยพเข้ามาทำมาค้าขายและอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในขณะเดียวกันอำเภอมัญจาคีรีได้ย้ายมาตั้งที่ดอนเหมือดแอ่ข้างบึงกุดเค้าตะวันออกบ้านแท่น ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอชลบถเพียง 13 กม.

พ.ศ. 2468 ทางราชการมีแผนที่จะยุบอำเภอชลบถ เป็นตำบล ประกอบกับเกิดไฟไหม้ที่ว่าการอำเภอ ทางราชการจึงยุบอำเภอชลบถลงเป็นตำบล และให้ทุกตำบลในเขตอำเภอชลบถ ไปขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2490 ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชนบท ในชื่อ "ชนบท" ขึ้นอีกครั้งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน

ชนบท  เป็นคำนามแปลว่า บ้านนอก ชลบถ เป็นคำสมาสระหว่าง ชล เป็นคำนามแปลว่า น้ำ  กับ บถ เป็นคำนามแปลว่า ทาง แปลรวมกันได้ความว่า “ทางน้ำ” ดังนั้นหากอาศัยหลักทางวิชาการ "ภูมินามวิทยา" (Toponymy) และหลักภูมิรัฐศาสตร์ (Geo- Political Sciences) ซึ่งเป็นศาสตร์ค้นคว้าเกี่ยวกับการตั้งชื่อถิ่นฐานบ้านเมืองตามทำเลที่ตั้ง "ชลบถ" จึงน่าจะเป็นคำที่ถูกต้องกว่า ชนบท

เมืองชลบถ หรืออำเภอชนบท  มีทำเนียบผู้ปกครองมาแล้วดังต่อไปนี้

  • มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง 5 คน
  • มีข้าหลวงเมืองเป็นผู้ปกครอง 3 คน
  • มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง 33 คน จนถูกยุบเข้าเป็นตำบล

พ.ศ. 2506 แยกอำเภอพล ตั้งเป็นอำเภอหนองสองห้อง

พ.ศ. 2514 ตั้งกิ่งอำเภอแวงน้อย แยกออกจากอำเภอพล

พ.ศ. 2520 ยกฐานะกิ่งอำเภอแวงน้อย เป็นอำเภอแวงน้อย และแยกอำเภอบ้านไผ่ ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอเปือยน้อย

พ.ศ. 2521 แยกอำเภอพล ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอแวงใหญ่

พ.ศ. 2537 ยกฐานะกิ่งอำเภอเปือยน้อย เป็นอำเภอเปือยน้อย และกิ่งอำเภอแวงใหญ่ เป็นอำเภอแวงใหญ่

พ.ศ. 2538 แยกอำเภอบ้านไผ่ ออกไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านแฮด

พ.ศ. 2539 ตั้งกิ่งอำเภอโนนศิลา แยกออกจากอำเภอบ้านไผ่

พ.ศ. 2550 ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านแฮด และกิ่งอำเภอโนนศิลา เป็นอำเภอ

สรุปพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ในปัจจุบันบริเวณตอนล่างแม่น้ำชี คือพื้นที่ของ เมืองชลบถ เดิมนั้นเอง

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอชนบทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอชนบทประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลชนบท ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลชนบทและตำบลศรีบุญเรือง
  • เทศบาลตำบลชลบถวิบูลย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชนบท (นอกเขตเทศบาลตำบลชนบท)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเพียขอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดเพียขอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังแสงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแท่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแท่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง (นอกเขตเทศบาลตำบลชนบท)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนพะยอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนพะยอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปอแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปอแดงทั้งตำบล

สินค้าสำคัญ แก้

ผ้าไหมมีหลายประเภท แต่ที่ขึ้นชื่อของอำเภอชนบทคือ ผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งมีการการเล่นสีอย่างจัดจ้านเพื่อผูกมัดย้อมจนพร้อมที่จะมาทอ โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ที่เรียกกันติดปากว่า "หมี่กะเทย" จะมีลายที่สวยงามและปราณีตมากและเป็นที่ต้องการของตลาดลายหมี่สำคัญ ลายขอพระเทพ

ในเขตเทศบาลตำบลชนบท จะมี "ถนนสายไหม" (เริ่มจากถนนข้างประตูทางเข้าอำเภอชนบทด้านทิศตะวันออก จรด วัดศรีบุญเรือง)ซึ่งจะมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหมเรียงรายสองข้างทางเป็นจำนวนมาก สามารถแวะชมสินค้าได้ทุกวัน

บุคคลสำคัญ แก้

  • ท้าวคำพาวเมืองแสน (ต้นตะกูล ประจันตะเสน(พระราชทาน),พึ่งมี,วรแสน)

ท้าวคำพาวเมืองแสน เป็นเจ้าเมืองคนแรก ของเมืองชลบถพิบูลย์

  • พระจันตประเทศ จางวางเมืองชนบท

พระมุนีร ญาณเถรมหานาโน หรือ หลวงปู่เขียว มหานานโน อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง (ธรรมยุติ) และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น สมัยก่อนพระป่า คณะสงฆ์อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอชนบท แม้จะมีวัดมากมายแต่ไม่ได้ใบตราตั้งวัดเพราะสร้างในเขตป่าสงวนพื้นที่เขต สปก. เลยไม่มีเจ้าคณะอำเภอและเจ้าคณะตำบลมีเฉพาะเจ้าอาวาส  คณะสงฆ์อำเภอชนบท (ฝ่ายธรรมยุติ) ได้ปกครองถึง 3 - 4 อำเภอคือ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี บางพื้นที่กินอำเภอแวงใหญ่บางส่วนด้วย เพราะเมื่อก่อนอำเภอแวงใหญ่ยังไม่แยกตัวขอเป็นอำเภอ ยังเป็นบ้านแวงใหญ่ ตำบลคอนฉิม อำเภอชนบท หลวงปู่เขียว มหานาโน จึงเป็นเจ้าคณะอำเภอที่ปกครองหลายพื้นที่ เป็นหัวมังกรที่คณะสงฆ์สายป่าเคารพและรักท่านมาก เพราะท่านคงแก่เรียน พรรษากาลมาก และทรงอภิญญา ขนาดหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าสุมนามัย และอดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ธรรมยุติ) ยังมาบวชกับหลวงปู่เขียว หลวงปู่เขียวท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่นิล ว่ากันว่าหลวงปู่นิลท่านละสังขารกระดูกเป็นพระธาตุ หลวงปู่เขียวจึงดังแบบพลุแตก และท่านก็มีชื่อเสียงมานานแล้วแต่วัตถุมงคลของท่านสร้างน้อยหายาก เลยไม่ค่อยจะมีคนชงกัน ท่านเป็นพระมหาเถรที่ทรงวิทยาคมมาก ว่ากันว่าท่านอ่านจิตของลูกศิษย์ได้ทุกคน เล่นแร่แปรธาตุเก่งมาก พระเณรทะเลาะกันในวิหารท่านไม่อยู่ พอท่านกลับมาท่านพูดในเวลาฉันท์ข้าวสั่งสอนทำให้พระเณรสะอึกและเกิดความละอายมาหลายรูป วัดศรีบุญเรืองเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอชนบท เพราะเมืองชลบทสร้างก่อนจังหวัดขอนแก่น ถ้าอ่านประวัติเมืองเก่าท่านจะรู้ เมื่อก่อนเจ้าเมืองขอนแก่นส่งส่วยเจ้าเมืองชลบท เจ้าเมืองชลบทส่งส่วยเมืองโคราช ที่คือประวัติย่อย ๆ พอถนนมิตรภาพและทางรถไฟตัดผ่าน อำเภอชนบทเลยอาภัพเป็นเมืองเก่าที่ถูกลืม สิมโบราณเมื่อก่อนอยู่วัดศรีบุญเรืองยังไม่พังถลายลงมาตามกาลเวลามีพระเก่ามากมาย หลวงปู่เขียวท่านสามารถเพ่งจิตดูได้ว่าใต้แผ่นดินนี้มีอะไรอยู่บ้าง หลวงปู่เขียวท่านเป็นเพื่อนสหธรรมมิตร (เพื่อน) กับหลวงปู่พัน พระธรรมสารเถร วัดจันทร์ประสิทธิ์ อำเภอบ้านไผ่ เป็นสหธรรมมิกกับสมเด็จบ้านโต้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุฯ สมัยท่านไปเรียนที่กรุงเทพไปพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ได้ไปพักจำพรรษากับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันฺโท จันทร์) ได้ยัติธรรมยุต ณ พัทธสีมา วัดบรมนิวาส เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2461 โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ และศึกษาเล่าเรียนที่วัดบรมนิวาส 3 พรรษา ระหว่างเรียนบาลีอยู่กรุงเทพนั้นหลวงปู่เขียวท่านได้สนทนาธรรมกับเกจิยุคนั้นหลายรูปที่ร่วมเรียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมฺโม ซึ่งเป็นสหธรรมมิกกัน (สหาย) และสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ก็สนิทสนมกัน เพราะมีอุปัชฌาย์เดียวกัน ก่อนท่านจะกลับมาบ้านเกิดอำเภอชลบท หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต ท่านเคารพหลวงปู่เขียวนี้มากถือเป็นอาจารย์หลวงปู่ผางอีกรูป ที่ท่านเคารพกราบไหว้พูดถึงอยู่บ่อยๆ ท่านเป็นที่เคารพของเกจิอาจารย์ยุคนั้นหลายรูปอาทิ หลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์,หลวงปู่วรพรตวิธาน วัดจุมพล แวงน้อย , หลวงปู่พระมหาโส กัสฺสโป ฯลฯ นอกจากนั้นหลวงปู่เขียวท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ให้เกจิดัง ๆ ยุคนั้นหลายรูป อาทิ หลวงปู่นิล มหันฺตปัญโญ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ ก่อนท่านจะมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดป่าคุ้มจัดสรรค์และเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ , พระครูสีลสังวราภรณ์ ,พระครูโอภาสสมณกิจ วัดป่าธรรมวิเวก อดีตเจ้าคณะอำเภอชนบท ผู้สร้างเหรียญหลวงพ่อผางรุ่นแรกคงเคและคอติ่งจนโด่งดัง,หลวงพ่อชม ปภัสสโร วัดบ้านระหอกโพธิ์ อำเภอโนนศิลา อดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านไผ่ (ก่อนหลวงปุ่นิล มหันตปัญโญ) ,หลวงปู่บุญมา เจ้าอาวาสวัดป่าภูหันบรรพรต,หลวงปู่แสวง วัดป่าชัยวาริน อำเภอบ้านไผ่ ,หลวงปู่เขี่ยม วัดบ้านขุมดิน อำเภอมัญจาคีรี, รวมถึงพระอาจารย์จำนงค์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันวัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ฯลฯ บั้นปลายชีวิต หลวงปู่เขียวท่านมรณภาพเมื่อ 24 สิงหาคม 2524 สิริอายุ 86 ปี 6 เดือน 66 พรรษา วันที่พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เขียว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ท่านมาเป็นประธานสงฆ์ พระราชธานเพลิงศพท่าน และมานอนที่สิมโบราณวัดบึงแก้ว เพราะวัดบึงแก้วอยู่ติดกับวัดศรีบุญเรืองไม่กี่ร้อยเมตรครับ วัตถุมงคลของท่านสร้างออกมาในวาระที่ท่านได้ทรงสมณศักดิ์เลื่อนขั้นเป็นเจ้าคุณชั้นสามัญที่ "พระมุณีวรานุรักษ์" หรือพระมุณีวรญาณเถรมหานาโม ถือเป็นเจ้าคุณรูปแรกในอำเภอชนบทก็ว่าได้

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

  • ศาลเจ้าพ่อมเหสักข์
  • ศาลาไหมไทย

วัด แก้

อ้างอิง แก้