อำเภอคลองหลวง

อำเภอในจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย

คลองหลวง เป็นอำเภอที่สำคัญ​ของจังหวัดปทุมธานี​เนื่องจากในพื้นที่มีสถานที่สำคัญและที่ตั้งองค์กร​สำคัญ​หลายแห่งเป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดของจังหวัดรวมถึงเป็นแหล่งงานของจังหวัดเนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรม​ตั้งอยู่ทำให้ปัจจุบัน​เกิดความหนาแน่น​ในส่วนของบ้านจัดสรรชุมชนและประชากร

อำเภอคลองหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khlong Luang
ภาพตึกสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
คำขวัญ: 
คลองขุดพระราชทาน งามตระการบัวหลวง โชติช่วงด้านการศึกษา แหล่งการค้าอุตสาหกรรม เด่นล้ำถิ่นอาศัย เมืองน้ำใจใฝ่คุณธรรม
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอคลองหลวง
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอคลองหลวง
พิกัด: 14°3′54″N 100°38′46″E / 14.06500°N 100.64611°E / 14.06500; 100.64611
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด299.152 ตร.กม. (115.503 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด300,949 คน
 • ความหนาแน่น1,006.01 คน/ตร.กม. (2,605.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 12120,
12110 (ตำบลคลองห้า หมู่ที่ 1 เฉพาะเลขที่ 38 และสถานบำบัดหญิงธัญบุรี; ตำบลคลองหก เฉพาะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี),
13180 (ตำบลคลองหนึ่ง หมู่ที่ 20 เฉพาะเลขที่ 1-99 และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์)
รหัสภูมิศาสตร์1302
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคลองหลวง เลขที่ 33 หมู่ที่ 7 ตำบลคลองสอง อำเภอ
คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ประวัติ แก้

ท้องที่อำเภอคลองหลวง แต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เรียกว่า ทุ่งหลวง ต่อมา พ.ศ. 2446 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ได้ขุดคลองรังสิต และคลองซอยต่าง ๆ ราษฎรจึงพากันอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพในการทำนา ในที่สุดได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2447

  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลคลองหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลคลองหนึ่ง และตำบลคลองสอง[1]
  • วันที่ 4 ธันวาคม 2516 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลคลองหลวง ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลคลองหนึ่ง และตำบลคลองสอง[2]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2527 ตั้งตำบลคลองเจ็ด แยกออกจากตำบลคลองหก [3]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม 2539 จัดตั้งเทศบาลตำบลท่าโขลง โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนจากสุขาภิบาลคลองหลวง ในพื้นที่บางส่วนตำบลคลองหนึ่ง และ ตำบลคลองสอง (ฝั่งทางตอนเหนือของ ถนนคลองหลวง)[4]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคลองหลวง เป็นเทศบาลตำบลคลองหลวง
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2544 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลท่าโขลง เป็น เทศบาลเมืองท่าโขลง[5]

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอคลองหลวงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งเป็นหมู่บ้าน รวม 106 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[6]
ชื่อตำบลเดิม สี แผนที่
1. คลองหนึ่ง Khlong Nueng
20
96,571
ท่าโขลง  
 
2. คลองสอง Khlong Song
15
47,220
บางหวาย  
3. คลองสาม Khlong Sam
16
92,139
บึงอ้ายเสียบ  
4. คลองสี่ Khlong Si
16
21,881
บึงเขาย้อน  
5. คลองห้า Khlong Ha
16
16,049
บึงจระเข้  
6. คลองหก Khlong Hok
14
13,795
บึงตะเคียน  
7. คลองเจ็ด Khlong Chet
9
7,624
แยกจากตำบลคลองหก  

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอคลองหลวงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองท่าโขลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากเหนือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214
  • เทศบาลเมืองคลองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากใต้ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสี่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองห้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเจ็ดทั้งตำบล

การคมนาคม แก้

อำเภอคลองหลวงมีถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ตัดผ่าน อันเป็นทางสำคัญในการเดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนถนนสายสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) ถนนลำลูกกา-วังน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352) ถนนคลองหลวง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214) ถนนสายรองที่สำคัญ ได้แก่ ถนนเลียบคลองสาม ถนนเลียบคลองห้า

รถประจำทาง แก้

  • รถประจำทาง ขสมก. สาย 39 ม.ธรรมศาสตร์ - สะพานใหม่ - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถธรรมดา)
  • รถประจำทาง ขสมก. สาย 39 ตลาดไท - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
  • รถประจำทางเอกชนสาย 39 ม.ธรรมศาสตร์ - บางเขน (รถปรับอากาศ)
  • รถประจำทาง ขสมก. สาย 510 ม.ธรรมศาสตร์ - ดอนเมือง - อนุสาวรีย์ชัยฯ (รถปรับอากาศ)
  • รถประจำทาง ขสมก. สาย 520 มีนบุรี - ตลาดไท (รถปรับอากาศ)
  • รถตู้โดยสารและรถมินิบัสสาย 338 รังสิต - ประตูน้ำพระอินทร์
  • รถตู้โดยสารสาย 349 รังสิต - อยุธยา - เสนา
  • รถสองแถวสาย 372 รังสิต - บางปะอิน
  • รถมินิบัสสาย 372 (เสริม) รังสิต - สถานีธรรมศาสตร์
  • รถสองแถวสาย 697 โรจนะ - นวนคร
  • รถประจำทางสาย 1008 รังสิต - หนองเสือ (รถธรรมดา)
  • รถตู้โดยสารสาย 1008 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ (รถตู้)
  • รถสองแถวสาย 1116 รังสิต - เชียงราก
  • รถตู้โดยสารสาย 1154 ท่ารถตู้ต่างจังหวัด - รังสิตคลองสาม - รร.สารสาสน์วิเทศคลองหลวง
  • รถตู้โดยสารสาย 1154 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต - หมู่บ้านพฤกษา 12
  • รถตู้โดยสารสาย 1154 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต - หมู่บ้านพฤกษา 13
  • รถตู้โดยสารสาย 1154 ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต - หมู่บ้านพฤกษา B
  • รถสองแถวสาย 1157 ปทุมธานี - ตลาดไท
  • รถสองแถวสาย 6047 รังสิตคลองสาม - คลองหลวงคลองสาม
  • รถสองแถวสาย 6048 คลองหลวงคลองสาม - ถนนเลียบคลองระพีพัฒน์
  • รถสองแถวสาย 6188 รังสิต - จารุศร
  • รถประจำทางเอกชนสาย 1-9E มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-ทางด่วน-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (รถปรับอากาศ)
  • รถประจำทางเอกชนสาย 1-31 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ - คลองหลวง คลอง 5 (รถปรับอากาศ)

สถานที่สำคัญ แก้

 
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
 
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 29-30. 28 พฤศจิกายน 2499.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (20 ง): 310–311. 5 กุมภาพันธ์ 2517.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (130 ง): 3363–3365. 25 กันยายน 2527.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าโขลง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (16 ก): 11–14. 22 พฤษภาคม 2539.
  5. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าโขลง พ.ศ. ๒๕๔๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (93 ก): 25–27. 9 ตุลาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
  6. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.