อำเภอกุฉินารายณ์

อำเภอในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย

กุฉินารายณ์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์

อำเภอกุฉินารายณ์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kuchinarai
คำขวัญ: 
มิ่งมงคลหลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธสิมมาบุษราคัมล้ำค่า
ตระการตาผ้าทอมือ เลื่องลือวัฒนธรรมผู้ไท
ก้าวไกลพลังงานทดแทน ดินแดนสัตว์โลกล้านปี
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอกุฉินารายณ์
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอกุฉินารายณ์
พิกัด: 16°32′18″N 104°3′18″E / 16.53833°N 104.05500°E / 16.53833; 104.05500
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด739.247 ตร.กม. (285.425 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด100,894 คน
 • ความหนาแน่น136.48 คน/ตร.กม. (353.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46110
รหัสภูมิศาสตร์4605
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกุฉินารายณ์ หมู่ที่ 2 ถนนสมเด็จ-มุกดาหาร ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติและความเป็นมา แก้

อำเภอกุฉินารายณ์ มีชื่อเดิมคือ "กุดสิมนารายณ์" ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านกุดสิมหรือบ้านคุ้มเก่า ตำบลคุ้มเก่า (ในเขตอำเภอเขาวงปัจจุบัน) ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองชั้นตรี มีชื่อว่า "กุดสิมนารายณ์" โดยมีพระธิเบศร์วงศา (ท้าวกอ หรือ ราชวงษ์กอ, ต้นตระกูล โทธิเบศร์วงศา) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองคนแรก เหตุที่ได้ชื่อว่า "กุดสิมนารายณ์" ก็เนื่องจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหรือที่ตั้งเมือง มีหนองน้ำแยกจากห้วยเรียกว่า "กุด" และมีศาลาสำหรับประกอบศาสนากิจอยู่กลางน้ำ เรียกว่า "สิม" ต่อมาชาวบ้านได้พบเทวรูปพระนารายณ์ทำด้วยไม้อยู่ในหนองน้ำแห่งนั้น ชาวบ้านจึงเรียกว่า "กุดสิมนารายณ์" และต่อมาได้แผลงไปตามสำเนียงการพูดเป็น "กุฉินา-รายณ์"

แต่เดิมมีเขตการปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลคุ้มเก่า ตำบลสงเปลือย ตำบลแจนแลน และตำบลชุมพร ส่วนตำบลนาคู ตำบลภูแล่นช้าง ตำบลคำบง ตำบลไค้นุ่น อยู่ในเขตการปกครองของเมืองภูแล่นช้าง ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าเมืองภูแล่นช้างกับเมืองกุดสิมนารายณ์ มีอาณาเขตคับแคบและตั้งอยู่ใกล้กัน จึงได้ยุบเมืองภูแล่นช้างให้ไปตั้งเป็นเมืองใหม่ที่อำเภอยางตลาดในปัจจุบัน แล้วให้รวมอาณาเขตเมืองภูแล่นช้างเข้ากับเมืองกุดสิมนารายณ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445

ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2454 ทางราชการได้แต่งตั้งหลวงประเวศน์อุทรขันธ์ (ลี มัธยมนันท์) มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอ และได้พิจารณาเห็นว่าสภาพท้องที่ทางภูมิศาสตร์ไม่เหมาะสมทุรกันดาร ทางคมนาคมไม่สะดวก ในฤดูแล้งขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้มีไข้ป่าชุกชุม ราษฎรทำมาหากินไม่สะดวกจึงได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่ที่บ้านบัวขาว เมื่อปี พ.ศ. 2456 อันเป็นที่ตั้งของอำเภอในปัจจุบัน และเป็นการสิ้นสุดระบบเจ้าเมืองภูไท โดยพระธิเบศร์วงศา หรือท้าวกินรี เป็นเจ้าเมืองคนที่สามเป็นเจ้าภูไทคนสุดท้ายที่ได้ปกครองหัวเมือง ในปี พ.ศ. 2474 จังหวัดกาฬสินธุ์ถูกยุบลงเป็นอำเภอ โดยให้จังหวัดกาฬสินธุ์เดิมทั้งหมดไปขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งอำเภอกุฉินารายณ์ด้วย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2483 หลวงบริหารชนบท (ส่วนบริหารชนบท) ซึ่งเป็นข้าหลวงจังหวัดมหาสารคามได้ขอแบ่งปันเขตจังหวัดใหม่ ระหว่างจังหวัดนครพนมกับจังหวัดมหาสารคาม โดยถึอเอากึ่งกลางลำน้ำพอง และสันเขาภูพานเป็นเขตแดน จึงได้ตัดโอนหมู่บ้านห้วยแดง บ้านโคกโก่ง และบ้านขุมขี้ยาง จากอำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดมุกดาหาร) มาขึ้นกับ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ยกฐานะอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จึงโอนมาขึ้นกับจังหวัดกาฬสินธุ์ตามเดิม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของตำบลต่างๆ อีกครั้งคือ แบ่งตำบลบัวขาว ออกเป็น 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลบัวขาว ตำบลจุมจัง ตำบลกุดหว้า ตำบลเหล่าไฮงาม และตำบลหนองห้าง แบ่งตำบลแจนแลน ออกเป็น 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลแจนแลน และตำบลสามขา แบ่งตำบลภูแล่นช้าง ออกเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูแล่นช้าง ตำบลคำบง และตำบลไค้นุ่น และแบ่งตำบลคุ้มเก่า ออกเป็น 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคุ้มเก่า ตำบลนาคู ตำบลหนองผือ และตำบลสงเปลือย รวม 14 ตำบล จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ. 2512 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลคุ้มเก่าขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเขาวงโดยมี ตำบลคุ้มเก่า ตำบลสงเปลือย ตำบลหนองผือ ตำบลภูแล่นช้าง และตำบลนาคู อยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอเขาวง คงเหลือตำบลที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกุฉินารายณ์ รวม 9 ตำบล ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการตั้งตำบลเหล่าใหญ่ขึ้นอีก 1 ตำบล โดยแยกจากตำบลแจนแลน ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้รับอนุมัติให้ตั้งตำบลนาขามขึ้นอีก 1 ตำบล โดยแยกจากตำบลสามขา ในปี พ.ศ. 2521 ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งตำบลขึ้นอีก 2 ตำบล คือ ตำบลนาโก แยกออกจากตำบลบัวขาว และตำบลไค้นุ่น แยกจากตำบลนิคมห้วยผึ้ง

ในปี พ.ศ. 2524 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลนิคมห้วยผึ้ง ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอห้วยผึ้ง มีตำบลนิคมห้วยผึ้ง ตำบลไค้นุ่น และตำบลคำบง ไปขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอห้วยผึ้ง คงเหลือตำบลที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอกุฉินารายณ์ 10 ตำบล 84 หมู่บ้าน ในขณะนั้น

ปัจจุบัน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเขตการปกครองทั้งสิ้น 12 ตำบล 142 หมู่บ้าน เทศบาล 4 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 10 แห่ง นายอำเภอคนปัจจุบัน ชื่อนายรณชิต พุทธลาดำรงตำแหน่ง เป็นลำดับที่ 46 ของผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

อำเภอกุฉินารายณ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 70 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

อำเภอกุฉินารายณ์แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 145 หมู่บ้าน

1. บัวขาว (Bua Khao) 16 หมู่บ้าน 7. สามขา (Sam Kha) 18 หมู่บ้าน
2. แจนแลน (Chaen Laen) 9 หมู่บ้าน 8. นาขาม (Na Kham) 17 หมู่บ้าน
3. เหล่าใหญ่ (Lao Yai) 12 หมู่บ้าน 9. หนองห้าง (Nong Hang) 9 หมู่บ้าน
4. จุมจัง (Chum Chang) 15 หมู่บ้าน 10. นาโก (Na Ko) 9 หมู่บ้าน
5. เหล่าไฮงาม (Lao Hai Ngam) 12 หมู่บ้าน 11. สมสะอาด (Som Sa-at) 7 หมู่บ้าน
6. กุดหว้า (Kut Wa) 13 หมู่บ้าน 12. กุดค้าว (Kut Khao) 8 หมู่บ้าน


การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ท้องที่อำเภอกุฉินารายณ์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองกุฉินารายณ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบัวขาว
  • เทศบาลตำบลกุดหว้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกุดหว้า
  • เทศบาลตำบลจุมจัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจุมจังทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนาขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาขามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเหล่าใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวขาว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองกุฉินารายณ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแจนแลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแจนแลนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าไฮงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาไคร้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดหว้า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลกุดหว้า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสามขา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามขาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองห้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองห้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาโก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาโกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสมสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดค้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดค้าวทั้งตำบล