ในรัฐศาสตร์ อำนาจหน้าที่[1] (อังกฤษ: authority) หมายถึงความสามารถในการกำหนดกฎเกณฑ์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจในการบังคับใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้น หรือความสามารถในการอนุญาตให้บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้ ผู้คนยอมทำตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากความเคารพ ในขณะที่ยอมตามอำนาจด้วยความกลัว ตัวอย่างเช่น "สภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย" เมื่อเทียบกับ "ตำรวจมีอำนาจในการจับผู้กระทำความผิด" อำนาจหน้าที่นั้นไม่จำเป็นต้องมีลักษณะที่คงเส้นคงวาหรือว่าสมเหตุสมผล เพียงแต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับว่าเป็นแหล่งที่สามารถให้คำอนุญาตได้หรือเป็นสิ่งที่จริงแท้

ปัญหาว่าใครจะมีอำนาจหน้าที่อะไร เป็นเสมือนหัวใจของการโต้เถียงทางการเมือง และคำตอบของคำถามเหล่านี้มักมาจากผลของการพิจารณาเชิงปฏิบัติหรือเชิงศีลธรรม จากแนวปฏิบัติที่ยึดถือกันมาและจากทฤษฎีของระบบยุติธรรมหรือจากสงครามเพื่อความยุติธรรม

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555, หน้า 43