อาเพลโดร์น (ดัตช์: Apeldoorn) เป็นเทศบาลและเมืองในจังหวัดเกลเดอร์ลันด์ ใจกลางประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงอัมสเตอร์ดัมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 60 ไมล์ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ เทศบาลมีประชากร 162,445 คน (สำรวจเมื่อปี ค.ศ. 2019)

อาเพลโดร์น
เทศบาล
พระราชวังเฮทโล
พระราชวังเฮทโล
ธงของอาเพลโดร์น
ธง
ตราราชการของอาเพลโดร์น
ตราอาร์ม
ที่ตั้งของอาเพลโดร์น
พิกัด: 52°13′N 5°58′E / 52.217°N 5.967°E / 52.217; 5.967
ประเทศเนเธอร์แลนด์
จังหวัดจังหวัดเกลเดอร์ลันด์
การปกครอง
 • Mayorฮันส์ เอสเมเยอร์ (CDA)
พื้นที่(2006)
 • ทั้งหมด341.13 ตร.กม. (131.71 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน339.96 ตร.กม. (131.26 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ1.17 ตร.กม. (0.45 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มกราคม 2019)
 • ทั้งหมด162,445 คน
 • ความหนาแน่น478 คน/ตร.กม. (1,240 คน/ตร.ไมล์)
 Source: CBS, Statline.
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
ภาพจากดาวเทียม

อาเพลโดร์น เป็นแหล่งอุตสาหกรรมกระดาษและการผลิตเนื้อ เป็นที่ตั้งของสำนักงานราชการหลายแห่ง ได้แก่ สำนักงานสรรพากรเนเธอร์แลนด์ สำนักงานที่ดินเนเธอร์แลนด์ และยังมีบริษัทประกัน บริษัทหนังสือพิมพ์ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลอีกหลายแห่งตั้งอยู่ นับจำนวนแรงงานได้ราว 95,000 คนจึงเป็นศูนย์กลางในการจ้างงานในภูมิภาคตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาขั้นสูงหลายแหล่ง ได้แก่ วิทยาลัยซักเซียน (เน้นการจัดการโรงแรมและอาคาร) วิทยาลัยวิตเตินโบร์ก โรงเรียนตำรวจเนเธอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยเทววิทยาแห่งอาเพลโดร์น

ประวัติ แก้

 
เมืองอาเพลโดร์นในศตวรรษที่ 17 ภาพโดย ยาค็อบ ฟันเราส์เดล

ชื่อของอาเพลโดร์นปรากฏในบันทึกครั้งแรกในชื่อ อัปโปลโดร (Appoldro) ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นจุดตัดระหว่างถนนโบราณเส้นอาเมอร์สโฟรต์-เดเวนเตอร์และเส้นอาร์เนม-ซโวลเลอ กระทั่งในปี ค.ศ. 1740 ปรากฏในแผนที่ด้วยชื่อ  อัปเปลโดร์น (Appeldoorn)[1]

พระราชวังเฮทโล เป็นพระราชฐานของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซาของพระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมือง ในอดีตชื่อพระราชวังเฮทนิวโล เดิมเป็นบ้านพักของดยุคแห่งเกลเดอร์ลันด์ ได้รับการตกแต่งจนมีสภาพหรูหราแบบในปัจจุบันโดยเจ้าชายวิลเลมที่ 3 แห่งออเรนจ์ สตัดเฮาเดอร์ผู้ปกครองเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้น (ทรงประทับช่วงสั้นๆระหว่าง ค.ศ. 1685 ถึง 1686)[2] สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และเจ้าหญิงมาร์ครีตพร้อมด้วยปีเตอร์ ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระสวามีก็เคยทรงประทับที่นี่เช่นกัน

อาเพลโดร์นอาจไม่โดดเด่นนักในเชิงประวัติศาสตร์ จนกระทั่งเริ่มมีความสำคัญหลังจากมีการสร้างสำนักงานและอาคารต่างๆช่วงศตวรรษที่ 19 และเรื่อยมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โบสถ์คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ได้รับการซ่อมแซมจากความเสียหายจากอัคคีภัยเมื่อปี ค.ศ. 1890[1] ส่วนโบสถ์มาเรียแกร็กในนิกายโรมันคาทอลิกได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ[2]

เมื่อปี ค.ศ. 1996 โรงงานกระดาษฟันเกลเดอร์ปาปิเยร์ถูกไฟไหม้ได้รับความเสียหายจนธุรกิจล้มละลาย ส่วนที่เหลืออยู่ของโรงงานถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ ส่วนพื้นที่โรงงานส่วนอื่นกลายมาเป็นที่ตั้งของสำนักงานของธนาคารราโบบังก์ สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง ร้านค้าอุปกรณ์กีฬา และบริษัทขนาดเล็กอีกหลายแห่ง

ในอดีต อาเพลโดร์นเคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมกระดาษและซักเสื้อผ้า เนื่องจากน้ำใต้ดินมีความใสสะอาด ผ่านการกลองด้วยทรายที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง ปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งผลิตเนื้อที่สำคัญของประเทศ และยังมีสำนักงานสาขาของหลากหลายธุรกิจ ได้แก่ ลอจิสติก ทำสีพลาสติก เครื่องต้มน้ำ รถบัสและรถบรรทุก สารผลิตยา และเฟอร์นิเจอร์

นอกจากนี้ยังมีสวนสัตว์อาเปินเฮิลที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมสัตว์นานาชนิดได้อิสระ และมีสวนสนุกโกนิงงินยูเลียนาโตเรินที่ตั้งชื่อเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์

เมื่อ ค.ศ. 2009 สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์และพระราชวงศ์ดัตช์ถูกโจมตีด้วยการใช้รถพุ่งเข้าชนโดยชายชาวดัตช์ ชื่อ คาร์สท์ เท็ทส์ เท็ทท์ได้ขับรถเข้าพุ่งเข้าไปในขบวนเสด็จที่อาเพลโดร์น[3] ส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิตรวม 6 คน แต่พระราชวงศ์ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เรียกความสนใจจากทั่วโลก

ภูมิศาสตร์ แก้

อาเพลโดรน์มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทรเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆในประเทศเนเธอร์แลนด์

ข้อมูลภูมิอากาศของอาเพลโดร์น, 1981–2010 normals
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 4.3
(39.7)
5.2
(41.4)
8.5
(47.3)
12.0
(53.6)
17.0
(62.6)
20.2
(68.4)
21.3
(70.3)
21.3
(70.3)
18.8
(65.8)
14.2
(57.6)
8.5
(47.3)
5.5
(41.9)
13.07
(55.52)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -0.8
(30.6)
-0.8
(30.6)
1.7
(35.1)
3.7
(38.7)
7.5
(45.5)
10.4
(50.7)
12.1
(53.8)
12.0
(53.6)
9.8
(49.6)
6.7
(44.1)
3.1
(37.6)
0.6
(33.1)
5.5
(41.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 66.0
(2.598)
48.0
(1.89)
54.0
(2.126)
48.0
(1.89)
58.0
(2.283)
69.0
(2.717)
77.0
(3.031)
76.0
(2.992)
69.0
(2.717)
66.0
(2.598)
73.0
(2.874)
74.0
(2.913)
778
(30.63)
ความชื้นร้อยละ 88 84 81 75 74 75 76 77 82 86 89 90 82
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 13 9 12 9 10 11 9 9 11 12 13 13 131
แหล่งที่มา: [4]

เมืองย่อย แก้

  • อาเพลโดร์น
  • เบกแบร์เคิน ห่างจากอาเพลโดร์นไปทางใต้ 6 กิโลเมตร
  • ฮุนเดอร์โล ห่างจากอาเพลโดร์นไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 8 กิโลเมตร
  • กลาเรินเบก ทางตะวันออกของลีเริน
  • ลีเริน
  • ลุนเนิน ห่างจากเบกแบร์เคินไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 5 กิโลเมตร มีปราสาท แทร์ โฮรสต์ โรงงานกล่องกระดาษ และน้ำตกเทียม
  • อุดเดิล ห่างจากอาเพลโดร์นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 10 กิโลเมตร มีการเลี้ยงโคและสุกร เป็นพื้นที่ที่มีการนับถือโปรเตสแตนท์ออโธด็อกซ์อย่างเคร่งครัด

เศรษฐกิจ แก้

ธุรกิจท้องถิ่น แก้

  • บริษัทประกันเซ็นทราล เบเฮร์
  • บริษัทผลิตจักรยานสปาร์ตา
  • บริษัทอุปกรณ์จิตรกรรมรอยัลตาเลินส์

การคมนาคม แก้

อาเพลโดร์นมีสถานีรถไฟ 4 แห่งได้แก่

  • อาเพลโดร์น
  • อาเพลโดร์น เดอ มาเติน
  • อาเพลโดร์น โอสเซอเฟลด์
  • กลาเรินเบก
 
สถานีรถไฟกลางอาเพลโดร์น
 
สถานีรถไฟอาเพลโดร์น เดอ มาเติน
 
สถานีรถไฟอาเพลโดร์น โอสเซอเฟลด์
 
สถานีรถไฟกลาเรินเบก

วัฒนธรรม แก้

กีฬา แก้

อาเพลโดร์นเคยมีสโมสรฟุตบอลอาชีพในชื่อ AGOVV Apeldoorn ลงแข่งขันที่สนามสปอร์ตปาร์กแบร์กเอ็นโบส แต่ได้ยุบเลิกไปในปี ค.ศ. 2013 เนื่องจากล้มละลายทางการเงิน แต่กีฬาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอาเพลโดร์นคือวอลเลย์บอล ด้วยผลงานของสโมสรวอลเลย์บอลเอสเฟ ดินาโม ครองแชมป์ลีกสูงสุดได้ 12 สมัย อาเพลโดร์นยังมีสนามกีฬาออมนิสปอร์ต อาเพลโดร์นที่เน้นการจัดวอลเลย์บอล เป็นสังเวียนแข่งขันวอลเลย์บอลและจักรยานรายการสำคัญระดับชาติและระดับโลกมาแล้วหลายครั้ง

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

 
ปีต เดอโยง เมื่อ ค.ศ. 1970

เมืองพี่น้อง แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Stenvert, R. et al. (2000). Monumenten in Nederland: Gelderland, p. 14 and 68–77. Zwolle: Waanders Uitgevers. ISBN 90-400-9406-3
  2. 2.0 2.1 Chisholm, Hugh, ed. (1911). "Apeldoorn". Encyclopædia Britannica. 2 (11th ed.). Cambridge University Press. p. 160.
  3. "RTL News broadcast". 30 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-01.
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "Sister City". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-14.
  6. "Sister City".

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ