อาสนวิหารนักบุญเปโตร วอมส์ (เยอรมัน: Dom St. Peter; อังกฤษ: Worms Cathedral) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นอาสนวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองวอมส์ในประเทศเยอรมนี อาสนวิหารวอมส์เป็นอาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่สร้างระหว่างปี ค.ศ. 1110 ถึงปี ค.ศ. 1181 ระหว่างอาสนวิหารชไปเออร์ และอาสนวิหารไมนทซ์ถือว่าเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ของยุคที่รุ่งเรืองที่สุดบนฝั่งแม่น้ำไรน์ในประเทศเยอรมนี และมีเอกลักษณ์พิเศษที่แบนิสเตอร์ เฟล็ทเชอร์บรรยายว่าเป็น “ลักษณะที่สวยเหมือนรูป” ลักษณะนี้ต่อมาสถาปัตยกรรมบารอกนำเอาไปเป็นแบบอย่างในการสร้างโบสถ์แบบบารอกต่อมา[1]

อาสนวิหารวอมส์
Wormser Dom
Worms Cathedral
อาสนวิหารวอมส์มองจากด้านหลัง
แผนที่
43°46′13″N 11°15′03″E / 43.77028°N 11.25083°E / 43.77028; 11.25083
ที่ตั้งวอมส์
ประเทศธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
นิกายโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์[ วอมส์]
สถานะอาสนวิหาร
ก่อตั้งค.ศ. 1110
ประเภทสถาปัตย์กางเขน
รูปแบบสถาปัตย์โรมาเนสก์
ปีสร้างค.ศ. 1110–ค.ศ. 1181

อาสนวิหารวอมส์ประกอบด้วยหอสี่หอ สองหอทางด้านหน้าของโบสถ์และอีกสองทางด้านหลังหรือมุขตะวันออกของโบสถ์ โดมสองโดม และบริเวณร้องเพลงสวดทั้งด้านทั้งหน้าและด้านหลังของวัด ด้านในมีลักษณะง่ายแต่สง่างาม ซึ่งเน้นการใช้สีธรรมชาติสีแดงของหินทรายที่เป็นวัสดุก่อสร้าง มุขมณฑลโรมันคาทอลิกวอมส์ถูกยุบเมื่อ ค.ศ. 1800

ผังของอาสนวิหารและส่วนล่างทางด้านตะวันตกเป็นของเดิมที่สถาปนาเมื่อ ค.ศ. 1110 สิ่งก่อสร้างนอกจากบริเวณนั้นสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1181 แต่บริเวณร้องเพลงสวดและเพดานมาสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประตูด้านใต้มาเพิ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขณะเดียวกับที่สร้างหอกลางใหม่

การตกแต่งบริเวณเก่าเป็นแบบง่ายๆ แต่แม้แต่บริเวณที่ตกแต่งอย่างหรูก็มิได้แสดงถึงความมีฝีมือของช่าง เหนือประตูทางด้านใต้เท่านั้นที่มีรูปสลักยุคกอทิกเรื่องการไถ่บาปที่เด่น อ่างศีลจุ่มมีรูปหินสลักนูน 5 รูปจากคริสต์ศตวรรษที่ 15

แท่นบูชาเอกเป็นศิลปะแบบบารอกสร้างเมื่อศตวรรษที่ 18 โดยสถาปนิกโยฮัน บัลทาซาร์ น็อยมัน เป็นแท่นบูชาที่โอ่อ่ามากเป็นแกะด้วยไม้ทาสีทองและหินอ่อน เป็นรูปนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโลและทูตสวรรค์สององค์ชี้ไปยังพระแม่มารีและพระบุตร[2] นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยรูปปั้นตกแต่งอย่างอื่น เช่น เครูบ

อ้างอิง แก้

  1. Sir Banister Fletcher, History of Architecture on the Comparative Method
  2. Worms Cathedral

  บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

สมุดภาพ แก้