อาการภัตตาคารจีน

อาการภัตตาคารจีน (อังกฤษ: Chinese restaurant syndrome) เชื่อว่าเป็นอาการที่เกิดจากการแพ้ผงชูรส ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 โรเบิร์ต โฮ แมน ควอก (Robert Ho Man Kwok) เขียนจดหมายถึงวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ประดิษฐ์คำว่า "อาการภัตตาคารจีน" ซึ่งเขาอ้างในจดหมายว่า

ผมได้ประสบอาการประหลาดเมื่อใดก็ตามที่ผมออกไปรับประทานในภัตตาคารจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัตตาคารที่เสิร์ฟอาหารจีนตอนเหนือ อาการนี้ ซึ่งโดยปกติเริ่มขึ้น 15 ถึง 20 นาทีหลังผมเริ่มรับประทานอาหารจานแรก กินเวลานานประมาณสองชั่วโมง โดยไม่มีผลกระทบตกค้าง เครื่องแสดงที่เด่นชัดที่สุดคือ อาการชาที่หลังคอ และค่อย ๆ ลามไปทั้งแขนและหลัง อ่อนเพลียทั่วไปและใจสั่น [1]

ใน ค.ศ. 1969 "อาการภัตตาคารจีน" คาดว่าน่าจะมาจากสารเสริมรสกลูตาเมตส่วนใหญ่เป็นเพราะบทความที่มีการอ้างอิงอย่างกว้างขวาง "โมโนโซเดียม แอล-กลูตาเมต: เภสัชวิทยาและบทบาทในอาการภัตตาคารจีน" (Monosodium L-glutamate: its pharmacology and role in the Chinese Restaurant Syndrome) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารไซแอนซ์[2] อาการนี้มักย่อเป็น CRS และภายหลังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "อาการภัตตาคารจีน" และ "กลุ่มอาการโมโนโซเดียมกลูตาเมต"

อาการซึ่งคาดว่ามาจากอาการภัตตาการจีนนั้นค่อนข้างสามัญและไม่เจาะจง อาการเหล่านี้มีทั้งความรู้สึกแสบร้อน (burning sensation), ชา, เป็นเหน็บ (tingling), รู้สึกอุ่น (feelings of warmth), หน้ากดหรือแน่น (facial pressure or tightness), เจ็บที่หน้าอก, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, หัวใจเต้นเร็ว, หลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm) ในผู้ที่เป็นโรคหืด, ง่วงซึม และอ่อนเพลีย[3]

ขณะที่หลายคนเชื่อว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมตเป็นสาเหตุของอาการเหล่านี้ แต่ไม่สามารถแสดงถึงความเชื่อมโยงภายใต้เงื่อนไขที่ควบคุมอย่างเข้มงวดเลย แม้แต่ในการศึกษากับผู้ที่ถูกชวนให้เชื่อว่าพวกเขารู้สึกไวต่อผงชูรสก็ตาม[4][5][6][7] การควบคุมอคติเชิงทดลองครบครันรวมทั้งการออกแบบการทดลองที่มียาหลอกเป็นตัวควบคุมและการนำไปใช้ในแคปซูลเพราะรสที่ยังกรุ่นอยู่ในปาก (after-taste) ที่เข้มและเป็นเอกลักษณ์ของกลูตาเมต[4]

อ้างอิง แก้

  1. Robert Ho Man Kwok (1968). "Chinese restaurant syndrome". N. Engl. J. Med. 18 (178): 796.
  2. Schaumburg H. H., Byck R., Gerstl R., Mashman J. H. (1969). "Monosodium L-glutamate: Its pharmacology and role in the Chinese restaurant syndrome". Science. 163 (3869): 826–828. doi:10.1126/science.163.3869.826. PMID 5764480.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. U. S. Department of Health and Human Services, U. S. Food and Drug Administration, "FDA and Monosodium Glutamate (MSG) เก็บถาวร 2009-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน," August 31, 1995
  4. 4.0 4.1 Tarasoff L., Kelly M.F. (1993). "Monosodium L-glutamate: a double-blind study and review". Food Chem. Toxicol. 31 (12): 1019–1035. doi:10.1016/0278-6915(93)90012-N. PMID 8282275.
  5. Freeman, Matthew (2006). "Reconsidering the effects of monosodium glutamate: A literature review". Journal of the American Academy of Nurse Practitioners. 18 (10): 482–86. doi:10.1111/j.1745-7599.2006.00160.x. PMID 16999713. S2CID 21084909.
  6. Geha RS, Beiser A, Ren C; และคณะ (April 2000). "Review of alleged reaction to monosodium glutamate and outcome of a multicenter double-blind placebo-controlled study". J. Nutr. 130 (4S Suppl): 1058S–62S. PMID 10736382.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Walker R (October 1999). "The significance of excursions above the ADI. Case study: monosodium glutamate". Regul. Toxicol. Pharmacol. 30 (2 Pt 2): S119–S121. doi:10.1006/rtph.1999.1337. PMID 10597625.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้