อัษฏาธยายี (Aṣṭādhyāyī, หมายถึง "คัมภีร์ 8 บท") เป็นหลักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยทราบ และนับเป็นงานที่เก่าแก่ที่รู้เท่าที่เคยรู้จักกันมา ในด้านภาษาศาสตร์พรรณนา ภาษาศาสตร์ทั่วไป และอาจรวมถึงภาษาศาสตร์โดยรวมด้วย ผลงานชิ้นนี้รจนาขึ้นในราว 400 ปีก่อนคริสตกาล โดยนักไวยากรณ์ชาวคันธาระ ชื่อว่า ปาณินิ โดยได้บรรยายถึงไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤตแบบแผนอย่างสมบูรณ์ และยังกล่าวถึงข้อยกเว้นอันเป็นลักษณะในภาษาสันสกฤตก่อนยุคแบบแผน (ภาษาสันสกฤตยุคพระเวท) ไว้หลายลักษณะด้วย

ผลงานของปาณินินับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และประสบความสำเร็จในการบรรยายไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอย่างดี แม้นักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตในชั้นหลัง ก็นิยมใช้หลักของปาณินิ งานชิ้นนี้ยังคงมีการนำมาใช้ หรืออ้างอิง ในการสอนภาษาสันสกฤตแม้ในปัจจุบัน

ไวยากรณ์ของปาณินิมีด้วยกันหลายภาค โดยมีหลักทางสัณฐานวิทยา ในทางภาษาศาสตร์ ดังนี้

อัษฏาธยายีนี้ประกอบด้วยสูตรต่างๆ (สูตรานิ) ถึง 3,959 สูตร โดยแบ่งเป็น 8 หมวด แต่ละหมวดแบ่งเป็น 4 บท (ปทานิ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้