อัลมัชริก

ส่วนตะวันออกของโลกอาหรับ

อัลมัชริก (อาหรับ: ٱلْمَشْرِق; "ตะวันออก") เป็นส่วนตะวันออกของโลกอาหรับที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกกับแอฟริกาเหนือฝั่งตะวันออก[5] ประกอบด้วยรัฐอาหรับต่าง ๆ ได้แก่ กาตาร์, คูเวต, จอร์แดน, ซาอุดีอาระเบีย, ซีเรีย, ซูดาน, บาห์เรน, ปาเลสไตน์, เยเมน, เลบานอน, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อิรัก, อียิปต์ และโอมาน[6][7][8][9] แต่ไม่รวมรัฐที่ไม่ใช่อาหรับอย่างคอโมโรส, จิบูตี และโซมาเลียซึ่งเป็นสมาชิกสันนิบาตอาหรับ

อัลมัชริก
ประเทศและดินแดน
แผนที่แสดงพื้นที่อัลมัชริกตามนิยามแบบอนุรักษนิยม[1][2][3][4]

อัลมัชริก มีความหมายเชิงกวีว่า "แดนอาทิตย์อุทัย" โดยมาจากรูปกริยาว่า ชะเราะเกาะ (شرق; "ส่องแสง" "สว่างไสว" "แผ่รังสี" หรือ "ขึ้น") สื่อถึงทิศตะวันออกซึ่งเป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น[10][11]

ภูมิศาสตร์ แก้

ศัพท์ อัลมัชริก สื่อถึงประเทศที่อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับประเทศอิหร่าน เป็นศัพท์คู่กับ อัลมัฆริบ (ٱلْمَغْرِب) ซึ่งสื่อถึงส่วนตะวันตกของแอฟริกาเหนือ ลิเบียอาจแบ่งเป็นสองส่วนระหว่างเขตอิทธิพลอัลมัชริกกับเขตอิทธิพลอัลมัฆริบ โดยภาคตะวันออก (ไซราเนกา) มีความเชื่อมโยงกับอียิปต์และอัลมัชริกมากกว่า[12]

ศัพท์ทางภูมิศาสตร์ทั้งสองมีมาตั้งแต่การขยายตัวของศาสนาอิสลามยุคเริ่มแรก ภูมิภาคนี้มีความคล้ายกับการนำบิลาดุชชามและเมโสโปเตเมียรวมกัน[13] ข้อมูลเมื่อ 2014 อัลมัชริกเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรร้อยละ 1.7 ของประชากรโลก[14][15][16][17][18][19]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "About ANPGR". Arab Network of Plant Genetic Resources.
  2. "Mashreq". Association of Agricultural Research Institutions in the Near East & North Africa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-24. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ August 19, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "لماذا يستثنى الأردن من التقسيم؟ الوضع الداخلي هو العنصر الحاسم*فهد الخيطان" [Why is Jordan exempted from the division? The internal situation is a critical component * Fahd strings]. rasseen.com (ภาษาอาหรับ). Rasseen. 2014-07-13.
  5. bank, world. "Economic interrogation in the mashriq" (PDF). siteresources.
  6. "Mashriq GEOGRAPHICAL REGION, MIDDLE EAST". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  7. "European Neighbourhood Policy in the Mashreq Countries: Enhancing Prospects for Reform". Centre for European Policy Studies. 2005-09-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  8. Introduction to Migration and the Mashreq เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 3, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "Migrants from the Maghreb and Mashreq Countries" (PDF). IOM International Organization for Migration. July 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-01-19.
  10. Alvarez, Lourdes María (2009). Abu Al-Ḥasan Al-Shushtarī. Paulist Press. p. 157. ISBN 978-0-8091-0582-3.
  11. Peek, Philip M.; Yankah, Kwesi (2003-12-12). African Folklore: An Encyclopedia. Routledge. p. 442. ISBN 978-1-135-94873-3.
  12. Gall, Michel Le; Perkins, Kenneth (2010). The Maghrib in Question: Essays in History and Historiography. University of Texas Press. p. 8. ISBN 978-0-292-78838-1.
  13. Clancy-Smith, Julia (2013-11-05). North Africa, Islam and the Mediterranean World. Routledge. p. 98. ISBN 978-1-135-31213-8.
  14. Official estimate of the Population of Egypt เก็บถาวร พฤษภาคม 25, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. UN estimate for Lebanon
  16. Official Jordanian population clock เก็บถาวร มกราคม 17, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. "National Main Statistical Indicators". State of Palestine – Palestinian Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-03. สืบค้นเมื่อ 2016-05-02.
  18. UN estimate for Syria
  19. "Iraq". The World Bank.