อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์

อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์ (/əbˈdʌlə bɪn ˈhɑːməd æl ˈɑːtjə/ ( ฟังเสียง) əb-dul-ə-_-bin; อาหรับ: عبدالله بن حمد العطية; ค.ศ. 1951 – ) เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศกาตาร์และหัวหน้าศาลของเอมีร์

อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์
รองนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศกาตาร์
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน ค.ศ. 2007 – 18 มกราคม ค.ศ. 2011
กษัตริย์ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี
นายกรัฐมนตรีฮะมัด บิน ญะซิม
ก่อนหน้าฮะมัด บิน ญะซิม
ถัดไปอะห์มัด บิน อับดุลละห์ อัล มะห์มูด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม ค.ศ. 1999 – 18 มกราคม ค.ศ. 2011
กษัตริย์ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี
นายกรัฐมนตรีฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี
ฮะมัด บิน ญะซิม
ก่อนหน้าคาลิด บิน ฮะมัด
ถัดไปโมฮัมเหม็ด ซาเลห์ อัล ซาดา
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม ค.ศ. 1992 – 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995
นายกรัฐมนตรีเคาะลีฟะฮ์ บิน ฮะมัด
ก่อนหน้าจัสซิม บิน ฮะมัด
ถัดไปคาลิด บิน ฮะมัด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1952-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 1952 (71 ปี)
โดฮา ประเทศกาตาร์
ศาสนาอิสลาม

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา แก้

อัตติยาห์เกิดในปี ค.ศ. 1951 หรือ 1952[1][2] ในปี ค.ศ. 1976 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ด้วยวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี[2]

ผลงานในระดับอาชีพ แก้

อัตติยาห์เริ่มต้นอาชีพในปี ค.ศ. 1972 ร่วมกับกระทรวงการคลังและปิโตรเลียมแห่งประเทศกาตาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง 1986 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการประชาสัมพันธ์ที่กระทรวง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ถึง 1989 ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานรัฐมนตรี และจากปี ค.ศ. 1989 ถึง 1992 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและปิโตรเลียม ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1992 ถึงมกราคม ค.ศ. 2011 อัตติยาห์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม[3][4] เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1999 เขายังรับผิดชอบด้านไฟฟ้าและน้ำในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้รวมเข้ากับกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม[5] เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2003 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สองและเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2007 เข้าดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[3][4] เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2011 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของอะมิรี ดีวาน ในช่วงหลังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งช่วงดังกล่าว ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงานของเขาได้รับการแทนที่โดยโมฮัมเหม็ด ซาเลห์ อัล ซาดา

ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 อัตติยาห์เป็นผู้อำนวยการกัลฟ์เฮลิคอปเตอร์คอร์ปอเรชัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 ถึง 1995 เขาดำรงตำแหน่งรองประธานคิวเทล ตั้งแต่ ค.ศ. 1986 เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริษัทกัลฟ์แอร์เวย์สคอร์ปอเรชัน และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นผู้อำนวยการกาตาร์ปิโตรเลียม[3][4]

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 อัตติยาห์ได้รับเลือกเป็นประธานโอเปก และเป็นสมาชิกคณะกรรมการโควตาของโอเปก[5] เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่แปด ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกแก๊ส ณ กรุงโดฮา เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานขององค์กร[6][7][8] แม้ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกแก๊สได้เห็นโดยผู้เชี่ยวชาญบางคนในฐานะที่เป็นความพยายามในการจัดทำ 'แก๊ส-โอเปค' อัตติยาห์ก็ไม่ยอมรับการรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจที่เหมือนกับโอเปก[9]

ในปี ค.ศ. 2011 อัตติยาห์ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของอดีตเอมีร์ ฮะมัด อัษษานี และเป็นประธานการควบคุมดูแลและความโปร่งใสแห่งประเทศกาตาร์[1]

ในช่วงการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติประจำปี พ.ศ. 2555 ที่กรุงโดฮา อัตติยาห์ได้ทำหน้าที่เป็นประธาน[10]

รางวัลที่ได้รับ แก้

ในปี ค.ศ. 2007 สำนักข่าวกรองบริติชปิโตรเลียมในกรุงลอนดอนได้เลือกอัตติยาห์เป็นผู้ชายแห่งปี ในสาขาการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน[11]

ชีวิตส่วนตัว แก้

อัตติยาห์แต่งงานและมีลูกหกคน ความสนใจของเขาคือการอ่านหนังสือ, ตกปลา และวิทยุสื่อสาร[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "H.E. Abdullah bin Hamad Al Attiyah - Bio" (PDF). UNFCC. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  2. 2.0 2.1 "H.E. Abdullah bin Hamad Al Attiyah". Qatar Museums Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2013. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Ministry of Energy and Industry". Ministry of Foreign Affairs of Qatar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2002. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "HE Abdullah bin Hamad Al Attiyah" (PDF). OPEC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 July 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. 5.0 5.1 "Abdullah Bin Hamad Al Attiya". APS Diplomat Operations in Oil Diplomacy. 30 October 2000. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
  6. Baxter, Kevin (2 July 2009). "Qatar energy chief says UAE to join gas forum". Arabian Oil and Gas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-25. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
  7. Daya, Ayesha; Tuttle, Robert (30 June 2009). "Gas Producers Count on Oil-Linked Contracts in Qatar". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
  8. Medetsky, Anatoly (1 July 2009). "Russia Fails to Offer Gas Candidate". The Moscow Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
  9. Prosser, David (10 April 2007). "Gas exporters rule out a cartel, but opt for joint efforts on pricing". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
  10. Harrabin, Roger (8 December 2012). "UN climate talks extend Kyoto Protocol, promise compensation". BBC News. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
  11. "Qatar becomes largest LNG producer: Attiyah". The Peninsula. 9 พฤษภาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2011. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้