อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด อิบน์ อิดรีส อัชชาฟิอี (อาหรับ: أَبُو عَبْدِ ٱللهِ مُحَمَّدُ بْنُ إِدْرِيسَ ٱلشَّافِعِيُّ; ค.ศ. 767–820, ฮ.ศ. 150–204) เป็นนักเทววิทยา นักเขียน และนักปราชญ์มุสลิมชาวอาหรับ โดยเขาเป็นคนแรกที่สนับสนุนหลักการของกฎหมายอิสลาม (อุศูลุลฟิกฮ์) อัชชาฟิอีเป็นหนึ่งในสี่อิหม่ามที่ยิ่งใหญ่ และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักชาฟิอี (หรือมัซฮับ) โดยเขาเคยเป็นนักเรียนดีเด่นของอิหม่ามมาลิก อิบน์ อนัส และปกครองเมืองนาญาร์มาก่อน[5]

มุญัดดิดแห่งศตวรรษที่ 2
ปราชญ์แห่งกุร็อยช์

อัชชาฟิอี
اَلشَّافِعِيُّ
คำนำหน้าชื่อชัยคุลอิสลาม
ส่วนบุคคล
เกิดสิงหาคม ค.ศ. 767
ฆ็อซซะฮ์, บิลาดุชชาม, รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
มรณภาพ19 มกราคม ค.ศ. 820 (54 ปี)
ฟุสฏอฏ, ประเทศอียิปต์
ศาสนาอิสลาม
ชาติพันธุ์ชาวอาหรับ
ยุคยุคทองของอิสลาม
สำนักคิดอิจญ์ติฮาด
ความสนใจหลักฟิกฮ์
แนวคิดโดดเด่นชาฟิอี
ผลงานโดดเด่นอัรริซาละฮ์ ฟีอุศูลุลฟิกฮ์, กิตาบุลอุมม์, มุสนัด อัชชาฟิอี
ตำแหน่งชั้นสูง

ประวัติ แก้

ตระกูล แก้

อัชชาฟิอีอยู่ในตระกูลบนูมุฏฏอลิบของเผ่ากุเรช ซึ่งเป็นตระกูลพี่สาวของบนูฮาชิม ที่เป็นตระกูลของศาสดามุฮัมมัดและเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์[6]

ชีวิตช่วงต้น แก้

เขาเกิดในฆ็อซซะฮ์บริเวณเขตชุมชนอัสกาลานใน ฮ.ศ.150 (ค.ศ. 767).[7] พ่อของเขาเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเป็นเด็ก และแม่ของเขาตัดสินใจย้ายไปที่มักกะฮ์ตอนที่เขาอายุประมาณ 2 ขวบ[6] และเนื่องจากว่าทางครอบครัวมีฐานะไม่ค่อยดี แม่จึงให้เขาเขียนบนเรียนในกระดูกไหล่แทนกระดาษ[8]

ฝึกเรียนกับอิหม่ามมาลิก แก้

อัชชาฟิอีเดินทางไปเรียนกับอิหม่ามมาลิกที่มะดีนะฮ์[6] [9] โดยมีรายงานว่าเขาไปที่นั่นตอนอายุ 13 ปี[7][10] แต่บางรายงานกล่าวว่าเขาไปตอนอายุ 20 ปี[6] จนอิหม่ามมาลิกเสียชีวิตใน ฮ.ศ. 179 (ค.ศ. 795)[6] ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ชอบมุมมองบางอย่างของมาลิกในภายหลัง แต่เขายังคงให้เกียรติแก่อิหม่ามมาลิกว่าเป็น "คุณครู"[7]

เดินทางไปแบกแดดและอียิปต์ แก้

 
สุสานของอิหม่ามชาฟิอีในไคโร

อัชชาฟิอีเดินทางไปแบกแดดใน ค.ศ. 810 โดยความเป็นอยู่ในฐานะนักกฎหมายได้เติบโตขึ้นอย่างมาก[6] จนเคาะลีฟะฮ์อัลมะมูนได้กล่าวให้เขารับหน้าที่เป็นผู้พิพากษา แต่อิหม่ามชาฟิอีปฏิเสธข้อเสนอนี้.[6]

และใน ค.ศ. 814 เขาตัดสินใจออกจากแบกแดดแล้วไปที่อียิปต์ โดยไม่มีใครรู้ว่าทำไมเขาจึงออกจากแบกแดด แต่ในอียิปต์เขาอาจจะพบครูคนใหม่, ซัยยิดะฮ์ นาฟีซะฮ์ บินต์ อัล-ฮะซันได้สนับสนุนคำสอนของเขา[3][4] และเป็นที่ที่เขาสามารถใช้ชีวิตไปกับการสอนลูกศิษย์[6]

เสียชีวิต แก้

 
โลงศพของอิหม่ามชาฟิอีในกรุงไคโร

มีผู้มีอำนาจคนหนึ่งกล่าวว่า อัชชาฟิอีถูกฆ่าตายโดยผู้สนับสนุนของมาลิกีที่มีชื่อว่าฟิตยาน[11] แต่อย่างไรก็ตาม อัชชาฟิอี เป็นคนที่มีโรคภัยไข้เจ็บขั้นร้ายแรงมาก่อน ซึ่งทำให้ทำให้เขาอ่อนแอและไม่สบายในช่วงสุดท้ายของชีวิต ส่วนสาเหตุการตายนั้นยังไม่ทราบที่แน่ชัด[12]

อัชชาฟิอี เสียชีวิตตอนอายุ 54 ปีในวันที่ 30 เราะญับ ฮ.ศ. 204 (20 มกราคม ค.ศ. 820) ที่เมืองอัล-ฟุสตัด, ประเทศอียิปต์ และถูกฝังในตู้ฝังศพของบนูอับดุลฮากิม ใกล้ภูเขามูคอตตัม.[6] แล้วค่อยสร้าง กุบบะฮ์ (อาหรับ: قُـبَّـة, โดม) ใน ฮ.ศ. 608 (ค.ศ. 1212) โดยสุลต่านอัล-คามิลของราชวงศ์อัยยูบิด และตัวสุสานยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน[13][14]

สิ่งที่ทิ้งไว้ แก้

มัซฮับชาฟิอี ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่มัซฮับของซุนนะฮ์ทางด้านหลักนิติศาสตร์อิสลาม หรือที่เรียกว่า มัซฮับ ได้รับการตั้งชื่อตามอัชชาฟิอี ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำหนดกรอบของหลักนิติศาสตร์อิสลามด้วยการจัดลำดับความสำคัญของแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. อัลกุรอาน;
  2. ซุนนะฮ์ คือชุดของคำพูด, การกระทำ และการเห็นชอบของมุฮัมมัด (ร่วมกับอัลกุรอานสิ่งเหล่านี้ประกอบกันเป็น "แหล่งที่มาที่ถูกวะฮีย์");
  3. อิจญ์มาอ์ คือฉันทามติของชุมชนมุสลิม (บริสุทธิ์ดั้งเดิม);
  4. กิยาส คือวิธีการเปรียบเทียบ

[15][16][17][18][19]

กะลาม

อัชชาฟิอี เป็นส่วนหนึ่งของนักศาสนศาสตร์แนวอนุรักษนิยมในยุคแรกๆ ที่ต่อต้าน อะฮ์ลุลกะลาม อย่างรุนแรง และวิพากษ์วิจารณ์นักศาสนศาสตร์เชิงคาดเดาที่ละทิ้ง อัลกุรอาน และ ซุนนะฮ์ ผ่านการยอมรับของกะลาม[20]

สิ่งก่อสร้าง

เศาะลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ สร้างมัดเราะซะฮ์ และมะกอมในบริเวณสุสานของเขา อัฟฎ็อล น้องชายของเศาะลาฮุดดีน ได้สร้างสุสาน ให้เขาในปี 1211 หลังจากการพ่ายแพ้ของพวกฟาฏิมียะฮ์[21]

ผู้ติดตาม

ในบรรดาสาวกของมัซฮับอิหม่ามชาฟิอีได้แก่:

ผลงาน แก้

เขาประพันธ์หนังสือมากกว่า 100 เล่ม[22] แต่ส่วนใหญ่ยังมาไม่ถึงเรา ผลงานของท่านที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันได้แก่

นอกจากนี้ อัชชาฟิอียังเป็นกวีที่เก่งกาจ เขาแต่งบทกวีสั้นๆ มากมายที่มุ่งกล่าวถึงศีลธรรมและพฤติกรรม

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แก้

อะฮ์หมัด อิบน์ ฮัมบัล ถือว่า อัชชาฟิอี เป็น "อิหม่าม ที่ซื่อสัตย์ต่อซุนนะฮ์มากที่สุด" ซึ่งเป็นผู้นำให้ผู้คนตามซุนนะฮ์ไปสู่ชัยชนะต่อผู้ชี้นำของเราะอ์ย ในคำพูดของอิบน์ ฮัมบัล "ไม่เคยมีผู้ใดที่มีความสำคัญในการเรียนรู้ว่าใครผิดพลาดน้อยกว่า และผู้ที่ปฏิบัติตามซุนนะห์ของท่านนบีอย่างใกล้ชิดมากกว่าอัชชาฟิอี"[23]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Imam Ja'afar as Sadiq". History of Islam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  2. The Origins of Islamic Law: The Qurʼan, the Muwaṭṭaʼ and Madinan ʻAmal, by Yasin Dutton, pg. 16
  3. 3.0 3.1 "Nafisa at-Tahira". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-26. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
  4. 4.0 4.1 Aliyah, Zainab. "Great Women in Islamic History: A Forgotten Legacy". Young Muslim Digest. สืบค้นเมื่อ 18 February 2015.
  5. Fadel M. (2008). The True, the Good and the Reasonable: The Theological and Ethical Roots of Public Reason in Islamic Law เก็บถาวร 2010-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Canadian Journal of Law and Jurisprudence.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 Khadduri, Majid (2011). Translation of al-Shāfi‘i's Risāla – Treatise on the Foundations of Islamic Jurisprudence. England: Islamic Texts Society. pp. 8, 11–16. ISBN 978 0946621 15 6.
  7. 7.0 7.1 7.2 Haddad, Gibril Fouad (2007). The Four Imams and Their Schools. United Kingdom: Muslim Academic Trust. pp. 189, 190, 193. ISBN 1 902350 09 X.
  8. Ibn Abi Hatim. Manaaqibush-Shaafi'ee. p. 39.
  9. A.C. Brown, Jonathan (2014). Misquoting Muhammad: The Challenge and Choices of Interpreting the Prophet's Legacy. Oneworld Publications. p. 35. ISBN 978-1780744209.
  10. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-20. สืบค้นเมื่อ 2012-02-23.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  11. Khadduri, pp. 15–16 (Translator's Introduction). Khadduri cites for this story Yaqut's Mu‘jam al-Udabā, vol. VI pp. 394–95 (ed. Margoliouth, London: 1931), and Ibn Hajar's Tawālī al-Ta'sīs, p. 86.
  12. Khadduri, p. 16 (Translator's Introduction).
  13. "Archnet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-15.
  14. "Tour Egypt :: The Mausoleum of Imam al-Shafi".
  15. Schacht, Joseph (1959) [1950]. The Origins of Muhammadan Jurisprudence. Oxford University Press. p. 1.
  16. Snouck Hurgronje, C. Verspreide Geschriften. v.ii. 1923-7, page 286-315
  17. Étude sur la théorie du droit musulman (Paris : Marchal et Billard, 1892–1898.)
  18. Margoliouth, D.S., The Early Development of Mohammedanism, 1914, page 65ff
  19. Schacht, Joseph in Encyclopedia of Islam, 1913 v.IV, sv Usul
  20. Abrahamov, Binyamin (1998). "Chapter 3: Traditionalism Against Rationalism- The Traditionalists' Criticism of the use of Rational Methods". Islamic Theology: Traditionalism and Rationalism. George Square, Edinburgh: Edinburgh University Press. pp. 28–29. ISBN 0-7486-1102-9. Al-Shafi'ī's attitude towards the Mutakallimun was no less severe. His judgement of them is that they should be smitten with palm branches and shoes in the presence of many people and then it will be said: this is the punishment of those who abandoned the Qur'an and the Sunna and turned to the Kalam.
  21. Ruthven Malise, Islam in the World. 3rd edition Granta Books London 2006 ch. 4, page 122
  22. David Waines, An Introduction to Islam, Cambridge University Press, 2003, p. 68
  23. Glodziher, Dr. Ignaz (2008). "Chapter 3". The Zahiris, Their Doctrine and their History: A Contribution to the History of Islamic Theology. Koninklijke Brill NV, Leiden, The Netherlands: Brill Publishers. p. 23. ISBN 978-90-04-16241 9.

สารานุกรม แก้

  • Burton, John (1990). The Sources of Islamic Law: Islamic Theories of Abrogation (PDF). Edinburgh University Press. ISBN 0-7486-0108-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-04. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
  • Ruthven Malise, Islam in the World. 3rd edition Granta Books London 2006 ch. 4
  • Majid Khadduri (trans.), "al-Shafi'i's Risala: Treatise on the Foundation of Islamic Jurisprudence". Islamic Texts Society 1961, reprinted 1997. ISBN 0-946621-15-2.
  • al-Shafi'i, Muhammad b. Idris,"The Book of the Amalgamation of Knowledge" translated by Aisha Y. Musa in Hadith as Scripture: Discussions on The Authority Of Prophetic Traditions in Islam, New York: Palgrave, 2008

Helal M Abu Taher, Char Imam (Four Imams), Islamic Foundation, Dhaka,1980.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้