อักษรไทน้อย (บ้างครั้งสะกดเป็น ไทยน้อย) อีสานเรียก โตไทน้อย หรือ ประเทศลาวเรียก อักษรลาวบูราณ หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า อักษรอีสาน เป็นอักษรตระกูลพราหมีที่เคยใช้งานในประเทศลาวและภาคอีสาน[3] นับตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1500[1] อักษรลาวในปัจจุบันสืบทอดโดยตรงจากอักษรนี้และยังคงรักษารูปร่างอักษรแบบง่าย ๆ[4] อักษรนี้ส่วนใหญ่เลิกใช้ในภาคอีสานของประเทศไทย เนื่องจากนโยบายการแผลงเป็นไทยของรัฐบาลไทยที่กำหนดใช้วัฒนธรรมไทยถิ่นกลาง เช่นอักษรไทยทั่วประเทศ[4]

อักษรไทน้อย
ชนิดอักษรสระประกอบ
ภาษาพูดลาว, อีสาน และอื่น ๆ
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1500[1]–คริสต์ทศวรรษ 1930 (พัฒนาเป็นอักษรลาวในปัจจุบัน)[2]
ระบบแม่
ระบบลูกลาว
ระบบพี่น้องไทญ้อ
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรไทน้อย แก้

 
ป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม ภายในวัดศรีอุบลรัตนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี อักษรในป้ายนี้เขียนด้วยอักษรไทน้อย
รูปปริวรรตอักษรไทย: "พิพิดทะพันสฺลีอุบนลัดตะนาลาม"
คำอ่าน: "พิพิธภัณฑ์ศรีอุบลรัตนาราม"

พยัญชนะ แก้

พยัญชนะต้น แก้

พยัญชนะต้นอักษรไทน้อย ประกอบด้วยพยัญชนะทั้งหมด 27 ตัว ดังนี้

 

พยัญชนะประสม แก้

พยัญชนะประสมอักษรไทน้อย คือพยัญชนะต้นที่ประกอบด้วยตัวอักษร 2 ตัวมาประสมกัน[5] (ตัว ห นำในภาษาไทย) ประกอบด้วยพยัญชนะทั้งหมด 6 ตัว ดังนี้

 

ตัวสะกด แก้

ตัวสะกดอักษรไทน้อย คือพยัญชนะที่วางไว้ที่ตำแหน่งหลังสุด ใช้เป็นตัวสะกด ประกอบด้วยพยัญชนะทั้งหมด 11 ตัว แบ่งได้เป็น 8 มาตราตัวสะกด ดังนี้

 

สระ แก้

สระอักษรไทน้อย ประกอบด้วยสระะทั้งหมด 29 ตัว ดังนี้

 

เสียงวรรณยุกต์ แก้

ภาษาไทยถิ่นอีสานมีระดับเสียงวรรณยุกต์ 6 ระดับ คือ สามัญ เอก โท ตรี ตรีเพี้ยน และจัตวา ระดับเสียงจะแตกต่างกัน ไปตามชนพื้นเมืองของผู้พูดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ส่วนรูปวรรณยุกต์ที่ปรากฏการใช้พบว่ามีอยู่ 2 รูป คือ รูปเอก กับ รูปโท

ตัวอย่างคำศัพท์ แก้

   

ยูนิโคด แก้

มีการพยายามตั้งรหัสอักษรไทน้อยลงไปในยูนิโคด[6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Lorrillard, Michel (2005). "The Diffusion of Lao Scripts". The Literary Heritage of Laos: Preservation, Dissemination, Research Perspectives (Collected Papers in Lao, Thai and English from the International Conference in Vientiane, 8–10 January 2004). Vientiane: The National Library of Laos. pp. 366–372.
  2. Phra Ariyuwat (1996). Phya Khankhaak, the Toad King: A Translation of an Isan Fertility Myth in Verse. แปลโดย Wajuppa Tossa. Lewisburg, PA: Bucknell University Press. pp. 27–34.
  3. Tsumura, Fumihiko (2009). "Magical Use of Traditional Scripts in Northeastern Thai Villages". Senri Ethnological Studies (ภาษาอังกฤษ). 74: 63–77. doi:10.15021/00002577.
  4. 4.0 4.1 Ronnakiat, Nantana (1992). "Evidence of the Tai Noi Alphabet Found in Inscriptions" (PDF). The Third International Symposium on Language and Linguistics. Bangkok: Chulalongkorn University. pp. 1326–1334.
  5. "First Revised Proposal Transliteration of Akson-Tham-Isan and Akson-Thai-Noi" (PDF) – โดยทาง eki.ee.
  6. Mitchell, Ben (2018). "Towards a Comprehensive Proposal for Thai Noi/lao Buhan Script" (PDF) – โดยทาง Unicode.org.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้