อักษรอาร์วี หรือ อะระบุทมิฬ (อาหรับ: الْأَرْوِيَّةอัลอัรวียะฮ์, أَرْوِيอัรวี;[1] ทมิฬ: அரபுத்தமிழ் arabu-tamil) เป็นการเขียนภาษาทมิฬด้วยอักษรอาหรับ ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ ใช้โดยชนกลุ่มน้อยมุสลิมในรัฐทมิฬนาฑู และศรีลังกา ในมัดเราะซะฮ์ยังสอนอักษรอาร์วีในหลักสูตร

อักษรอาร์วี
อาร์วี เขียนด้วยอักษรอาหรับ
ชนิดอักษรไร้สระ
ภาษาพูดทมิฬ
ช่วงยุคปัจจุบัน
สถานภาพใช้ในทางศาสนา
ระบบแม่
ระบบพี่น้องArabi Malayalam
ISO 15924Arab
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

ศัพทมูลวิทยา แก้

คำว่า อาร์วี มาจากคำว่า 'aravam' มีความหมายตรงตัวเกี่ยวกับทมิฬ

ประวัติ แก้

 
จารึกอักษรอาร์วีที่กิลากาไร ซึ่งเป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ในอินเดีย

อักษรอาร์วีเกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างชาวอาหรับที่เดินทางมาทางทะเลกับมุสลิมที่พูดภาษาทมิฬในทมิฬนาฑู ใช้เขียนเอกสารในลัทธิศูฟี กฎหมาย ตำรายา ใช้เป็นสะพานสำหรับมุสลิมทมิฬที่จะเรียนภาษาอาหรับ[2] หนังสือของอิหม่ามชาอาฟีและอิหม่ามอาบู ฮานีฟา มีที่เขียนด้วยอักษรอาร์วีเช่นกัน มีการแปลไบเบิลซึ่งเขียนด้วยอักษรอาร์วีใน พ.ศ. 2469 อย่างไรก็ตาม งานเขียนด้วยอักษรอาร์วีสูญหายไปสองช่วงคือในพุทธศตวรรษที่ 21 เมื่อชาวโปรตุเกสมาถึง และในพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งมีอุตสาหกรรมการพิมพ์เผยแพร่เข้ามา ซึ่งอักษรอาร์วีเป็นอักษรที่ยากต่อการปรับให้เข้ากับการพิมพ์ ปัจจุบันอักษรอาร์วียังใช้ในกลุ่มชาวทมิฬมุสลิมในอินเดีย และชาวมัวร์ในศรีลังกา

อักษร แก้

 
อักษรพิเศษในอักษรอาร์วี

อักษรอาร์วีเป็นอักษรอาหรับที่เพิ่มอักษรเข้ามา 13 ตัว ใช้แทนเสียงสระ e และ o และพยัญชนะทมิฬหลายตัวที่ไม่ตรงกับเสียงในภาษาอาหรับ[1]

สระอาร์วีเรียงตามอักษรทมิฬ (ขวาไปซ้าย)
اَ آ اِ اِی اُ اُو ࣣا ای اَی اٗ اٗو اَو
a ā i ī u ū e ē ai o ō au
อักษรอาร์วีเรียงตามลำดับอักษรอาหรับ (ขวาไปซ้าย)
  த்த   ச்ச   ஃக ட்ட      
ا ب ت ث ج چ ح خ د ڊ ڍ ذ ض صٜ ص
ā b t j c k͟h d D T
ஃஜ         ஃப   க்க
ش س ز ڔ ر ۻ ط ظ ع غ ف ڣ ق ك
ś s z r ng ġ f p q k g
ன, ந
ل م ن ڹ ݧ ه و ي
l m n ñ h w y

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Torsten Tschacher (2001). Islam in Tamilnadu: Varia. (Südasienwissenschaftliche Arbeitsblätter 2.) Halle: Martin-Luther-Universität Halle-Wittenberg. ISBN 3-86010-627-9. (Online versions available on the websites of the university libraries at Heidelberg and Halle: http://archiv.ub.uni-heidelberg.de/savifadok/volltexte/2009/1087/pdf/Tschacher.pdf and http://www.suedasien.uni-halle.de/SAWA/Tschacher.pdf).
  2. 216 th year commemoration today: Remembering His Holiness Bukhary Thangal Sunday Observer – January 5, 2003. Online version เก็บถาวร 2012-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน accessed on 2009-08-14
  • Shu’ayb, Tayka. Arabic, Arwi and Persian in Sarandib and Tamil Nadu. Madras: Imāmul 'Arūs Trust, 1993.
  • Yunush Ahamed Mohamed Sherif ARABUTTAMIL/ARWI: THE IDENTITY OF THE TAMIL MUSLIMS TJPRC Publication.
  • Dr. K. M. A. Ahamed Zubair. The Rise and Decline of Arabu–Tamil Language for Tamil Muslims IIUC STUDIES, 2014
  • DR. S.M.M Mazahir. அறபுத் தமிழும் அறபுத்தமிழ் ஆக்கங்களும் 2018

แหล่งข้อมูลอื่น แก้