อักษรอาระเบียใต้โบราณ

(เปลี่ยนทางจาก อักษรอาระเบียใต้)

อักษรอาระเบียใต้โบราณ (อักษรอาระเบียใต้โบราณ: 𐩣𐩯𐩬𐩵 ms3nd; ปัจจุบัน อาหรับ: الْمُسْنَد musnad) แยกมาจากอักษรไซนายดั้งเดิมประมาณปลายสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นอักษรใช้เขียนกลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ และภาษากืออึซที่Dʿmt หลักฐานแรกสุดของอักษรอาระเบียใต้โบราณมาจากลวดลายเครื่องปั้นดินเผาใน Raybun ที่ฮัฎเราะเมาต์ในประเทศเยเมน ซึ่งสืบต้นตอถึงปลายสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช[3]

อักษรอาระเบียใต้โบราณ
ชนิดอักษรไร้สระ
ภาษาพูดกลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ, ภาษากืออึซ
ช่วงยุคปลายสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6
ระบบแม่
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์
ระบบลูกเอธิโอเปีย[1][2]
ระบบพี่น้องชุดตัวอักษรฟินิเชีย
ช่วงยูนิโคดU+10A60–U+10A7F
ISO 15924Sarb
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
ตัวอักษรอาระเบียใต้โบราณที่กล่าวถึงการสรรเสริญเทพอัลมะเกาะฮ์

ตัวอักษรนี้อยู่ในช่วงสูงสุดประมาณ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงใช้งานจนกระทั่งแทนที่ด้วยชุดตัวอักษรอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 6[4] ส่วนในเอธิโอเปียและเอริเทรียได้พัฒนาไปเป็นอักษรเอธิโอเปีย[1][2]

การใช้งาน แก้

  • ส่วนใหญ่จะเขียนจากขวาไปซ้าย แต่สามารถเขียนจากซ้ายไปขวาได้ โดยที่ตัวอักษรถูกพลิกในแนวตั้ง (ดูภาพวิกิพีเดีย)
  • การแยกคำจะใช้เส้นตรง (|)
  • ตัวอักษรไม่สามารถเขียนติดกัน
  • ไม่ได้ใช้เครื่องหมายกำกับใด ๆ (เช่น จุด ฯลฯ), ซึ่งแตกต่างกับอักษรอาหรับในปัจจุบัน

ตัวอักษร แก้

อักษร ชื่อ
ยูนิโคด[5]
ถอดเสียง สัทอักษรสากล เทียบกับอักษร
ภาพ ตัวอักษร ฟินิเชีย เอธิโอเปีย ฮีบรู อาหรับ ซีรีแอก
  𐩠 he h /h/ 𐤄 ה ه ܗ
  𐩡 lamedh l /l/ 𐤋 ל ܠ
  𐩢 heth /ħ/ 𐤇 ח ܚ
  𐩣 mem m /m/ 𐤌 מ ܡ
  𐩤 qoph q /q/ 𐤒 ק ܩ
  𐩥 waw w /w/ 𐤅 ו ܘ
  𐩦 shin s² (ś, š) /ɬ/ 𐤔 ש ܫ
  𐩧 resh r /r/ 𐤓 ר ܪ
  𐩨 beth b /b/ 𐤁 ב ܒ
  𐩩 taw t /t/ 𐤕 ת ܬ
  𐩪 sat s¹ (š, s) /s/
  𐩫 kaph k /k/ 𐤊 כ ܟ
  𐩬 nun n /n/ 𐤍 נ ܢ
  𐩭 kheth /x/
  𐩮 sadhe // 𐤑 צ ص ܨ
  𐩯 samekh s³ (s, ś) // 𐤎 ס س ܤ
  𐩰 fe f /f/ 𐤐 פ ف ܦ
  𐩱 alef A /ʔ/ 𐤀 א ܐ
  𐩲 ayn A /ʕ/ 𐤏 ע ܥ
  𐩳 dhadhe /ɬˤ/ ض
  𐩴 gimel g /ɡ/ 𐤂 ג ܓ
  𐩵 daleth d /d/ 𐤃 ד ܕ
  𐩶 ghayn ġ /ɣ/ غ
  𐩷 teth // 𐤈 ט ܛ
  𐩸 zayn z /z/ 𐤆 ז ܙ
  𐩹 dhaleth /ð/ ذ
  𐩺 yodh y /j/ 𐤉 י ܝ
  𐩻 thaw /θ/
  𐩼 theth /θˤ/ ظ
 
วิกิพีเดียที่เขียนตัวอักษรอาระเบียใต้โบราณ ทั้งแบบขวาไปซ้าย (ด้านบน) และซ้ายไปขวา (ด้านล่าง) ให้สังเกตว่าตัวด้านล่างเขียนกลับด้านจากด้านบน

ตัวเลข แก้

มีตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเลข 6 ตัว:

1 5 10 50 100 1000
𐩽 𐩭 𐩲 𐩾 𐩣 𐩱

ส่วนเลข 50 คือรูปสามเหลี่ยมที่มีค่า 100 นำมาลบเส้นล่างออก[6]

และสัญลักษณ์เพิ่มเติม (𐩿) มักใช้แยกระหว่างตัวเลขและอักษรออกจากกัน[6] ตัวอย่างเช่น: 𐩿𐩭𐩽𐩽𐩿

สัญลักษณ์เหล่านี้สามารถใช้เป็นตัวเลข เหมือนกับตัวเลขโรมัน (ไม่รวมเลขศูนย์). มีสองตัวอย่าง:

  • 17 ถูกเขียนเป็น 1 + 1 + 5 + 10: 𐩲𐩭𐩽𐩽
  • 99 ถูกเขียนเป็น 1 + 1 + 1 + 1 + 5 + 10 + 10 + 10 + 10 + 50: 𐩾𐩲𐩲𐩲𐩲𐩭𐩽𐩽𐩽𐩽
ตัวเลขพื้นฐานจาก 1 ถึง 20
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
𐩽 𐩽𐩽 𐩽𐩽𐩽 𐩽𐩽𐩽𐩽 𐩭 𐩭𐩽 𐩭𐩽𐩽 𐩭𐩽𐩽𐩽 𐩭𐩽𐩽𐩽𐩽 𐩲
11 12 13 14 15 16 17 18 19 20
𐩲𐩽 𐩲𐩽𐩽 𐩲𐩽𐩽𐩽 𐩲𐩽𐩽𐩽𐩽 𐩲𐩭 𐩲𐩭𐩽 𐩲𐩭𐩽𐩽 𐩲𐩭𐩽𐩽𐩽 𐩲𐩭𐩽𐩽𐩽𐩽 𐩲𐩲

หลักพันสามารถเขียนได้สองแบบ คือ:

  • เลขที่มีค่าน้อย จะเขียนโดยใช้สัญลักษณ์ 1000. ตัวอย่างเช่น: 8,000 ถูกเขียนเป็น 1000 × 8: 𐩱𐩱𐩱𐩱𐩱𐩱𐩱𐩱
  • เลขที่มีค่ามาก จะเขียนโดยใช้สัญลักษณ์จากเลข 10, 50 และ 100 จนถึง 10,000, 50,000, และ 100,000:
    • 31,000 ถูกเขียนเป็น 1000 + 10,000 × 3: 𐩲𐩲𐩲𐩱 (มักสับสนเป็น 1,030)
    • 40,000 ถูกเขียนเป็น 10,000 × 4: 𐩲𐩲𐩲𐩲 (มักสับสนเป็น 40)
    • 253,000 ถูกเขียนเป็น 2 × 100.000 + 50.000 + 3 × 1000: 𐩣𐩣𐩾𐩱𐩱𐩱 (มักสับสนเป็น 3,250)

ยูนิโคด แก้

มีการเพิ่มยูนิโคดสำหรับอักษรอาระเบียใต้โบราณในรุ่น 5.2 ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2009 โดยมีชื่อบล็อกว่าอักษรอาระเบียใต้โบราณ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ U+10A60-U+10A7F

หมายเหตุ: U+10A7D (𐩽) เป็นได้ทั้งเลขหนึ่งและตัวแบ่งคำ.[6]

อาระเบียใต้[1]
ตารางรหัสอย่างเป็นทางการของ Unicode Consortium (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+10A6x 𐩠 𐩡 𐩢 𐩣 𐩤 𐩥 𐩦 𐩧 𐩨 𐩩 𐩪 𐩫 𐩬 𐩭 𐩮 𐩯
U+10A7x 𐩰 𐩱 𐩲 𐩳 𐩴 𐩵 𐩶 𐩷 𐩸 𐩹 𐩺 𐩻 𐩼 𐩽 𐩾 𐩿
หมายเหตุ
1.^ ตั้งแต่ยูนิโคดรุ่น 13.0

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Daniels, Peter T.; Bright, William, บ.ก. (1996). The World's Writing Systems. Oxford University Press, Inc. pp. 89, 98, 569–570. ISBN 978-0195079937.
  2. 2.0 2.1 Gragg, Gene (2004). "Ge'ez (Aksum)". ใน Woodard, Roger D. (บ.ก.). The Cambridge Encyclopedia of the World's Ancient Languages. Cambridge University Press. p. 431. ISBN 0-521-56256-2.
  3. Stein, Peter (2013). "Palaeography of the Ancient South Arabian script. New evidence for an absolute chronology". Arabian Archaeology and Epigraphy. 24 (2): 186. ISSN 0905-7196.
  4. Ibn Durayd, Ta‘līq min amāli ibn durayd, ed. al-Sanūsī, Muṣṭafā, Kuwait 1984, p. 227 (Arabic). The author purports that a poet from the Kinda tribe in Yemen who settled in Dūmat al-Ǧandal during the advent of Islam told of how another member of the Yemenite Kinda tribe who lived in that town taught the Arabic script to the Banū Qurayš in Mecca and that their use of the Arabic script for writing eventually took the place of musnad, or what was then the Sabaean script of the kingdom of Ḥimyar: "You have exchanged the musnad of the sons of Ḥimyar / which the kings of Ḥimyar were wont to write down in books."
  5. "Unicode Character Database: UnicodeData.txt". The Unicode Standard. สืบค้นเมื่อ 2017-09-11.
  6. 6.0 6.1 6.2 Maktari, Sultan; Mansour, Kamal (2008-01-28). "L2/08-044: Proposal to encode Old South Arabian Script" (PDF).

สารานุกรม แก้

  • Stein, Peter (2005). "The Ancient South Arabian Minuscule Inscriptions on Wood: A New Genre of Pre-Islamic Epigraphy". Jaarbericht van Het Vooraziatisch-Egyptisch Genootschap "Ex Oriente Lux". 39: 181–199.
  • Stein, Peter (2010). Die altsüdarabischen Minuskelinschriften auf Holzstäbchen aus der Bayerischen Staatsbibliothek in München.
  • Beeston, A.F.L. (1962). "Arabian Sibilants". Journal of Semitic Studies. 7 (2): 222–233. doi:10.1093/jss/7.2.222.
  • Francaviglia Romeo, Vincenzo (2012). Il trono della regina di Saba, Artemide, Roma. pp. 149–155.
  • Ryckmans, Jacques (1993). "Inscribed Old South Arabian sticks and palm-leaf stalks: An introduction and a paleographical approach". Proceedings of the Seminar for Arabian Studies. 23: 127–140. JSTOR 41223401.
  • Ryckmans, J.; Müller, W. W.; ‛Abdallah, Yu. (1994). Textes du Yémen Antique inscrits sur bois (ภาษาฝรั่งเศส). Louvain-la-Neuve, Belgium: Publications de l'Institut Orientaliste de Louvain.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้