อะนอนิมัส (กลุ่ม)

แอนอนิมัส (อังกฤษ: Anonymous) เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่โด่งดังโดยการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการต่อรัฐบาล, สถาบันของรัฐ, เจ้าหน้าที่รัฐบาลบรรษัท และโบสถ์แห่งไซแอนโทโลจี

อะนอนิมัส
"ชายไม่มีศีรษะ" ตราสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับอะนอนิมัส หมายถึงความเป็นนิรนามและองค์กรที่ไม่มีผู้นำ[1]
สมาชิกอะนอนิมัสสวมหน้ากากกาย ฟอกส์
คําขวัญWe Are Anonymous
ก่อตั้งป. ค.ศ.2004
ประเภท
วัตถุประสงค์
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ทั่วโลก
สมาชิก
กลุ่มสัมพันธ์แบบกระจายอำนาจ

กลุ่มแอนอนิมัสก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2003 บนโฟร์แชน[2][3][4] สมาชิกแอนอนิมัส (รู้จักกันในชื่อ "แอนอน") สามารถพรางตัวในที่สาธารณะโดยการใส่หน้ากากกาย ฟอกส์[5] อย่างไรก็ตาม มีบางคนอาจจะใช้หน้ากากอื่นพรางตนเอง

มีหลายคนที่ถูกจับในฐานะโจมตีข้อมูลทางเทคโนโลยีในหลายประเทศ เช่นสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, เนเธอร์แลนด์, สเปน, อินเดีย และตุรกี ผู้สนับสนุนจะถูกเรียกว่า "นักสู้เพื่ออิสรภาพ"[6] และโรบินฮูดแบบดิจิตัล[7] ในขณะที่สื่อเรียกพวกเขาว่า "ผู้ก่อจลาจลทางไซเบอร์"[8] หรือ "ผู้ก่อการร้ายในโลกไซเบอร์".[9] ในปี 2012 วารสารไทม์ได้จัดให้แอนอนิมัสเป็นหนึ่งใน "100 คนมีอิทธิพลมากที่สุด" ในโลก[10]

ปรัชญา แก้

ปรัชญาของอะนอนิมัสได้สร้างความเข้าใจต่อปมปัญหาทางการเมืองที่มีมายาวนานซึ่งไม่ได้รับคำตอบ และหลายครั้งเป็นผลพวงที่น่าสลดใจของการเคลื่อนไหวทางสังคมต่าง ๆ: การเมืองแบบรวมหมู่รูปแบบใหม่ซึ่งตั้งความหวังที่จะไปไกลเกินกว่าอัตลักษณ์ของบุคคลปัจเจกภายใต้ระบอบทุนนิยมยุคปลายนั้นจะมีหน้าตาอย่างไร?[11]

ภายในกลุ่มเองมักมีการไม่เห็นพ้องต้องกันเป็นลักษณะปรกติ[12] เว็บไซต์หนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับกลุ่มได้อธิบายไว้ว่าเป็น "การจับกลุ่มกันบนอินเตอร์เน็ต" (an internet gathering) ซึ่งมีโครงสร้างการสั่งการแบบกระจายศูนย์และหลวมมาก โดยทำงานบนมโนคติมากกว่าตามคำสั่ง[12] กาเบรียลลา (Gabriella Coleman) เขียนถึงกลุ่มว่า "ในบางแง่ อาจเป็นไปไม่ได้เลยที่จะประเมินเจตนารมณ์และเหตุจูงใจของผู้มีส่วนร่วมนับพันคนได้ ซึ่งหลายคนเองก็ไม่ได้พยายามแม้แต่ที่จะทิ้งไว้ซึ่งร่องรอยของความคิด แรงจูงใจ และปฏิกิริยาของตัวเองไว้เลย และท่ามกลางคนพวกที่ได้ทิ้งไว้นั้น ความคิดเห็นก็ต่างกันไปเป็นอันมาก"[13]

พูดโดยกว้างแล้ว พวกอะนอน (Anon ชื่อเรียกสมาชิก) ต่อต้านการควบคุมและการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต และการกระทำส่วนใหญ่ของพวกเขามักมีเป้าหมายเป็นรัฐบาล องค์กรณ์ และบรรษัทต่าง ๆ ที่พวกเขากล่าวหาว่าได้ใช้การเซ็นเซอร์ อะนอนเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มแรก ๆ ของขบวนการออคคิวพาย (Occupy movement) ทั่วโลกและอาหรับสปริง[14] ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นค้นมา ประเด็นที่มักก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกันภายในอะนอนิมัสมักเกี่ยวกับว่า สมาชิกควรให้ความสนใจกับการแกล้งคน (Practical joke) และการบันเทิง หรือกับการดำเนินกิจกรรม (Activism) ในประเด็นที่จริงจังกว่านี้ (ในบางกรณีเป็นเรื่องการเมือง)[15][16]

เรา [แอนอนิมัส] เป็นกลุ่มคนในอินเทอร์เน็ตที่ต้องการ— โดยที่เราไม่สามารถทำในที่สาธารณได้ ...อาจจะมีมากกว่าหรือน้อยกว่านั้น ทำเท่าที่คุณต้องการ ... และนี่คือวลีหนึ่งของเรา คือ: 'เราทำเพื่อลูลซ์'

— Trent Peacock. Search Engine: The Face of Anonymous, February 7, 2008.[17]

เพราะแอนอนิมัสไม่มีผู้นำ ไม่กระทำโดยไม่มีการยอมรับในสมาชิก พาร์มี โอลซอน ได้เขียนว่า "พวกเขาไม่มีผู้นำ แต่มีองค์กรทางจิตใจที่สามารถทำให้พวกเราทึ่งได้"[18]  แคโรล แคดวาลลาดร์ นักข่าวชาวอังกฤษของดิออบเซิร์ฟเวอร์ได้กล่าวถึงการเตรียมตัวของกลุ่มเพื่อต่อสู้กับอัลกออิดะฮ์ว่า: "ถ้าคุณเชื่อแอนอนิมัสและเรียกตนเองว่าแอนอนิมัส คุณก็คือแอนอนิมัส"[19] โอลซอนได้อธิบายว่า: "ทุกคนสามารถมีส่วนกันได้ นี่คือกลุ่มคน และเป็นกลุ่มคนที่ดูลึกลับที่ทำงานร่วมกัน"[20]

ในกลุ่มมีกฎบางข้อเช่น ไม่เปิดเผยตัวตน, ไม่คุยเกี่ยวกับกลุ่ม และไม่โจมตีสื่อ[18] สมาชิกมักจะใช้วลีสำคัญอันนี้ "เราคือแอนอนิมัส เราเป็นกองทัพ เราจะไม่อภัย เราจะไม่ลืม จงหวังเรา (We are Anonymous. We are Legion. We do not forgive. We do not forget. Expect us.)"[21]

 
กลุ่มแอนอนิมัสที่ตลาดหลักทรัพย์ของเบลเยียม ประเทศเบลเยียม มกราคม ค.ศ.2012

อ้างอิง แก้

  1. "Gabriella Coleman on Anonymous". Brian Lehrer Live. Vimeo. February 9, 2011. สืบค้นเมื่อ March 24, 2011.
  2. "Anonymous Official".
  3. Landers, Chris (เมษายน 2, 2008). "Serious Business: Anonymous Takes On Scientology (and Doesn't Afraid of Anything)". Baltimore City Paper. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 8, 2008. สืบค้นเมื่อ July 3, 2008.
  4. Oltsik, Jon (December 3, 2013). "Edward Snowden Beyond Data Security". Network World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ December 4, 2013.
  5. Waites, Rosie (October 20, 2011). "V for Vendetta masks: Who". BBC News. สืบค้นเมื่อ October 20, 2011.
  6. Krupnick, Matt (August 15, 2011). "Freedom fighters or vandals? No consensus on Anonymous". Oakland Tribune. MercuryNews.com. สืบค้นเมื่อ July 10, 2013.
  7. Carter, Adam (มีนาคม 15, 2013). "From Anonymous to shuttered websites, the evolution of online protest". CBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2013. สืบค้นเมื่อ May 6, 2013.
  8. Coleman, Gabriella (เมษายน 6, 2011). "Anonymous: From the Lulz to Collective Action". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2013. สืบค้นเมื่อ May 5, 2013.
  9. Rawlinson, Kevin; Peachey, Paul (April 13, 2012). "Hackers step up war on security services". The Independent.  – โดยทาง HighBeam Research (ต้องรับบริการ) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ May 5, 2013.
  10. Gellman, Barton (April 18, 2012). "The 100 Most Influential People In The World". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ 2018-07-05.
  11. Halpin, Harry (2012). "The Philosophy of Anonymous: Ontological Politics without Identity". Radical Philosophy. 176: 27. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014. The philosophy of Anonymous offers insight into a long-standing political question that has gone unanswered with often tragic consequences for social movements: what does a new form of collective politics look like that wishes to go beyond the identity of the individual subject in late capitalism?
  12. 12.0 12.1 Kelly 2012, p. 1678.
  13. Coleman, Gabriella (10 ธันวาคม 2010). "What It's Like to Participate in Anonymous' Actions". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013. In some ways, it may be impossible to gauge the intent and motive of thousands of participants, many of who don't even bother to leave a trace of their thoughts, motivations, and reactions. Among those that do, opinions vary considerably.
  14. Kelly 2012, p. 1682.
  15. "Anonymous: what is the hacker collective?". IONOS Digitalguide (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2022.
  16. Olson 2012, p. 92.
  17. Brown, Jesse (February 7, 2008). "Community Organization with Digital Tools: The face of Anonymous". MediaShift Idea Lab: Reinventing Community News for the Digital Age. PBS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2008. สืบค้นเมื่อ March 3, 2008.
  18. 18.0 18.1 Olson 2012.
  19. Cadwalladr, Carole (September 8, 2012). "Anonymous: behind the masks of the cyber insurgents". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ May 2, 2013.
  20. Allnut, Luke (June 8, 2012). "Parmy Olson On Anonymous: 'A Growing Phenomenon That We Don't Yet Understand'". Radio Free Europe/Radio Liberty. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ May 2, 2013.
  21. Morris, Adam (April 30, 2013). "Julian Assange: The Internet threatens civilization". Salon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ May 2, 2013.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เว็บที่ใช้โดยแอนอนิมัส
ข่าว