อวัจนภาษา (อังกฤษ: nonverbal communication, NVC) หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ การพูด การอ่านตามตัวหนังสือ และการเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค ตัวอย่างเช่น ป้ายจราจร ภาษามือ สัญรูปอารมณ์ เป็นต้น

ป้ายจราจรเป็น
อวัจนภาษาที่ใช้เป็นสากล

จุดประสงค์ในการใช้อวัจนภาษา แก้

  1. เพื่อประกอบการสนทนาให้มีอรรถรสยิ่งขึ้น เช่นการทุบกำปั้นลงบนฝ่ามือ แสดงถึงความสำคัญ หนักแน่น
  2. เป็นสัญลักษณ์สากลให้ง่ายต่อการเข้าใจ เช่นการใช้นิ้วชี้วางบนริมฝีปาก แสดงถึงความเงียบ
  3. ใช้ประกอบท่าทาง เป็นมารยาท หรือแสดงความเคารพ เช่นการไหว้ การแตะขอบแก้วเพื่อแสดงความขอบคุณ
  4. ใช้สำหรับผู้พิการ เช่นภาษามือ
  5. ใช้แทนการสื่อสารในยามที่วัจนภาษาใช้ไม่สะดวก เช่น การสื่อสารของทหารที่ต้องเงียบเสียง

ประเภทของอวัจนภาษา แก้

  1. สัญลักษณ์ การใช้สัญลักษณ์ (ที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ) ในการสื่อสาร เช่น ป้ายจราจร สัญรูปอารมณ์
  2. อาการภาษา การใช้ท่าทางในการสื่อสาร เช่น การยิ้ม ยักคิ้ว ภาษามือ
  3. ปริภาษา การใช้เสียง (ที่ไม่ใช่คำพูด) ในการสื่อสาร เช่น ไซเรน แตรรถ

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้