อลังการศิลป์ หรือ ศิลปะตกแต่ง หรือ อาร์ตเดโค (อังกฤษ: Art Deco) เป็นขบวนการการออกแบบนานาชาติระหว่าง ค.ศ. 1925 ถึง ค.ศ. 1939 ที่มีผลต่อศิลปะการตกแต่งเช่น สถาปัตยกรรม การออกแบบภายใน และการออกแบบอุตสาหกรรม รวมทั้งทัศนศิลป์เช่นแฟชั่น, จิตรกรรม, เลขนศิลป์ (graphic arts) และภาพยนตร์ ขบวนการนี้เป็นการผสมผสานระหว่างลักษณะศิลปะกับขบวนการหลายแบบในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้แก่ลัทธิคลาสสิกใหม่, ลัทธิเค้าโครง (Constructivism), ลัทธิบาศกนิยม, ลัทธิสมัยใหม่, นวศิลป์ และลัทธิอนาคตนิยม[1] อลังการศิลป์นิยมกันอย่างสูงสุดในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในสมัยรู้จักกันว่า "Roaring Twenties"[2] และนิยมกันอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาตลอดคริสต์ทศวรรษ 1930[3] แม้ว่าขบวนการออกแบบหลายขบวนการเริ่มจากความคิดทางการเมืองหรือทางปรัชญา แต่อลังการศิลป์มีรากมาจากการตกแต่งเท่านั้น[4] ในขณะนั้นทัศนคติต่ออลังการศิลป์ถือกันว่าเป็นศิลปะของความหรู ความมีประโยชน์ทางการใช้สอย และความเป็นสมัยใหม่

ตึกไครสเลอร์ นิวยอร์กซิตี

ความนิยมในอลังการศิลป์เริ่มลดถอยลงในปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1940 และในที่สุดก็หมดความนิยมไปจนมาในคริสต์ทศวรรษ 1980 ก็เริ่มมีความนิยมกันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อลังการศิลป์มีอิทธิพลลึกซึ้งต่อขบวนการศิลปะหลายขบวนการต่อมาเช่นกลุ่มเมมฟิส (Memphis Group) และศิลปะประชานิยม (pop art) ตัวอย่างของงานยังเห็นได้ทั่วไปในเกือบทุกประเทศตั้งแต่สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, สเปน, คิวบา, ฟิลิปปินส์, โรมาเนีย และบราซิล ตัวอย่างที่เด่นยังเห็นได้จากสถาปัตยกรรมตามเมืองใหญ่ ๆ เช่นตามนครนิวยอร์ก อาทิ ตึกไครสเลอร์ที่ออกแบบโดยวิลเลียม แวน แอเลน (William Van Alen) และตึกเอ็มไพร์สเตต

อ้างอิง แก้

  1. Wood, Ghislaine. "Traditional Motifs". Essential Art Deco. London: VA&A Publications. p. 21.
  2. "Art Deco". Kanne and Kruike. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-23. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  3. "How Art Deco came to be". University Times. University of Pittsburgh. 36 (4). October 9, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-11. สืบค้นเมื่อ 7 November 2008.
  4. "Art Deco Study Guide". Victoria and Albert Museum. สืบค้นเมื่อ 2008-11-01.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อลังการศิลป์