อนุสัญญาเจนีวา (อังกฤษ: Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม[1] ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)

ต้นฉบับอนุสัญญาเจนีวาแบบ PDF ค.ศ. 1864
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1–3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1-2
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1, 3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ ไม่เป็นภาคีพิธีสาร

เนื้อหา แก้

จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก 12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2407[2][3] อนุสัญญาทั้งสี่ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้

  • อนุสัญญาฉบับที่ 1 "เพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพมีสภาวะดีขึ้น"
  • อนุสัญญาฉบับที่ 2 "เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น"
  • อนุสัญญาฉบับที่ 3 "เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก"
  • อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้
    • การรักษาพยาบาล แก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน
    • เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี
    • ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้
    • ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จับตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงครามระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น

พิธีสาร แก้

อนุสัญญาปี 2492 ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมด้วยพิธีสารอีกสามฉบับ

  • พิธีสาร 1 (ปี 2520) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายของการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศ
  • พิธีสาร 2 (ปี 2520) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายของการขัดกันไม่ใช่ด้วยอาวุธระหว่างประเทศ
  • พิธีสาร 3 (ปี 2548) ว่าด้วยการรับสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม

การใช้ แก้

อนุสัญญาเจนีวาใช้ได้ในยามสงครามและการขัดกันด้วยอาวุธต่อรัฐบาลที่ให้สัตยาบันต่อเงื่อนไขของอนุสัญญา รายละเอียดของการใช้มีระบุในข้อ 2 และ 3 ร่วม

ข้อ 2 ร่วมว่าด้วยการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศ แก้

ระบุว่าอนุสัญญาเจนีวาใช้กับความขัดแย้งระหว่างประเทศทุกกรณี ซึ่งรัฐซึ่งรบกันอยู่นั้นอย่างน้อยหนึ่งรัฐให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวา โดยหลักคือ

  • อนุสัญญาใช้กับสงครามที่ประกาศทุกกรณีระหว่างชาติที่ลงนาม
  • อนุสัญญาใช้กับความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างชาติผู้ลงนามตั้งแต่สองชาติขึ้นไป ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมในปี 2492 เพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่มีลักษณะแห่งสงครามซึ่งไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ เช่น การปฏิบัติของตำรวจ
  • อนุสัญญาใช้กับชาติผู้ลงนามแม้ว่าชาติอีกฝ่ายไม่ใช่ผู้ลงนาม แต่เฉพาะถ้าอีกฝ่าย "ยอมรับและใช้บทบัญญัติ" ของอนุสัญญาฯ

เมื่อเข้าเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ จะถือว่าใช้ความคุ้มครองเบ็ดเสร็จของอนุสัญญาฯ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Jean S. Pictet. “The New Geneva Conventions for the Protection of War Victims” The American Journal of International Law Vol. 45, No. 3 (1951): pg. 462.
  2. "Convention for the Amelioration of the Condition of the Wounded in Armies in the Field. Geneva, 22 August 1864". Geneva, Switzerland: International Committee of the Red Cross ICRC. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  3. Roxburgh, Ronald (1920). International Law: A Treatise. London: Longmans, Green and co. p. 707. สืบค้นเมื่อ 14 July 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้