อนุชา นาคาศัย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อนุชา นาคาศัย ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2503) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เป็นหนึ่งในอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2550

อนุชา นาคาศัย
อนุชา ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 209 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ไชยา พรหมา
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการธรรมนัส พรหมเผ่า
ก่อนหน้า
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดชัยนาท เขต 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24​ มีนาคม​ พ.ศ. 2562​
(5 ปี 4 วัน)
ก่อนหน้าพรทิวา นาคาศัย
คะแนนเสียง43,935 (46.25%)
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(3 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าเทวัญ ลิปตพัลลภ
ถัดไปพวงเพ็ชร ชุนละเอียด
เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 18 มิถุนายน​ พ.ศ. 2564
(0 ปี 356 วัน)
ก่อนหน้าสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
ถัดไปธรรมนัส พรหมเผ่า
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 เมษายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
เพื่อไทย (2554–2560)
ภูมิใจไทย (2551–2554)[1]
ไทยรักไทย (2541–2550)
คู่สมรสพรทิวา ศักดิ์ศิริเวทย์กุล (2531 - 2557)[2]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประวัติ แก้

อนุชา นาคาศัย มีชื่อเล่นว่า "แฮงค์" เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่ตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรของนายสุธน นาคาศัย กับนางสุจิตรา นาคาศัย จบมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2527[3]มีน้องชายสอง คนชื่อนายอนุสรณ์ นาคาศัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาทและนายกสมาคมกีฬาชัยนาท และ นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

ด้านชีวิตครอบครัว อนุชาเคยสมรสกับพรทิวา นาคาศัย อดีต ส.ส.ชัยนาท อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย มีบุตร-ธิดา 2 คน ปัจจุบันได้หย่ากับภรรยาแล้ว[4]

การทำงาน แก้

อนุชา นาคาศัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยนาท สังกัดพรรคไทยรักไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[5] อนุชา นาคาศัย ยังเคยให้การสนับสนุนทางการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีอดีตภรรยาของตนเป็นเลขาธิการพรรคอีกด้วย

ใน พ.ศ. 2561 นายอนุชาได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค และก้าวขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ต่อมาในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 อนุชาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[6]

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ภารกิจลับ! "ส.ส.มันแกว" เขย่าเพื่อไทย..เพื่อใคร?
  2. เบื้องหลัง ไร้เงา ‘พรทิวา’ ในวัน ‘เสี่ยแฮงค์-อนุชา’ พบบิ๊กตู่
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  4. เบื้องหลัง ไร้เงา ‘พรทิวา’ ในวัน ‘เสี่ยแฮงค์-อนุชา’ พบบิ๊กตู่
  5. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  6. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  7. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒