องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย[N 2] (อังกฤษ: Spectre) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับฉายเมื่อปี ค.ศ. 2015 เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ยี่สิบสี่ใน ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ โดยสร้างร่วมกับเมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์และโคลัมเบียพิกเจอส์ แสดงนำโดย แดเนียล เคร็ก เป็น เจมส์ บอนด์ สายลับเอ็มไอ6 ครั้งที่สี่และเป็นกำกับครั้งที่สองของ แซม เมนเดส หลังกำกับใน พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 เขียนบทโดย จอห์น โลแกน, นีล เพอร์วิส, รอเบิร์ต เวดและเจซ บัตเตอร์เวิร์ท

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับแซม เมนเดส
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่อง
  • จอห์น โลแกน
  • นีล เพอร์วิส
  • รอเบิร์ต เวด
สร้างจากเจมส์ บอนด์
โดย เอียน เฟลมมิง
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพโฮยเตอ ฟัน โฮยเตอมา
ตัดต่อลี สมิธ
ดนตรีประกอบทอมัส นิวแมน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายโซนีพิกเจอร์สรีลีดซิง
วันฉาย26 ตุลาคม ค.ศ. 2015 (2015-10-26)(สหราชอาณาจักร)
6 พฤศจิกายน 2015 (สหรัฐ)
ความยาว148 นาที[2]
ประเทศ
  • สหราชอาณาจักร
  • สหรัฐ[3]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง245–300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[N 1]
ทำเงิน880.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[13]

ในภาพยนตร์ บอนด์ต้องรับมือกับองค์กรอาชญากรรมระดับโลก สเปกเตอร์ และ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (คริสท็อฟ วัลทซ์) ผู้นำลึกลับขององค์กร ผู้วางแผนที่จะปล่อยเครือข่ายเฝ้าระวังระดับชาติเพื่อวางแผนการก่ออาชญากรรมทั่วโลก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของสเปกเตอร์และโบลเฟลด์ ในภาพยนตร์ชุดบอนด์ที่สร้างโดยอีออนโปรดักชันส์ ตั้งแต่ 007 เพชรพยัคฆราช ในปี ค.ศ. 1971[N 3] ตัวละครที่คล้ายกับโบลเฟลด์ เคยปรากฏตัวใน 007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต ในปี ค.ศ. 1981 แต่เพราะมีข้อพิพาททางกฎหมายกับ ธันเดอร์บอลล์ ทำให้เขาไม่มีชื่อและใบหน้าก็ไม่ได้เปิดเผย มีตัวละคร เจมส์ บอนด์ หลายตัวกลับมา ได้แก่ เอ็ม, คิวและอีฟ มันนีเพนนี พร้อมกับนักแสดงชุดใหม่ ได้แก่ เลอา แซดู เป็น ดร. แมเดเลน สวอนน์, เดฟ บอทิสตา เป็น มร. ฮิงซ์, แอนดรูว์ สก็อตต์ เป็น แมกซ์ เดนบี และ โมนีกา เบลลุชชี[14] เป็น ลูชีอา ชาร์รา

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ถ่ายทำตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ในออสเตรีย, สหราชอาณาจักร, อิตาลี, โมร็อกโกและเม็กซิโก ฉากโลดโผนเน้นใช้การเทคนิคพิเศษที่ใช้วัสดุจริงและใช้สตันแมน และจ้างบริษัทสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์จำนวนห้าแห่ง องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ได้รับการคาดการณ์ว่ามีทุนสร้างประมาณ 245 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บางแหล่งข้อมูลคาดการณ์ว่าสูงถึง 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์บอนด์ที่มีทุนสร้างมากที่สุดและหนึ่งในภาพยนตร์ที่มีทุนสร้างสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ฉายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ในสหราชอาณาจักร คืนเดียวกับรอบปฐมทัศน์โลกที่ รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ ลอนดอน[15] และฉายทั่วโลกในเวลาต่อมา รวมถึงการฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ ภาพยนตร์ฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน[16] ก่อนฉายในสหรัฐ 1 วัน องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลายจากนักวิจารณ์ โดยบางคนก็ชมในเรื่องของฉากโลดโผน, มุมกล้อง, การแสดงและดนตรีประกอบ ขณะที่บางคนก็ติเรื่องความยาวของภาพยนตร์ที่นานเกินไป, บทภาพยนตร์และจังหวะการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ เพลงประกอบภาพยนตร์ "ไรทิงส์ออนเดอะวอลล์" ขับร้องและเขียนคำร้องร่วมโดย แซม สมิธ ชนะเลิศรางวัลออสการ์และรางวัลลูกโลกทองคำ ในสาขาเพลงดั้งเดิมยอดเยี่ยม องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ทำเงินมากกว่า 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่หกในปี ค.ศ. 2015 และทำเงินสูงสุดอันดับที่สองภาพยนตร์ชุด ตามหลัง พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 โดยที่ปรับไม่ตามอัตราเงินเฟ้อ ภาพยนตร์บอนด์เรื่องถัดไป 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ ฉายในปี ค.ศ. 2021 โดยเคร็กกลับมารับบทเดิมเป็นสุดท้ายของเขาและกำกับโดย แครี โจจิ ฟูคูนากะ

โครงเรื่อง แก้

เจมส์ บอนด์เดินทางไปเม็กซิโกซิตีเพื่อทำภารกิจที่สั่งอย่างไม่เป็นทางการจาก M คนก่อน เขาจัดการชายสองคนที่วางแผนจะระเบิดสนามกีฬาและไล่ตามมาร์โค ชาร์ราไปจนสู้กันบนเฮลิคอปเตอร์ บอนด์ขโมยแหวนวงหนึ่งจากชาร์ราก่อนจะถีบชาร์ราร่วงจากเฮลิคอปเตอร์ เมื่อกลับมาที่ลอนดอน บอนด์ถูก M คนใหม่สั่งพักงาน บอนด์พบว่าตอนนี้ M กำลังแย่งชิงอำนาจการบริหารหน่วยสืบราชการลับกับแมกซ์ เดนบี หรือ C โดย C มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายข้อมูลลับระหว่างประเทศและยุบหน่วยสายลับรหัส "00"

บอนด์ขัดคำสั่ง M แล้วเดินทางไปที่โรมเพื่อร่วมงานศพของมาร์โค ชาร์รา เขาติดตามลูชีอา ชาร์รา ภรรยาม่ายของมาร์โคไป โดยเธอบอกบอนด์ว่าจะมีการประชุมลับขององค์กรที่สามีเธอสังกัดอยู่ บอนด์ใช้แหวนของชาร์ราลอบเข้าไปในการประชุม แต่ถูกจำหน้าได้จึงหลบหนีออกมาโดยมีมิสเตอร์ฮิงซ์ไล่ตาม ขณะเดียวกัน มิสมันนีเพนนีบอกบอนด์ว่าข้อมูลในการประชุมที่บอนด์ได้ยินมาจะพาไปหามิสเตอร์ไวต์ อดีตสมาชิกกลุ่มควอนตัม ซึ่งเป็นองค์กรย่อยขององค์กรที่บอนด์ลอบเข้าไป ส่วนบอนด์ขอให้มิสมันนีเพนนีช่วยสืบหาคนที่ชื่อ ฟรันซ์ โอเบอร์เฮาเซอร์

บอนด์เดินทางไปออสเตรียเพื่อพบกับไวต์ ผู้ซึ่งกำลังจะตายด้วยพิษแทลเลียม ไวต์ขอให้บอนด์ช่วยปกป้องแมเดเลน สวอนน์ ลูกสาวของเขาเพื่อแลกกับข้อมูลที่ตนรู้ ก่อนที่ไวต์จะยิงตัวตาย บอนด์เดินทางไปพบสวอนน์ ซึ่งถูกฮิงซ์จับตัวไป บอนด์จึงไล่ตามด้วยเครื่องบินก่อนจะพาตัวสวอนน์ออกมา ทั้งสองคนไปหา Q ซึ่งตรวจสอบแหวนที่บอนด์ขโมยมาแล้วพบข้อมูลเชื่อมโยงถึงโอเบอร์เฮาเซอร์ สวอนน์บอกบอนด์และ Q ว่าองค์กรที่ทั้งคู่กำลังสืบหาอยู่มีชื่อว่า "สเปกเตอร์" (SPECTRE)

ทั้งคู่เดินทางไปที่ห้องพักที่ไวต์มาทุกปีในโมร็อกโก แล้วพบว่ามีห้องลับที่ภายในไวต์ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ บอนด์ใช้ข้อมูลดังกล่าวเดินทางต่อไปยังจุดหมายด้วยรถไฟ แต่ขณะโดยสารรถไฟ บอนด์และสวอนน์ถูกฮิงซ์บุกมาทำร้าย บอนด์และฮิงซ์สู้กันจนฝ่ายหลังตกรถไฟไป เมื่อไปถึงจุดหมาย บอนด์และสวอนน์พบว่าเป็นกลุ่มอาคารกลางทะเลทรายและพบกับฟรันซ์ โอเบอร์เฮาเซอร์ ผู้เป็นลูกชายของฮันส์ โอเบอร์เฮาเซอร์ ผู้อุปการะบอนด์ตอนเด็ก โอเบอร์เฮาเซอร์จับบอนด์ไปทรมานแล้วเปิดเผยว่า C เป็นส่วนหนึ่งของสเปกเตอร์ พร้อมทั้งเผยว่าตนชื่อ "เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์" ซึ่งเป็นชื่อใหม่หลังจากแกล้งตายไปเมื่อ 20 ปีก่อน บอนด์และสวอนน์หลบหนีออกมาได้และระเบิดกลุ่มอาคารดังกล่าว

บอนด์และสวอนน์เดินทางกลับไปที่ลอนดอนเพื่อพบกับ M, บิล แทนเนอร์, Q และมันนีเพนนี ทั้งหมดบุกเข้าไปจับกุม C และหาทางหยุดเครือข่ายข้อมูลของ C M กับ C สู้กันจน C ตกตึกเสียชีวิต ส่วนบอนด์และสวอนน์ถูกลักพาตัวไป บอนด์หนีรอดมาได้แล้วพบกับโบลเฟลด์ ซึ่งบอกบอนด์ว่าเขาจับตัวสวอนน์ไปขังไว้ในตึก MI6 เก่าแล้ววางระเบิดไว้ บอนด์หาทางช่วยสวอนน์ออกมาได้ก่อนระเบิดจะทำงาน และไล่ตามเฮลิคอปเตอร์ของโบลเฟลด์ไป บอนด์ใช้ปืนยิงจนเฮลิคอปเตอร์ตก ในที่สุดโบลเฟลด์ก็ถูก M จับกุม ส่วนบอนด์ผละออกมาพร้อมกับสวอนน์

นักแสดง แก้

การผลิต แก้

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีการจัดแถลงข่าว พร้อมทั้งเปิดเผยชื่อตอนและเหล่านักแสดง โดยสเปกเตอร์เป็นชื่อองค์กรฝ่ายร้ายในบทประพันธ์ดั้งเดิมที่เขียนโดยเอียน เฟลมมิง องค์กรนี้ปรากฏตัวครั้งสุดท้ายใน 007 เพชรพยัคฆราช (Diamonds Are Forever) แต่เนื่องจาก 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (Casino Royale) เป็นภาคที่เริ่มต้นใหม่[19] จึงถือว่าภาคนี้เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของสเปกเตอร์

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้มีการเผยท่อนฟิล์ม (ฟุตเทจ) ชุดแรก[20] ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม มีการเผยแพร่โปสเตอร์แนะนำแบบใหม่[21][22] โดยมีแดเนียล เคร็ก แต่งกายคล้ายโรเจอร์ มัวร์ เมื่อครั้งเป็นเจมส์ บอนด์ใน พยัคฆ์มฤตยู 007 ยืนถือปืนอยู่[23]

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย เป็นภาพยนตร์ที่ใช้ทุนสร้างมากที่สุดเป็นอันดับที่ 9 ด้วยทุนสร้างกว่า 245 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้รับการบันทึกลงในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่ามีฉากระเบิดที่ใช้พื้นที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์[24]

เพลงประกอบภาพยนตร์ แก้

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558 มีการประกาศว่าแซม สมิธ นักร้องชาวอังกฤษ จะร้องเพลงประจำภาพยนตร์ ซึ่งมีชื่อว่า "Writing's On The Wall" โดยเพลงนี้ได้เผยแพร่ในวันที่ 25 กันยายน ปีเดียวกัน[25][26] เพลงนี้ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[27] รางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์เซนต์หลุยส์เกตเวย์ (St. Louis Gateway Film Critics Association Awards 2015) สาขาเพลงยอดเยี่ยม[28] และรางวัลออสการ์ สาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[29]

การตอบรับ แก้

รางวัล แก้

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ได้รับรางวัลเอ็มไพร์ (Empire Awards) สาขาภาพยนตร์บริเตนและภาพยนตร์ระทึกขวัญยอดเยี่ยม[30]

การตอบรับในประเทศไทย แก้

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ทำรายได้เปิดตัวในประเทศไทย 11.92 ล้านบาท[31] ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 115.67 ล้านบาท[32]

ภาคต่อ แก้

ภาคต่อจาก องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย เริ่มพัฒนาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ. 2016[33] แซม เมนเดสกล่าวว่าเขาจะไม่กลับมาทำหน้าที่ผู้กำกับภาคต่อไปอีก[34] ด้านแดเนียล เคร็กยังไม่ยืนยันที่จะกลับมารับบทเจมส์ บอนด์ แต่บาร์บารา บรอกโคลี ผู้อำนวยการสร้างอยากให้เคร็กแสดงต่อ[35] ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 เคร็กยืนยันในรายการ The Late Show with Stephen Colbert ว่าเขาจะกลับมารับบทเจมส์ บอนด์อีกครั้ง[36] เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 มีการประกาศชื่อภาพยนตร์ภาคต่อคือ พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ (No Time To Die) และมีกำหนดเข้าฉายวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2021[37]

หมายเหตุ แก้

  1. ทุนสร้างอย่างเป็นทางการของ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย นั้นมีข้อมูลที่ไม่ตรงกัน มีการประมาณการตั้งแต่ 245–250[4][5][6][7][8] จนสูงถึง 300–350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[9][10][11] โดยตัวเลข 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นได้รวมค่างบประมาณด้านการตลาดจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[12] 21.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐถูกใช้ในการโฆษณาทางโทรทัศน์และอีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐถูกใช้ในการส่งเสริมการขายและการโฆษณา[6]
  2. หรือ 007 องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย จากหลังปกดีวีดีและบลูเรย์
  3. สเปกเตอร์ ที่ปรากฏตัวใน 007 เพชรพยัคฆราช นั้นไม่อยู่ในเส้นเวลาหลักแล้ว เพราะแฟรนไชส์ได้มีการรีบูตเมื่อปี ค.ศ. 2006 ใน 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก ทำให้การปรากฏของสเปกเตอร์ใน องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย นั้นเป็นการปรากฏครั้งแรกในเส้นเวลาใหม่

อ้างอิง แก้

  1. "AFI|Catalog".
  2. "Spectre (12A)". British Board of Film Classification. 21 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2015. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015.
  3. "SPECTRE (2015)". British Film Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2016. สืบค้นเมื่อ 29 May 2016.
  4. FilmL.A. (15 June 2016). "2015 Feature Film Study" (PDF). p. 25. สืบค้นเมื่อ 17 June 2018.
  5. Pamela McClintock (4 November 2015). "Box-Office Preview: Spectre and Peanuts Movie to the Rescue". The Hollywood Reporter. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2015.
  6. 6.0 6.1 Anthony D'Alessandro (7 November 2015). "Spectre Now Targeting $73M to $74M Opening; The Peanuts Movie Cracking $40M-$45M – Updated". Deadline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2015. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
  7. Brent Lang (4 November 2015). "Box Office: Spectre Needs to Make $650 Million to Break Even". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2015. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
  8. Ben Fritz (8 November 2015). "Spectre, The Peanuts Movie Give Box Office a Welcome Boost". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2015. สืบค้นเมื่อ 10 November 2015.
  9. Scott Mendelson (21 October 2015). "'Spectre' Doesn't Need To Top 'Skyfall' Because 'James Bond' Is A Bullet-Proof Franchise". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2015. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
  10. Alicia Adejobi (25 October 2015). "Spectre movie in numbers: Daniel Craig salary, film budget and James Bond theme tune sales". International Business Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2015. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
  11. "Spectre (2015)". The Numbers. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
  12. Anthony D'Alessandro (9 November 2015). "Even Shy of Skyfall, Spectre Picked Up Sluggish Box Office; Will it Turn a Profit? – Monday Postmortem". Deadline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2015. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
  13. "Spectre (2015)". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2016. สืบค้นเมื่อ 21 April 2016.
  14. "Bellucci Monica". สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
  15. "Ikon London Magazine Coverage from the world premiere of Spectre". Ikon London Magazine. 27 October 2015. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  16. Spectre -- Major Cineplex
  17. Jesper Christensen skal være James Bond-skurk for tredje gang
  18. CS Visits James Bond in Mexico City and Learns How Spectre Begins!
  19. Casino Royale Review: A Successful Bond Reboot
  20. Spectre: watch footage from the James Bond shoot in Austria
  21. First 'SPECTRE' Poster Is Unveiled
  22. "เจมส์ บอนด์ ถอดสูทพร้อมลุย! กับใบปิดทีเซอร์ใหม่ จาก Spectre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-30. สืบค้นเมื่อ 2015-03-20.
  23. James Bond latest news: Spectre pays homage to Roger Moore
  24. Rachel Swatman (10 November 2015). "Latest Bond adventure Spectre sets record for Largest film stunt explosion ever - watch incredible clip". Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ 11 November 2015.
  25. "SAM SMITH TO SING TITLE SONG FOR SPECTRE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-08.
  26. Sam Smith to sing Bond's Spectre theme tune - BBC News
  27. ""Writing's on the Wall" wins Best Original Song at Golden Globes - Entertainment Weekly". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-13. สืบค้นเมื่อ 2016-01-11.
  28. Annual StLFCA Awards — St. Louis Film Critics Association
  29. Oscars 2016: All of the winners from the 88th Academy Awards - The Verge
  30. Jameson Empire Awards 2016: Star Wars and Mad Max lead the nominations
  31. รายได้เปิดตัวหนังใหม่ ประจำวันที่ 5 พ.ย. 2558
  32. Box Office ประจำสัปดาห์ที่ 26 พ.ย. - 2 ธ.ค. 58
  33. "Daniel Craig Back For Spectre's Sequel? Here's What The Producers Say". Cinemablend. 12 January 2015. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
  34. "Director Sam Mendes Won't Be Back For Bond 25". Slashfilm.com. 9 November 2015. สืบค้นเมื่อ 4 January 2016.
  35. AAP (24 October 2015). "Daniel Craig may be back as James Bond after Spectre, or not". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
  36. "Daniel Craig confirms he will play James Bond again". The Guardian. August 16, 2017. สืบค้นเมื่อ August 17, 2017.
  37. Rubin, Rebecca (2021-01-21). "'No Time to Die' Delays Release Date Again". Variety. สืบค้นเมื่อ 2021-01-22.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้