หิด (อังกฤษ: scabies mite) เป็น ไร (mite) ชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (parasite) ต้องอาศัยบนร่างกายคน โดยดำรงชีวิตอยู่บนผิวหนังของคน และกินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร ทำให้เกิดโรคหิด (โรค scabies)

โรคหิด
(scabies)
ชื่ออื่นseven-year itch[1]
ภาพขยายผิวหนังของผู้ป่วยโรคหิด แสดงให้เห็นรอยบนผิวหนังที่ตัวหิดขุดเป็นอุโมงค์
สาขาวิชาInfectious disease, dermatology
อาการitchiness, pimple-like rash[2]
การตั้งต้น2–6 weeks (first infection), ~1 day (subsequent infections)[2]
สาเหตุSarcoptes scabiei mite spread by close contact[3]
ปัจจัยเสี่ยงCrowded living conditions (child care facilities, group homes, prisons), lack of access to water[3][4]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms[5]
โรคอื่นที่คล้ายกันSeborrheic dermatitis, dermatitis herpetiformis, pediculosis, atopic dermatitis[6]
ยาPermethrin, crotamiton, lindane, ivermectin[7]
ความชุก204 million / 2.8% (2015)[8]

ลักษณะทั่วไปของหิด แก้

ตัวหิด หรือ Scabies mite ซึ่งมีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Sarcoptes scabiei var hominis วงจรชีวิตของตัวหิดคือ เมื่อได้รับหิดตัวเมียที่มีไข่อยู่ในตัวมาจากคนอื่นหลังจากนั้น หิดก็จะคลานหาที่เหมาะสมและขุดเจาะผิวหนังจนเป็นโพรง (Burrow) แล้ววางไข่

ไฟล์:วงจรชีวิต.jpg
วงจรชีวิตของหิด

โดยไข่ในโพรงจะมีวันละ 2-3 ฟองต่อวัน ซึ่งหิดตัวเมียนี้จะขุดผิวหนังของต่อไปเรื่อยๆ วันละ 2-3 มิลลิเมตร จนกลายเป็นโพรงหยึกหยักคล้ายงูเลื้อย (Serpentine burrow) โดยหิดจะขุดเฉพาะผิวหนังชั้นบนสุดที่เรียกว่า Stratum corneum เท่านั้น จะไม่ขุดผิวหนังชั้นที่ลึกไปกว่านี้ หิดตัวเมียจะวางไข่ไปได้เรื่อยๆตลอดอายุของซึ่งนานประมาณ 1-2 เดือน ไข่ของหิดมีขนาด 0.1-0.15 มม. จะใช้เวลาในการฟักตัว 3-4 วัน เมื่อตัวอ่อนฟักออกมา ก็จะคลานออกจากโพรงมาอยู่บนผิวหนัง และหาที่เหมาะสมใหม่ ขุดเป็นรูเล็กๆ สั้นๆ บนผิวหนังชั้นบนสุด เรียกว่า Molting pouch ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งแตกต่างจากโพรง (Burrow) ที่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ตัวอ่อนของหิดแรกเกิดจะมี 3 ขา เมื่อมีอายุได้ 3-4 วัน ตัวอ่อนจะลอกคราบแล้วจะมี 4 ขา ต่อจากนั้นจะลอกคราบอีก 2 ครั้ง จนกระทั่งกลายเป็นหิดตัวเต็มวัย ซึ่งจะมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย หิดตัวผู้มีขนาด 0.25-0.35 มม. ส่วนหิดตัวเมียมีขนาด 0.30-0.45 มม. หิดตัวผู้จะคลานออกจากรู และคลานเข้าไปหารูที่ตัวเมียอยู่ เมื่อทำการผสมพันธุ์กันเสร็จแล้วตัวผู้ก็จะตาย ตัวเมียจะออกจากรูเดิม เดินหาบริเวณอื่นของผิวหนังที่เหมาะสม แล้วเจาะโพรงเตรียมพร้อมวางไข่ได้ตลอดชีวิตที่เหลือของมัน ซึ่งหากหิดตัวเมียนี้ติดต่อไปยังผู้อื่น ก็เป็นการเริ่มต้นวงจรชีวิตของมันใหม่ต่อไป หากหิดอยู่นอกร่างกายคน จะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 2-3 วัน แต่ถ้าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส มันจะมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น[9]

สาเหตุ แก้

 
ตัวหิด (Sarcoptes scabiei)

เกิดการติดเชื้อผ่านทางผิวหนังโดยไม่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันของผู้คนจำนวนมากโดยที่มีคนเป็นพาหะนำเชื้อ โรคนี้ติดต่อกันง่าย พบได้ในทุกเพศทุกวัย มักพบว่าอาจจะเป็นกันทั้งครอบครัว หรือระบาดในชุมชนที่มีสุขอนามัยไม่ดี โรคหิดไม่มีการแพร่ทางหายใจหรือทางอาหาร

อาการ แก้

  1. ลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง มีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆที่ผิวหนัง ความยาว 5 – 15 มม. ต่อมาตุ่มแดงกลายเป็นตุ่มน
  2. ตุ่มแดงกระจายไปทั่วตัว พบมากตามง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ ข้อศอก รักแร้ ใต้ราวนม รอบหัวนม สะดือ บั้นเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกอัณฑะ และอวัยวะเพศ ส่วนบริเวณผิวหน้าและศีรษะพบได้น้อย
  3. อาการคันเกิดหลังจากการติดเชื้อแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง
  4. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคเอดส์, SLE, มะเร็ง เม็ดเลือดจะมีการขยายพันธุ์ของตัวไรเพิ่มขึ้น มากมาย จนผื่นกลายเป็นสะเก็ดขุยพอกหนา ภายในสะเก็ดมีตัวหิดอยู่จำนวนมากทำให้แพร่เชื้อได้ง่าย
  5. ผื่นมีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ
  6. พบผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันหลายคน

[10]

ไฟล์:ผื่นหิด.jpg
ลักษณะผื่นของหิด

การรักษา แก้

เมื่อเริ่มเป็นหิดในระยะแรกควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งในการรักษาจะใช้ทั้งยาทาและยารับประทาน เพื่อแก้อาการอักเสบ [10]

ยาทา แก้

1.ยา gamma benzene hexachloride 0.3% - 1% gel หรือ cream ใช้ทาหลังอาบน้ำ โดยทาทั่วตัวตั้งแต่ระดับคอลงมาถึงปลายเท้าทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทาครั้งเดียว อาจมีอาการคันอยู่สักระยะหนึ่งไม่จำเป็นต้องทายาซ้ำ ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาแพทย์

2.ยาทาชนิดน้ำ เบนซิลเบนโซเอต (benzyl benzoate) 12.5% สำหรับเด็ก และ 25% สำหรับผู้ใหญ่ และขี้ผึ้งผสมกำมะถันเหลือง (6-10% precipitated sulfur)

  • ยาทาหลังอาบน้ำ ทาเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ คลุมทุกพื้นที่ของผิวหนังของร่างกายตั้งแต่ระดับคอลงมาถึง

ปลายเท้า ทาทุกซอกทุกมุม ตามซอกนิ้วมือนิ้วเท้าและใต้เล็บ เพื่อให้เนื้อยาเข้าถึงทุกจุด ทายาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทำติดต่อกัน 3 วัน

  • ในเด็กเล็กแพทย์จะกำหนดระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม
  • ใช้ยาสเตอรอยด์อ่อนๆ เช่น hydrocortisone cream 1% ทาวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการคัน

ยารับประทาน แก้

  • หากมีอาการคันมาก ให้รับประทานยาแก้แพ้ช่วยลดอาการคัน

การป้องกันและคำแนะนำในการปฏิบัติตน แก้

1. การรักษาโรคหิด ต้องรักษาทุกคนในครอบครัวพร้อมกันไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่

2. ผู้สัมผัสโรคต้องใช้ยาเช่นเดียวกับผู้ป่วย ถึงแม้จะยังไม่มีอาการ หรือยังไม่มีตุ่มคันก็ตาม

3. ทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนอน เครื่องใช้ทั้งหมด โดยการต้มหรือนำออกตากแดด

4. ดูแลรักษาความสะอาดสถานที่พักอาศัย

5. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานให้ดี เช่น อาบน้ำถูสบู่วันละ 1-2 ครั้ง

6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่น สถานที่กักขัง สถานสงเคราะห์

7. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ

8. รองเท้าควรล้างให้สะอาด และนำไปผึ่งแดด


อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ga2003
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2010Sym
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2010Epi
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2015
  6. Ferri, Fred F. (2010). "Chapter S". Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. ISBN 978-0323076999.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CDC2010Tx2
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ GBD2015Pre
  9. หาหมอดอตคอม เก็บถาวร 2019-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโรคหิด (Scabies)
  10. 10.0 10.1 มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2013-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโรคหิด (Scabies)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

แม่แบบ:Pediculosis, acariasis and other infestations แม่แบบ:STD and STI