หัตถเลขา (อังกฤษ: rescript) คือ เอกสารที่เขียนขึ้นด้วยลายมือของผู้เขียนหรือผู้เขียนทำขึ้นเองไม่ว่าโดยวิธีการใด เช่น พิมพ์ดีด พิมพ์ด้วยหมึกอย่างสมัยใหม่ โดยปรกติแล้วเพื่อสนองคำขอที่อีกฝ่ายมีมา ถ้าเป็นหัตถเลขาของพระราชา เรียก "พระราชหัตถเลขา" โดยปรกติแล้วหัตถเลขาเป็นเอกสารสั่งการ ซึ่งถ้าประมุขแห่งรัฐทำขึ้นและเกี่ยวข้องกับกิจการบ้านเมือง หัตถเลขานั้นจะทำได้เมื่อมีบุคคลลงลายมือชื่อรับสนองการสั่งการนั้นตามที่กฎหมายกำหนด

คำ "หัตถเลขา" นั้นมีความหมายตรงตัวว่า ลายมือ และในภาษาไทยใช้ได้หลายกรณีไม่จำกัดแต่เป็นเอกสารที่เขียนเพื่อสั่งการเท่านั้น

รูปแบบของหัตถเลขามีหลายหลาก ตั้งแต่เอกสารที่เขียนขึ้น พิมพ์ขึ้น จดหมายที่ส่งต่อ ไปจนถึงจดหมายที่ทำกลับเพื่อสนองคำร้องขอที่ได้รับมา

ในสมัยโรมัน จักรพรรดิโรมันมักมีพระราชหัตถเลขาไปยังรัฐบาลและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐ เพื่อสั่งการใด ๆ นอกจากนี้ ยังมีพระหัตถเลขาของสมเด็จพระสันตะปาปาในสมัยโรมันที่เป็นการสั่งการทางปกครองไว้มากมาย นับเป็นจุดเริ่มแรกของหัตถเลขาในทางกฎหมาย

ศาลอุทธรณ์แห่งแมสซาชูเซ็ตส์จะมีหัตถเลขาไปยังศาลชั้นรองเพื่อสั่งการต่าง ๆ หัตถเลขาของศาลนับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของคำสั่งศาล[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Mass. R. App. P. 1(c)