หอยสังข์แตร
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Gastropoda
วงศ์ใหญ่: Tonnoidea
ไม่ได้จัดลำดับ: clade Caenogastropoda
clade Hypsogastropoda
clade Littorinimorpha
วงศ์: Ranellidae
สกุล: Charonia
สปีชีส์: C.  tritonis
ชื่อทวินาม
Charonia tritonis
(Linnaeus, ค.ศ. 1758)

หอยสังข์แตร (อังกฤษ: Triton's trumpet, Giant triton; ชื่อวิทยาศาสตร์: Charonia tritonis) จัดเป็นมอลลัสคาในชั้นหอยฝาเดี่ยว

มีรูปร่างลักษณะและลวดลายสีสวยงาม เปลือกค่อนข้างบาง ยอดเรียวแหลมคล้ายเจดีย์ ช่องปากเปิดกว้างมีสีส้มพื้นผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อนแต้มด้วยลวดลายสีน้ำตาลเข้มจางสลับกัน ขนาดความยาวเปลือกประมาณ 1 ฟุต มักอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้น ของอินโด-แปซิฟิก สำหรับในน่านน้ำไทยจัดว่าเป็นหอยฝาเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยจะพบในความลึกประมาณ 30 เมตร ทั้ง บริเวณอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน เช่นอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น[1]

กินอาหารจำพวก ปลิงทะเลและดาวทะเลเป็นอาหาร โดยเฉพาะดาวมงกุฎหนาม ซึ่งเป็นสัตว์ที่กินปะการังเป็นอาหาร จึงจัดได้ว่าหอยสังข์แตรเป็นตัวควบคุมตามธรรมชาติมิให้ปะการังต้องสูญหาย ถือเป็นสัตว์น้ำที่หาได้ยากในปัจจุบัน และมีสถานะทางกฎหมายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[2] ปัจจุบันกรมประมงเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เพื่อปล่อยกลับลงทะเลดังเดิมเพื่อคงปริมาณจำนวนในธรรมชาติไว้ให้สมดุล[3]

เปลือกของหอยสังข์แตร ใช้เป็นเครื่องเป่าในพิธีกรรมต่าง ๆ ของศาสนาพราหมณ์มาตั้งแต่สมัยโบราณ[4]

โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ตั้งมาจากชื่อของ ไทรตัน ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลตามเทพปกรณัมกรีก[5]

เชิงสัญลักษณ์ แก้

หอยสังข์แตร ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ในคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [6]

อ้างอิง แก้

  1. หอยสังข์แตร
  2. "หอยสังข์แตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  3. ห่วงหอยสังข์แตรสูญพันธ์ เร่งวิจัยเพาะปล่อยทะเล
  4. "สัญลักษณ์หอยสังข์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-29. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  5. ["Charonia tritonis Linne`(อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2012-04-11. Charonia tritonis Linne`(อังกฤษ)]
  6. สัญลักษณ์และสิ่งอันทรงคุณค่า