หล่อฮังก๊วย

สปีชีส์ของพืช
หล่อฮังก๊วย
ผลหลอฮังก๊วยสด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryote
อาณาจักร: Plantae
ไฟลัม: Streptophyta
ชั้น: Equisetopsida
ชั้นย่อย: Magnoliidae
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
สกุล: Siraitia
สปีชีส์: S.  grosvenorii
ชื่อทวินาม
Siraitia grosvenorii
(Swingle) C.Jeffrey ex A.M.Lu & Zhi Y.Zhang
ชื่อพ้อง[1]
  • Momordica grosvenorii Swingle
  • Thladiantha grosvenorii (Swingle) C.Jeffrey

หล่อฮังก๊วย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Siraitia grosvenorii) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) เป็นพืชพื้นเมืองของทางตอนใต้และตอนกลางของจีนรวมถึงภาคเหนือของไทย[2]

หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง ในการแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้[3]สามารถเก็บเกี่ยวจากต้นได้เหมือนพืชวงศ์แตงทั่วไป

ชื่อ แก้

"หล่อฮังก๊วย" มาจากภาษาจีนซึ่งสำเนียงกลางว่า "หลัวฮั่นกั่ว" (จีน: 羅漢果; พินอิน: luóhàn guǒ) คำว่า "หลัวฮั่น" กร่อนจาก "อาหลัวฮั่น" (จีน: 阿羅漢; พินอิน: āluóhàn) ซึ่งทับศัพท์จากสันสกฤตว่า "อรฺหนฺต" และชื่อในภาษาสันสกฤตของหล่อฮั่งก๊วย คือ "อรฺหนฺตผล" แปลว่า ผลไม้ของอรหันต์

ชื่อสามัญของหล่อฮังก๊วยในภาษาอังกฤษ คือ arhat fruit, Buddha fruit, monk fruit หรือ longevity fruit ส่วนในภาษาญี่ปุ่นใช้ว่า "ระกังกะ" (ญี่ปุ่น: ラカンカโรมาจิrakanka)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

หล่อฮังก๊วยเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Monordica grosvenoril Swingle หล่อฮังก๊วยจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง ผลของหล่อฮังก๊วยมีลักษณะกลมเหมือนไข่เป็ด มีเปลือกแข็งล้อมรอบเนื้อผลไม้แต่มีความเปราะ ในช่วงที่ยังไม่สุกผลจะมีสีเขียวและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีเขียวเข้มแกมดำและผลจะรีลง[3]ลำต้นเถายาวประมาณ 3-5 เมตรมีมือพันที่ลำต้นไว้ยึดเกาะยื่นไปทางก้านใบ 90॰ มีรากเป็นรูปกระสวย ใบเป็นรูปหัวใจยาว 10–20 ซม. ขอบใบหยัก ดอกออกเป็นดอกเดียวคล้ายดอกฟักทอง ดอกมีสีเหลือง ผลสดมีรูปร่างกลมรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 เซนติเมตร ผิวเรียบมันสีเขียวอ่อน เมื่อผลแห้งจะมีสีน้ำตาลเข้ม

 
ผลหลอฮังก๊วยแห้งผ่าซีกนำไปต้มกับน้ำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

สรรพคุณ แก้

หล่อฮังก๊วยเมื่อนำมาสกัดจะให้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยสารให้ความแทนน้ำตาลที่สกัดได้นี้ให้ความหวานถึง 250-300 เท่าของน้ำตาลทราย จึงนิยมนำมาเป็นสารเพิ่มความหวานในอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในอุตสาหกรรมอาหาร โดยที่ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของน้ำตาลในกระแสเลือด[3]

การแพทย์แผนจีนจะนำผลของหล่อฮังก๊วยไปตากแห้งหรือลนไฟจนแห้ง จากนั้นจะทำการเคาะหากใช้ได้แล้วจะมีเสียงกังวาน สามารถนำมาต้มหรือผสมกับจับเลี้ยงเพื่อปรุงเครื่องดื่มแก้ร้อนในได้ ซึ่งสรรพคุณที่ได้กล่าวมานี้ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการไอ เสียงแหบแห้ง บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ และโรคทางเดินหายใจ ในสมัยโบราณผู้ป่วยที่มีโรคไอกรนแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่มีหล่อฮังก๊วยผสมอยู่เพราะสามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หล่อฮังก๊วยยังมีสรรพคุณในการบำรุงระบบทางเดินอาหารช่วงล่าง เช่น ภาวะลำไส้ใหญ่ไม่มีแรงบีบตัว และอาการทวารหย่อน เป็นต้น[4]

บทบาททางการแพทย์ แก้

หล่อฮังก๊วยเมื่อนำมาสกัดจะให้สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลชื่อว่า "โมโกรไซด์ (Mogrosides)" เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มไกลโคไซด์ ซึ่ง (Triterpene Glycosides) เป็นสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลประมาณ 250-300 เท่า แต่กลับไม่ให้พลังงาน ดังนั้นจึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด (อินซูลิน) ของผู้ป่วย โดยแพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวานได้ แต่เครื่องดื่มต้องไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ภายใน[3][4]

การเพาะปลูก แก้

การปลูกด้วยเมล็ดนั้นงอกช้าและอาจใช้เวลาหลายเดือนในการเจริญเติบโต พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง (Guangxi) ทางตอนใต้ของจีน (ส่วนใหญ่ในพื้นที่ภูเขาใกล้กุ้ยหลิน) เช่นเดียวกันในกวางตุ้ง กุ้ยโจว หูหนาน เจียงซี และจังหวัดอื่น ๆ พื้นที่ภูเขาในท้องถิ่นมีต้นไม้ร่มรื่นและมักถูกล้อมรอบด้วยหมอก ทำให้พืชหลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดโดยตรงส่งผลให้หล่อฮังก๊วยเป็นของหายากในป่าจึงมีการนำมาปลูกเป็นเวลาหลายร้อยปี

บันทึกแรกสุดที่พบคือในปี พ.ศ. 2356 ระบุว่าพืชชนิดนี้ถูกปลูกในกวางสี และในปัจจุบันมีพื้นที่ที่เพาะปลูกประมาณ 16 ตารางกิโลเมตรบนภูเขากุ้ยหลิน โดยมีผลผลิตประมาณ 100 ล้านผลต่อปี พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตหวิงฟุก (Vinh Phuc)และ เขตหลิงกุ้ย (Lingui)

ที่ระดับความสูง 300 ถึง 1,400 เมตร ในพื้นที่ป่าไหล่เขากึ่งเขตร้อนชื้น ต้องการแสงสว่างเพียง 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ความชื้นในอากาศสัมพัทธ์ 75 ถึง 85% มีฝนตกชุก และอุณหภูมิ 22 ถึง 85 เปอร์เซ็นต์ 28°C ลำต้นสามารถเติบโตอย่างรวดเร็ว และสามารถยาวได้ 3-5 เมตร มีมือพันเกาะเกี่ยวตามต้นไม้และภูมิประเทศอื่นเหมือนเถาวัลย์ เนื้อชั้นในรับประทานดิบ และเปลือกที่มีรสขมใช้ชงชา

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ แก้

เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้บริเวณชายเขาที่อากาศเย็นแถวภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีภูมิอากาศใกล้เคียงกับแถบตอนใต้ของประเทศจีน แต่ยังไม่นิยมปลูกในไทยมากนักเนื่องจากยังไม่มีองค์ความรู้ที่มากพอและภูมิอากาศที่ไม่เอื่ออำนวยทำให้ไม่สามารถปลูกได้ตามต้องการมากนัก ในประเทศจีนเมืองหลงเจียงในมณฑลหยงฝูได้รับสมญานามว่าเป็น "บ้านเกิดของหล่อฮังก๊วยของจีน" มีบริษัทหลายแห่งในพื้นที่ที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตสารสกัดหล่อฮังก๊วยและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และเป็นประเทศที่ส่งออกหล่อฮังก๊วยรายใหญ่ของโลก

งานวิจัยเกี่ยวข้อง แก้

นักวิจัยชาวญี่ปุ่นที่ทำการวิจัยที่ มหาวิทยาลัยนิฮอน ในประเทศญี่ปุ่น ค้นพบว่าหล่อฮังก๊วยมีสารประกอบบางชนิดในการต่อต้านเนื้องอก และมหาวิทยาลัยในเมืองฮิโรชิม่าค้นพบว่าสารโมโกรไซด์ (Mogrosides) มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอกใต้ผิวหนังของผู้ป่วยได้[3]

นอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการนำสรรพคุณของหล่อฮังก๊วยมาทำเป็นลูกอมให้กับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วยได้รับประทานอีกด้วยในงานวิจัยชื่อว่า น้ำสมุนไพรอัดเม็ด ของภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในงานวิจัยฉบับนี้ระบุว่าได้นำสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ บัวบก หล่อฮั้งก๊วย และ เก๊กฮวย มาผ่านกระบวนการอัดเม็ด ผลปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้รับประทานและสามารถคงสรรพคุณของหล่อฮังก๊วยไว้ในลูกอมไว้ได้[5]

อ้างอิง แก้

  1. "The Plant List".
  2. Dharmananda S (2004). "Luo han guo: Sweet fruit used as sugar substitute and medicinal herb". Inst Trad Med Online. สืบค้นเมื่อ 30 October 2012. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 ส่วนประกอบและสรรพคุณของหล่อฮังก๊วยจากเว็บไซต์ kingopop1.com เก็บถาวร 2014-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 19:30 น.
  4. 4.0 4.1 สรรพคุณของหล่อฮังก๊วยจากเว็บไซต์ IRVEAUTINA[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 20:35 น.
  5. น้ำสมุนไพรอัดเม็ด ของภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 21:14 น.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Siraitia grosvenorii ที่วิกิสปีชีส์