หลี่ เติงฮุย (15 มกราคม พ.ศ. 2465 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563) เป็นรัฐบุรุษชาวไต้หวัน อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนและอดีตประธานพรรคก๊กมินตั๋ง(พรรคชาตินิยมจีน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึง 2543 เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนคนแรกที่เกิดในไต้หวัน

หลี่ เติงฮุย
李登輝
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
13 มกราคม ค.ศ. 1988 – 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2000
หัวหน้ารัฐบาล
รองประธานาธิบดี
ก่อนหน้าเจียง จิ่งกั๊วะ
ถัดไปเฉิน ฉุ่ยเปี่ยน
รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 – 13 มกราคม ค.ศ. 1988
ประธานาธิบดีเจียง จิ่งกั๊วะ
ก่อนหน้าเซี่ย ต้ง-หมิน
ถัดไปลี่ ยวน-ซู
ประธานพรรคก๊กมินตั๋งคนที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 – 24 มีนาคมคม ค.ศ. 2000
รักษาการ: 13 มกราคม 1988 – 27 กรกฎาคม 1988
ก่อนหน้าเจียง จิ่งกั๊วะ
ถัดไปเหลียน ชาน
ประธานแห่งรัฐบาลเฉพาะกาลไต้หวัน คนที่ 11
ดำรงตำแหน่ง
5 ธันวาคม ค.ศ. 1981 – 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1984
ก่อนหน้าหลิน ย่าง-กัง
ถัดไป
นายกเทศมนตรีไทเป
ดำรงตำแหน่ง
9 มิถุนายน ค.ศ. 1978 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1981
ก่อนหน้าหลิน ย่าง-กัง
ถัดไปเฉา เอิน-สิน (邵恩新)
รัฐมนตรีลอย
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน ค.ศ. 1972 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1978
หัวหน้ารัฐบาลเจียง จิ่งกั๊วะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม ค.ศ. 1923(1923-01-15)
ซันจือ, จังหวัดไทโฮกุ, ญี่ปุ่นไต้หวัน (ปัจจุบันอยู่ในนครซินเป่ย์ ไต้หวัน)
เสียชีวิต30 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 (97 ปี)
เป่ยโถว, ไทเป, ประเทศไต้หวัน
เชื้อชาติ
พรรคการเมืองอิสระ (2001–)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสTseng Wen-hui (สมรส 1949)
ศิษย์เก่า
อาชีพนักเศรษฐศาสตร์การเกษตร
นักการเมือง
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม李登輝
อักษรจีนตัวย่อ李登辉
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ李 登輝
岩里政男
คานะリ とうき
いわさと まさお
การถอดเสียง
โรมาจิRi Tōki
Iwasato Masao
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ญี่ปุ่น
แผนก/สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น
ประจำการ1944–1946
ชั้นยศSecond Lieutenant
การยุทธ์Second World War

ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี หลี่ได้สั่งให้ยกเลิกกฏอัยการศึก ทำให้เป็นประชาธิปไตยแบบเต็มรูปแบบของสาธารณรัฐจีน สนับสนุนขบวนการท้องถิ่นไต้หวัน (Taiwanese localization movement) และนำนโยบายการต่างประเทศที่มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นพันธมิตรทั่วโลก หลี่ เติงฮุย ยังมีบทบาทสำคัญในช่วงเหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 อีกด้วย

ภายหลังการลงจากตำแหน่ง หลี่ได้ถูกขับออกจากพรรคก๊กมินตั๋ง จากบทบาทของเขาในการก่อตั้งสหภาพเอกภาพไต้หวัน (TSU) ที่มีความต้องการที่จะเป็นอิสระ ซึ่งสหภาพเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฟั่นลวี่ (Pan-Green Coalition) ร่วมกับ พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ของไต้หวัน หลี่ได้รับการนับถือว่าเป็น"ผู้นำทางจิตวิญญาณ"ของสหภาพเอกภาพไต้หวัน[1] และเปิดรับผู้สมัครสมาชิกสภาจากพรรคก๊กมินตั๋งที่พลาดการเลือกตั้งมาทำงานร่วมกัน[2] หลี่ได้เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาในการสนับสนุนการประกาศเอกราชของไต้หวันจากจีน

หลี่เสียชีวิตเมื่ออายุ 97 ปี 197 วัน เป็นอดีตประธานาธิบดีไต้หวันที่มีอายุมากที่สุดในขณะที่มีชีวิตอยู่ และเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนที่มีชีวิตยืนยาวที่สุดเป็นอันดับสองรองลงจาก กู้ เหวยจวิน (Wellington Koo) ที่เสียชีวิตขณะมีอายุ 97 ปี 289 วัน

อ้างอิง แก้

  1. Chen, Melody (1 January 2004). "Japan's criticism of referendum has Lee outraged". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  2. Lin, Mei-chun (28 December 2001). "Lee Teng-hui seeks KMT legislators". Taipei Times. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.