หลอดลมฝอยอักเสบ

หลอดลมฝอยอักเสบ (อังกฤษ: bronchiolitis) คือภาวะที่มีการอักเสบของหลอดลมส่วนล่างซึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่าหลอดลมฝอย มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี[2] ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ น้ำมูกไหล หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการหอบเหนื่อย สังเกตได้จากการที่มีปีกจมูกบาน หายใจมีเสียงอุดกั้น หรือมีหน้าอกบุ๋มขณะหายใจ[1] หากไม่สามารถกินอาหารหรือน้ำได้เพียงพออาจมีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำร่วมด้วย[1]

หลอดลมฝอยอักเสบ
(Bronchiolitis)
An X-ray of a child with RSV showing the typical bilateral perihilar fullness of bronchiolitis.
สาขาวิชาEmergency medicine, pediatrics
อาการFever, cough, runny nose, wheezing, breathing problems[1]
ภาวะแทรกซ้อนRespiratory distress, dehydration[1]
การตั้งต้นLess than 2 years old[2]
สาเหตุViral infection (respiratory syncytial virus, human rhinovirus)[2]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันAsthma, pneumonia, heart failure, allergic reaction, cystic fibrosis[1]
การรักษาSupportive care (oxygen, support with feeding, intravenous fluids )[3]
ความชุก~20% (children less than 2)[2][1]
การเสียชีวิต1% (among those hospitalized)[4]

เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือไวรัสอาร์เอสวี (72%) หรือไวรัสหวัด (26%)[2] การวินิจฉัยทำได้โดยพิจารณาจากอาการ[1] การตรวจพิเศษอย่างอื่นเช่นการตรวจเอกซเรย์ปอดหรือการตรวจเพาะเชื้อไวรัสมักไม่มีความจำเป็น[2]

โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ[3] ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาแบบประคับประคองอาการได้ที่บ้าน[1] บางรายอาจต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเพื่อใช้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือเพื่อเสริมอาหาร[1] ข้อมูลจากการวิจัยในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการพ่นด้วยสารละลายน้ำเกลือความเข้มข้นสูงอาจช่วยได้[5] ส่วนการรักษาอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาขยายหลอดลม หรือการพ่นด้วยอะดรีนาลีน ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะใช้ได้ผล[6]

เด็กราว 10-30% จะเคยป่วยเป็นหลอดลมฝอยอักเสบอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน 2 ปี[1][2] โรคนี้พบได้บ่อยในฤดูหนาว[1] ในรายที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลจะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 1%[4] โรคนี้มีการระบาดเป็นระยะ การระบาดครั้งที่มีบันทึกไว้เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1940[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 Friedman JN, Rieder MJ, Walton JM, Canadian Paediatric Society, Acute Care Committee, Drug Therapy and Hazardous Substances (November 2014). "Bronchiolitis: Recommendations for diagnosis, monitoring and management of children one to 24 months of age". Paediatrics & child health. 19 (9): 485–98. doi:10.1093/pch/19.9.485. PMC 4235450. PMID 25414585.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Schroeder, AR; Mansbach, JM (June 2014). "Recent evidence on the management of bronchiolitis". Current Opinion in Pediatrics. 26 (3): 328–33. doi:10.1097/MOP.0000000000000090. PMC 4552182. PMID 24739493.
  3. 3.0 3.1 Hancock, DG; Charles-Britton, B; Dixon, DL; Forsyth, KD (September 2017). "The heterogeneity of viral bronchiolitis: A lack of universal consensus definitions". Pediatric pulmonology. 52 (9): 1234–1240. doi:10.1002/ppul.23750. PMID 28672069.
  4. 4.0 4.1 Kendig, Edwin L.; Wilmott, Robert W.; Boat, Thomas F.; Bush, Andrew; Chernick, Victor (2012). Kendig and Chernick's Disorders of the Respiratory Tract in Children (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 450. ISBN 1437719848.
  5. Zhang, L; Mendoza-Sassi, RA; Wainwright, C; Klassen, TP (21 December 2017). "Nebulised hypertonic saline solution for acute bronchiolitis in infants". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 12: CD006458. doi:10.1002/14651858.CD006458.pub4. PMID 29265171.
  6. Brooks, CG; Harrison, WN; Ralston, SL (18 April 2016). "Association Between Hypertonic Saline and Hospital Length of Stay in Acute Viral Bronchiolitis: A Reanalysis of 2 Meta-analyses". JAMA Pediatrics. 170: 577–84. doi:10.1001/jamapediatrics.2016.0079. PMID 27088767.
  7. Anderson, Larry J.; Graham, Barney S. (2013). Challenges and Opportunities for Respiratory Syncytial Virus Vaccines (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 392. ISBN 9783642389191.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก