หลอดทดลอง (อังกฤษ: test tube) เป็นเครื่องแก้วที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทำด้วยหลอดแก้วหรือพลาสติกสีใส ความยาวประมาณนิ้วมือ มีปากเปิดด้านบนและส่วนใหญ่มีก้นกลมมน หลอดทดลองนั้นมีหลายขนาด ความกว้างมีตั้งแต่ 10 ถึง 20 มม. ส่วนความยาวมีตั้งแต่ 50 ถึง 200 มม.[1] ส่วนใหญ่ด้านบนมีปากที่บานออกเพื่อช่วยในการเทของเหลว และยังช่วยในการแยกหลอดทดลองออกจากหลอดเพาะเชื้อ (culture tube) ซึ่งมีปากตรงหรือเป็นเกลียวเพื่อปิดฝาอีก[2] หลอดทดลองมีทั้งแบบก้นเป็นทรงแบน ทรงกลม หรือ ทรงกรวย นอกจากนี้หลอดทดลองบางอันยังผลิตขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับจุกปิดแบบแก้ว หรือฝาเกลียว บนหลอดทดลองมักมีจุดที่เป็นผิวด้านสำหรับทำเครื่องหมายด้วยดินสอ หรือจุดที่เคลือบเงาไว้สำหรับการเขียน

หลอดทดลอง
หลอดทดลองขนาดเล็กสองหลอดถือด้วยแคลมพ์สปริง
ชื่ออื่นหลอดเพาะเชื้อ
การใช้ปฏิกิริยาเคมี
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องVacutainer
Boiling tube
Centrifuge tube

การใช้ แก้

 
Louis Lumière กับกล้องจุลทรรศน์ และหลอดทดลอง

หลอดทดลองถูกใช้อย่างแพร่หลายในหมู่นักเคมี เพื่อบรรจุ ผสม หรือ ให้ความร้อนแก่สารเคมีที่เป็นของแข็งหรือของเหลว โดยเฉพาะในการทดลองเชิงคุณภาพ (qualitative experiments) ก้นที่กลมและหลอดที่ตั้งตรง ให้ประโยชน์หลายด้าน เช่น ช่วยลดมวลที่สูญเสียเวลาเท ทำความสะอาดง่ายขึ้น และทำให้การเฝ้าดูสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในได้ง่ายขึ้น หลอดที่ยาวและปากที่แคบช่วยลดการกระจายตัวของก๊าซและไอน้ำสู่สิ่งแวดล้อม

หลอดทดลองซึ่งบรรจุน้ำไว้จนเต็มยังสามารถนำไปคว่ำบนบีกเกอร์ที่เต็มไปด้วยน้ำเพื่อเก็บกักก๊าซ เช่น ในการสาธิตการแยกหรือสกัดสารเคมีด้วยกระแสไฟฟ้า (electrolysis) นอกจากยังมีหลอดทดลองขนาดใหญ่สำหรับต้มของเหลวโดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า boiling tube

 
ตัวอย่างเลือดมนุษย์สำหรับ การตรวจเลือด

โดยปกติแล้วหลอดเพาะเชื้อจะถูกใช้ในชีววิทยาเพื่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด เช่น รา แบคทีเรีย ต้นอ่อน เนื้อเยื่อพืช และ อื่นๆ โดยทางการแพทย์หลอดเพาะเชื้อยังถูกใช้เพื่อเก็บตัวอย่างเลือดหรือของเหลวอืน ๆ

ส่วนหลอดทดลองที่มีจุกปิดนั้นส่วนใหญ่แล้วถูกใช้เป็นที่เก็บชั่วคราวสำหรับสารเคมีหรือตัวอย่างทางชีววิทยา

หลอดทดลองมักจะถูกวางบนที่วางหลอดทดลองหรือถูกยึดโดยแคลมพ์ (clamp) หรือ คีมเหล็ก (tong) ที่วางหลอดทดลองบางแบบนั้นยังถูกออกแบบมาให้ยึดหลอดทดลองในแนวนอนจนเกือบขนานกับพื้นเพื่อเพิ่มปริมาณของพื้นผิวของอาหารเลี้ยงเชื้ออีกด้วย

นอกจากนี้บางทียังมีการใช้หลอดทดลองนอกห้องปฏิบัติการ เช่น ใช้เป็นแจกันใส่ดอกไม้หรือแม้แต่ใช้ใส่เครื่องปรุงอาหาร 

การผลิต แก้

โดยปกติแล้วหลอดทดลองสำหรับฟิสิกส์และเคมีนั้นทำมาจากแก้วเพราะความทนทานต่อความร้อนและสารเคมี และยังใช้ได้เป็นเวลานาน หลอดทีทำมาจากแก้วบอโรซิลิเกต (borosilicate glass) มีคุณสมบัติทนความร้อนได้หลายร้อยองศาเซสเซียส

หลอดเพาะเชื้อปกติจะทำจากพลาสติกใสเช่น พอลิสไตรีน หรือ พอลิพรอพิลีน (polypropylene) โดยการฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์[3] และส่วนใหญ่จะทิ้งเมื่อใช้เสร็จ

หลอดทดลองบางทีอาจมากับสารที่เตรียมไว้แล้วในหลอด ตัวอย่างเช่น หลอดหัวฟ้า (blue top tube) ซึ่งคือหลอดทดลองขนาด 5 มล. บรรจุด้วยโซเดียมซิเตรทที่ทำงานเป็นสารต้านการจับตัวเป็นก้อนและใช้สำหรับการเก็บตัวอย่าง[4] 

อ้างอิง แก้

  1. MiniScience.com catalog: Test Tube เก็บถาวร 2008-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed March 27, 2009
  2. Thomas Scott (transl., 1996), Concise Encyclopedia: Biology.
  3. M. Jeremy Ashcraft, General Manager, Lake Charles Manufacturing (2007).
  4. TheFreeDictionary > blue top tube Citing: McGraw-Hill Concise Dictionary of Modern Medicine. 2002 by The McGraw-Hill Companies, Inc.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้