หยาง ช่างคุน

(เปลี่ยนทางจาก หยาง ซั่งคุน)

หยาง ช่างคุน (จีนตัวย่อ: 杨尚昆; จีนตัวเต็ม: 楊尚昆; พินอิน: Yáng Shàngkūn; 3 สิงหาคม พ.ศ. 2450 – 14 กันยายน พ.ศ. 2541) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง 2536 และเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโสที่ปกครองพรรคหลังจากการอสัญกรรมของเหมา เจ๋อตง[1]

หยาง ช่างคุน
杨尚昆
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
8 เมษายน พ.ศ. 2531 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2536
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เผิง
รองประธานาธิบดีหวัง เจิ้น
ผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิง
ก่อนหน้าหลี่ เซียนเนี่ยน
ถัดไปเจียง เจ๋อหมิน
เลขาธิการคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ดำรงตำแหน่ง
สิงหาคม พ.ศ. 2488 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ถัดไปหวง เค่อเฉิง
ดำรงตำแหน่ง
กรกฎาคม พ.ศ. 2524 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
ก่อนหน้าเกิ่ง เปียว
ถัดไปหยาง ไป่ปิง
สมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม พ.ศ. 2507 – 13 มกราคม พ.ศ. 2518
เขตเลือกตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ดำรงตำแหน่ง
25 มีนาม พ.ศ. 2531 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2536
เขตเลือกตั้งมณฑลเสฉวน
นายกเทศมนตรีกว่างโจว
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2524
ก่อนหน้าเจียว หลินอี้
ถัดไปเหลียง หลิงกวง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 สิงหาคม พ.ศ. 2450
มณฑลเสฉวน, จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต14 กันยายน พ.ศ. 2541 (91 ปี)
ปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
เชื้อชาติ จีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (2469–2536)
คู่สมรสหลี่ โป๋จ้าว (2472–2528) (เสียชีวิต)
บุตร3 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้, มหาวิทยาลัยมอสโกซุนยัตเซ็น
หยาง ช่างคุน
อักษรจีนตัวย่อ杨尚昆
อักษรจีนตัวเต็ม楊尚昆

เขาเข้าศึกษามหาวิทยาลัยในเซี่ยงไฮ้ก่อนศึกษาทฤษฎีลัทธิมากซ์ในกรุงมอสโก ทำให้เขาเป็นผู้นำที่ได้รับการศึกษาดีที่สุดคนหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์จีนช่วงต้น หยางกลับประเทศจีนเป็นหนึ่งใน 28 บอลเชวิค และเดิมสนับสนุนผู้นำคอมมิวนิสต์ช่วงต้น จาง กั๋วเทา แต่เปลี่ยนมาสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มแยกของเหมาระหว่างการเดินทางไกล (Long March) เขาเป็นคอมมิสซาร์การเมืองระหว่างสงครามกลางเมืองจีนและสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนในปี 2492 หยางดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง สุดท้ายกลายเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ทรงอำนาจ เขาถูกกวาดล้างเมื่อเกิดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปี 2509 และไม่ถูกเรียกตัวกลับจนปี 2521 หลังเติ้ง เสี่ยวผิงเถลิงอำนาจ หลังเขาคืนสู่อำนาจ หยางเป็นหนึ่งในแปดผู้อาวุโส (Eight Elders) ของจีน หยางสนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจแต่คัดค้านการเปิดเสรีทางการเมือง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สุดท้ายเติ้งตัดสินใจ หยางถึงจุดสูงสุดแห่งอาชีพการเมืองของเขาหลังการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินปี 2532 แต่การคัดค้านอย่างมีระเบียบของเขาต่อการเป็นผู้นำของเจียง เจ๋อหมินทำให้เติ้งบังคับให้หยางเกษียณ

  1. Yang Shangkun (Yang Shang-kun) (1907-1998) in China at war: an Encyclopedia, edited by Xiaobing Li, pp. 512–514, ABC-CLIO, 2012.