หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์

หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ (26 มกราคม พ.ศ. 2467 – 7 เมษายน พ.ศ. 2549) อดีตราชเลขาธิการ และองคมนตรี พระเทวัน (น้องเขย) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ทวีสันต์ ลดาวัลย์
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 7 เมษายน พ.ศ. 2549
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ราชเลขาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2512 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าหม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล
ถัดไปหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 มกราคม พ.ศ. 2467
เสียชีวิต7 เมษายน พ.ศ. 2549 (82 ปี)
คู่สมรสท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์
บุตรท่านผู้หญิง ดร.สุธาวัลย์ เสถียรไทย
บุพการี
  • พระภูมิพิชัย (หม่อมราชวงศ์บุง ลดาวัลย์) (บิดา)
  • เนือง ภูมิพิชัย (มารดา)

ครอบครัว แก้

เป็นบุตรคนโตของอำมาตย์โท พระภูมิพิชัย (หม่อมราชวงศ์บุง ลดาวัลย์; อดีตเจ้าเมืองชัยภูมิ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ปัตตานี และกำแพงเพชร; โอรสในหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์) กับนางภูมิพิชัย (เนือง ลดาวัลย์ ณ อยุธยา; ธิดาของพันเอก พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค)) มีพี่น้องดังนี้

  • หม่อมหลวงนิรันดร ลดาวัลย์ สมรสกับพิศมัย (สกุลเดิม บุนนาค)
  • หม่อมหลวงภียยุพงศ์ บุนนาค สมรสกับชูชีพ บุนนาค
  • หม่อมหลวงขันทอง ลดาวัลย์
  • หม่อมหลวงหิรัญญิกา วรรณเมธี สมรสกับแผน วรรณเมธี (เลขาธิการสภากาชาดไทย)

นอกจากนี้หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ มีศักดิ์เป็นหลานป้าของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ สมรสและหย่ากับท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร; พระขนิษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) มีธิดาเพียงคนเดียว คือ

การศึกษา แก้

การทำงาน แก้

  • พ.ศ. ? รองอธิบดีกรมพิธีการทูต
  • พ.ศ. 2511 รองราชเลขาธิการ
  • พ.ศ. 2512 - 2537 ราชเลขาธิการ
  • พ.ศ. 2537 - 2549 องคมนตรี[1]
  • พ.ศ. 2537 - 2549 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
  • พ.ศ. 2537 - 2549 กรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ถึงแก่อสัญกรรม แก้

หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอาการไตวาย และหัวใจวาย เมื่อเวลา 01.53 น. วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2549 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สิริอายุ 82 ปี 71 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรร์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๘๑ ง หน้า ๒๑๓๙, ๔ ตุลาคม ๒๕๐๓
  8. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (60ง ฉบับพิเศษ): 12. 1985-05-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.


ก่อนหน้า หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ ถัดไป
หม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล   ราชเลขาธิการ
(18 กันยายน พ.ศ. 2512 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538)
  หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี