หมึกสายวงน้ำเงินใต้

หมึกสายวงน้ำเงินใต้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Cephalopoda
อันดับ: Octopoda
วงศ์: Octopodidae
วงศ์ย่อย: Octopodinae
สกุล: Hapalochlaena
สปีชีส์: H.  maculosa
ชื่อทวินาม
Hapalochlaena maculosa
(Hoyle, 1883)
ชื่อพ้อง[1]
  • Octopus maculosus Hoyle, 1883
  • Octopus pictus Brock, 1882

หมึกสายวงน้ำเงินใต้ หรือ หมึกสายลายฟ้าใต้ (อังกฤษ: Southern blue-ringed octopus; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hapalochlaena maculosa) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมอลลัสคาประเภทหมึกสายชนิดหนึ่ง จำพวกหมึกสายวงน้ำเงิน

บทนำ แก้

ชีววิทยาของหมึก แก้

หมึกสายชนิดนี้เป็นหมึกสายที่มีขนาดเล็กและมีวงแหวนชนิดเรืองแสงสีฟ้าอยู่บนลำตัวและส่วนหนวด ความแตกต่างของหมึกชนิดนี้จากชนิดอื่นๆที่อยู่ในสกุลเดียวกันคือความยาวลำตัวมากที่สุดที่พบ 40 mm และความยาวของหนวดจะมากกว่าความยาวลำตัว 1.5 – 2.5 เท่า ลำตัวเป็นถุงกลม ด้านท้ายแหลม ลำตัวมีสีน้ำตาลมีจุดสีฟ้าเป็นวงแหวน สำหรับเพศผู้มีแขนคู่ที่สาม ข้างขวาเป็นแขนสำหรับผสมพันธุ์ และที่สำคัญคือวงแหวนสีฟ้าจะเป็นเพียงวงแหวนจาง ๆ ที่กระจายอยู่บนลำตัว โดยขนาดวงแหวนนั้นจะมีขนาดเล็กและพบน้อยมากเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงแหวนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 mm พบกระจายเพียง 5 % จากบริเวณลำตัวทั้งหมด [2] การผสมพันธุ์มีเพียงครั้งเดียวตลอดวงจรชีวิตโดยเพศเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุใต้น้ำ ไข่จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ ลูกหมึกจะดำรงชีวิตแบบหน้าดิน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ พบในเขตอินโด-แปซิฟิกตะวันตก จากทางใต้ของเกาะฮอนชู ไปจนถึงเกาะทาสมาเนีย และไปทางตะวันตกจนถึงอ่าวเอเดน [3] ส่วนในน่านน้ำไทย พบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันโดยในฝั่งอ่าวไทย กรมประมงทำการศึกษาโดยใช้เครื่องมืออวนลากแผ่นตะเฆ่ ขนาดตาอวนก้นถุง 2.5 เซนติเมตร ได้พบหมึกสายวงน้ำเงินใต้อยู่เสมอ แหล่งที่พบส่วนใหญ่ได้แก่บริเวณหน้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเขตน้ำลึก 20 – 40 เมตร แต่ไม่ได้พบในปริมาณมาก [4]

ความสำคัญ แก้

หมึกชนิดนี้จัดเป็นผู้ล่าที่สำคัญเพราะมันมีพิษที่ร้ายแรงดังนั้น จึงเป็นหนึ่งในสัตว์ที่จะควบคุมประชากรสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลได้ [5] อีกทั้งยังเป็นหมึกหายากใกล้สูญพันธุ์ดังนั้นจึงเหมาะอย่างยิ่งในการศึกษาทางวิชาการ เพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม และสงวนรักษาพันธุ์หมึกชนิดนี้ได้ต่อไป[6]


ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของหมึกสายวงฟ้าใต้ แก้

หมึกสายในสกุล Hapalochlaena มีรายงานแล้ว 3 ชนิด ได้แก่ H. maculosa ( Hoyle,1883 ) , H. lanulata (Quoy & Gaimard, 1832), H. fasciata ( Hoyle,1883 ) จากการศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของหมึกสายในกลุ่มต่างๆโดย Michelle T. และคณะ ในปี 2005 พบว่าหมึกสายในสกุลนี้เป็น monophyletic group ทั้งสามชนิด และ H. maculosa, H. fasciata เป็น sister group กัน อีกทั้งหมึกสกุลนี้จะมีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับกลุ่ม O. aegina [7]


การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของหมึกสายวงฟ้าใต้ (Evolutionary adaptation of the Southern blue-ringed octopus) แก้

สารพิษในน้ำลาย แก้

เมื่อเหยื่อผ่านมาหมึกจะใช้แขนจับ ใช้จะงอยปากกัด แล้วปล่อยสารพิษในน้ำลายออกมาทำให้เหยื่อนั้นตายในที่สุด หรือเมื่อรู้สึกว่าถูกคุกคามมันจะเปล่งแสงสีฟ้าเรืองออกมาตามลำตัว จากนั้นจะรี่เข้ากัดผู้คุกคามทันที น้ำลายของมันประกอบด้วยสารพิษ 2 ชนิด คือ Maculotoxin (คล้ายคลึงกับสาร Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้า มีพิษต่อระบบประสาท) และ Hepalotoxin เป็นสารพิษที่ร้ายแรงเท่ากับงูเห่า 20 ตัวมารุมกัด [8] ถ้าคนถูกกัดโดยหมึกตัวเมียที่มีขนาดโตเต็มวัย สมบูรณ์เพศ อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ พิษชนิดนี้ออกต่อฤทธิ์ระบบประสาท โดยจะเข้าไปขัดขวางการสั่งงานของสมองที่จะไปยังกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิต คนที่ถูกพิษจะมีอาการคล้ายเป็นอัมพาต หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำอากาศเข้าสู่ปอดได้ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต ต้นกำเนิดของพิษในน้ำลายเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต่อมน้ำลายของมัน แบคทีเรียดังกล่าวประกอบด้วย Bacillus และ Pseudomonas อีกทั้งพิษ TTX และแบคทีเรียยังพบได้ในไข่ของหมึกอีกด้วย สันนิษฐานว่าเป็นกระบวนการส่งถ่ายความสามารถในการสร้างพิษจากแม่ไปยังลูก พบตั้งแต่แรกเกิดเลยทีเดียว [9]

การอำพรางตัว แก้

หมึกชนิดนี้จะมีการสร้างเม็ดสี (chromatophore) เมื่อมันโดนกระทบกระทั่ง มันก็จะพรางตัวโดยการทำตัวให้แบนและเปลี่ยนสีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ขณะที่หมึกนอนหลับตัวของหมึกจะมีสีอ่อน เมื่อมันรู้สึกว่าถูกคุกคามก็จะเปล่งแสงสีฟ้าเรื่อย ๆ ออกมาตามลำตัว จากนั้นก็จะเข้ากัดผู้คุกคาม [10][11]

การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและการเฝ้าดูแลลูก แก้

เพศเมียจะออกไข่ประมาณ 50 ใบ ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง ในการฟักไข่แต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 3-6 เดือน แม่หมึกจะคอยเฝ้าไข่จนกระทั่งฟักโดยแม่จะไม่ออกหาอาหารเลย เนื่องจากกลัวว่าถ้าไปหาอาหารอันตรายจะเกิดขึ้นแก่ลูก อีกทั้งถึงแม้จะมีอาหารมายังบริเวณที่มันอยู่มันก็จะไม่ยอมกินเพราะกลัวว่าเศษอาหารที่ตกค้างจะส่งผลต่อไข่ หลังจากนั้นแม่หมึกก็จะตาย ลูกหมึกก็จะเจริญเติบโตต่อไปจนเข้าวัยผสมพันธุ์ รูปแบบการดูแลลูกนี้นับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ลูกหมึกที่ฟักออกจากไข่อยู่รอดเกือบ 100 % [12]

References แก้

  1. จาก itis.gov
  2. Carpenter, E.K. and Niem, H.V. 1998. THE LIVING MARINE RESOURCES OF THE WESTERN CENTRAL PACIFIC Volume 2. Cephalopods, crustaceans, holothurians and sharks . FOOD AND AGRICULTURE ORGANIZATION OF THE UNITED NATIONS ( FAO ), Rome, Italy, pp. 1396
  3. Nesis, K.N. 1987. Cephalopods of the world. T.F.H. Publications, Inc., Ltd., 351 p.
  4. เจิดจินดา โชติยะปุตตะ ทาคาชิ โอคุตานิ และ สมนึก ใช้เทียมวงศ์ 2535. การศึกษาชนิดของหมึกในประเทศไทย. รายงานเสนอคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตามโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ JSPS-NRCT. 100 หน้า
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2013-09-25.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-25.
  7. Michelle T. G.,Mark D.N.,Ross H. C.(2005) Molecular phylogeny of the benthic shallow-water octopuses (Cephalopoda: Octopodinae). Molecular Phylogenetics and Evolution 37 (17) 235–248 . doi: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1055790305001831
  8. http://www.fisheries.go.th/dof_thai/news/blue-ring.html[ลิงก์เสีย]
  9. http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUwTURRMU13PT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1DMHdOQzB4TkE9PQ==[ลิงก์เสีย]
  10. http://chm-thai.onep.go.th/chm/alien/document/News/bluering.pdf[ลิงก์เสีย]
  11. http://www.youtube.com/watch?v=dJg58MNICHk
  12. http://chm-thai.onep.go.th/chm/alien/document/News/bluering.pdf[ลิงก์เสีย]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hapalochlaena maculosa ที่วิกิสปีชีส์