หมีสีน้ำตาล
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.5–0Ma
สมัยไพลสโตซีนตอนกลาง–สมัยโฮโลซีน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Ursidae
สกุล: Ursus
สปีชีส์: U.  arctos
ชื่อทวินาม
Ursus arctos
Linnaeus, 1758
ชนิดย่อย[2]
*Ursus arctos alascensis Merriam, 1896
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

หมีสีน้ำตาล (อังกฤษ: brown bear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ursus arctos) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง

จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่มาก โดยตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย เมื่อยืน 4 เท้ามีความสูงถึง 5 ฟุต และเมื่อยืนด้วย 2 เท้า อาจสูงถึง 9 ฟุต แต่ยืนได้ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักมากถึง 1,000 ปอนด์ ส่วนตัวเมียอาจมีน้ำหนักมากกว่า 450 ปอนด์

มีขนสีน้ำตาลตลอดทั้งลำตัว อันเป็นที่มาของชื่อ มีปุ่มหรือเนินตรงหัวไหล่ ขนและเล็บยาว มีจมูกที่ใหญ่ แต่มีใบหูขนาดเล็ก

แต่จะมีขนสีเข้มหรืออ่อนไปตามสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่อาศัย รวมถึงขนาดตัวด้วย ซึ่งถือเป็นชนิดย่อย (ดูในตาราง) โดยกระจายพันธุ์ไปในพื้นที่ ๆ กว้างไกลมาก ตั้งแต่อะแลสกา, แคนาดา, รัสเซีย, หลายพื้นที่ในยุโรป และตามแนวเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย, เนปาล และจีน และตะวันออกกลาง

หมีสีน้ำตาลกินอาหารได้หลากหลายมาก ทั้งพืชและสัตว์ โดยหากเป็นพืชมักจะเป็นผลไม้ประเภทเบอร์รี่ บางครั้งกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง หรือ หนู แต่บางครั้งก็กินสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า, วัวป่า, กวาง รวมถึงซากสัตว์ ในช่วงฤดูกาลที่มีอาหารสมบูรณ์ อาหารที่หมีสีน้ำตาลชอบมาก คือ ปลาแซลมอน และปลาเทราต์

หมีสีน้ำตาลตัวเมียต้องมีอายุ 4 ถึง 10 ปี จึงจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และให้กำเนิดลูกโดยเฉลี่ย 2 ตัว ในระยะเวลา 4 ปี ฤดูกาลผสมพันธุ์อยู่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน แม่หมีจะให้กำเนิดลูกในช่วงเดือนมกราคมมีนาคม ปกติ 2–3 ตัว โดยลูกหมีที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และยังไม่มีขน ลูกหมีจะอาศัยอยู่ในถ้ำที่แม่หมีขุดขึ้นมาจนกระทั่งถึงเดือนเมษายน หรืออาจถึงเดือนมิถุนายน และเริ่มหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5 เดือน และเริ่มเรียนรู้ว่า พืชหรือสัตว์ประเภทไหนที่ใช้เป็นอาหาร ลูกหมีจะอยู่กับแม่อย่างน้อยอีก 1 ปี หรือมากกว่านั้น จากนั้นจึงเริ่มแยกตัวออกไป ส่วนในฤดูหนาว หมีสีน้ำตาลจะจำศีลในถ้ำเป็นระยะเวลาราว 2 เดือน โดยใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมไว้[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. McLellan, B.N.; Proctor, M.F.; Huber, D.; Michel, S. (2017). "Ursus arctos". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2017: e.T41688A121229971. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T41688A121229971.en.
  2. Ursus arctos Linnaeus, 1758. (ภาษาอังกฤษ) itis.gov.
  3. Kingsley, M. C. S.; Nagy, J. A.; Russell, R. H. (1983). "Patterns of weight gain and loss for grizzly bears in northern Canada". Bears: Their Biology and Management. 5: 174–178. doi:10.2307/3872535. JSTOR 3872535. S2CID 90555276.
  4. Hissa, R.; Hohtola, E.; Tuomala-Saramäki, T.; Laine, T. (1998). "Seasonal changes in fatty acids and leptin contents in the plasma of the European brown bear (Ursus arctos arctos)". Annales Zoologici Fennici. 35 (#4): 215–224. JSTOR 23735612.

บรรณานุกรม แก้

  • Heptner V.G.; Sludskii, A.A. (1992). Mammals of the Soviet Union, Volume II, Part 2. Leiden u.a.: Brill. ISBN 978-90-04-08876-4.
  • Vaisfeld, M.A. and Chestin I. E., บ.ก. (1993). Bears: Brown Bear, Polar Bear, Asian Black Bear. Distribution, ecology, use and protection (ภาษารัสเซีย และ อังกฤษ). Moscow: Nauka. ISBN 978-5020035676.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้