หมั่นโถว

อาหารจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งนึ่ง

หมั่นโถว (จีนตัวย่อ: 馒头; จีนตัวเต็ม: 饅頭; พินอิน: mántóu ออกเสียง หมานโถว) เป็นขนมแป้งนึ่งชนิดหนึ่งที่มีสีขาวและมีสัมผัสอ่อนนุ่ม นิยมรับประทานในภาคเหนือของประเทศจีน[1] นิรุกติศาสตร์พื้นบ้านเชื่อมโยงชื่อหมั่นโถวเข้ากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับจูกัดเหลียง[1]

หมั่นโถว
หมั่นโถวสีขาว
ประเภทขนมปัง, ติ่มซำ
แหล่งกำเนิดจีน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ส่วนผสมหลักแป้งสาลี, น้ำ, สารช่วยขึ้นฟู
หมั่นโถว
อักษรจีนตัวเต็ม饅頭
อักษรจีนตัวย่อ馒头
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม麵頭
อักษรจีนตัวย่อ面头

ลักษณะ แก้

หมั่นโถวนิยมรับประทานเป็นอาหารหลักในภาคเหนือของประเทศจีนที่ซึ่งมีการเพาะปลูกข้าวสาลีมากกว่าข้าว หมั่นโถวทำจากข้าวสาลี น้ำ และสารช่วยขึ้นฟู หมั่นโถวมีขนาดตั้งแต่ 4 เซนติเมตร (1.6 นิ้ว) ซึ่งมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มในภัตตาคารที่หรูหราที่สุด ไปจนถึงขนาดมากกว่า 15 เซนติเมตร (5.9 นิ้ว) ซึ่งมีเนื้อสัมผัสที่แน่นสำหรับเป็นอาหารกลางวันของผู้ชายวัยทำงาน ในช่วงหนึ่งหมั่นโถวสีขาวมีราคาแพงมาก ถือเป็นอาหารหรูหราในประเทศจีนยุคก่อนอุตสาหกรรม เพราะเวลานั้นแป้งประกอบอาหารใช้กระบวนการผลิตมากมีต้นทุนสูง

หมั่นโถง ปิ่ง และบะหมี่เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหลักของอาหารจีนภาคเหนือ คล้ายกับข้าวที่เป็นอาหารหลักของจีนภาคใต้ หมั่นโถวนั้นเป็นที่รู้จักในภาคใต้ แต่มักจำหน่ายในฐานะอาหารข้างถนนหรืออาหารในภัตตาคารมากกว่าจะเป็นอาหารหลักหรืออาหารทำที่บ้าน หมั่นโถวในภัตตาคารมักมีขนาดเล็กกว่าและประณีตกว่า และสามารถดัดแปลงเพิ่มเติมได้ เช่นโดยการทอดและจุ่มในนมข้นหวาน อาจเพิ่มเติมสีและ/หรือรสชาติด้วยส่วนผสมอื่น ๆ ตั้งแต่น้ำตาลทรายแดงไปจนถึงสีผสมอาหารในการปรุงหมั่นโถว บางครั้งในโอกาสพิเศษมีการปรุงหมั่นโถวโดยการทำเป็นรูปร่างต่าง ๆ ในมณฑลชานซี ฉ่านซี และชานตง

หมั่นโถวกึ่งสำเร็จรูปมีจำหน่ายทั่วไปในส่วนอาหารแช่แข็งของซูเปอร์มาเก็ตในเอเชีย พร้อมสำหรับการเตรียมโดยการนึ่งหรือให้ความร้อนในเตาอบไมโครเวฟ

ซาลาเปาหรือเปาจึ (包子) เป็นอาหารที่คล้ายคลึงกับหมั่นโถวแต่มีไส้เค็มหรือไส้หวานอยู่ข้างใน[2] หมั่นโถวเป็นคำที่เก่าแก่กว่า ในบางภูมิภาค เช่นภูมิภาคเจียงหนานและเกาหลี คำว่า หมั่นโถว (หรือคำอ่านในภาษาท้องถิ่นที่เทียบเท่า) สามารถใช้ระบุถึงขนมแป้งนึ่งทั้งที่มีไส้และไม่มีไส้ ในประเทศญี่ปุ่น คำอ่านท้องถิ่นที่เทียบเท่ากับคำว่าหมั่นโถวในภาษาจีนคือคำว่ามันจู ซึ่งใช้หมายถึงเฉพาะขนมแป้งนึ่งที่มีไส้

นิรุกติศาสตร์และประวัติศาสตร์ แก้

 
หมั่นโถวทอด หรือ "หมั่นโถวเงินทอง" เป็นอาหารหวานของจีนที่เป็นที่นิยม เสิร์ฟพร้อมกับนมข้นหวาน

หมั่นโถวอาจมีต้นกำเนิดจากรัฐฉินในยุคราชวงศ์โจวในสมัยของฉินเจาเซียงหฺวาง (307 – 250 ปีก่อนคริตกาล)[3] หมั่นโถวรวมถึงอาหารที่ทำจากข้าวสาลีอื่น ๆ อย่างก๋วยเตี๋ยว แป้งทอด และซาลาเปากลายมาเป็นที่นิยมในยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 206) และเป็นที่รู้จักในชื่อเรียกรวมกันว่า ปิ่ง (; bǐng) หมั่นโถวถูกเรียกว่าเจิงปิ่ง (蒸餅; zhēngbǐng) หรือหลงปิ่ง (籠餅; lóngbǐng)[4] ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265–316) ชู่ ซี (束皙) เขียนเกี่ยวกับเจิงปิ่ง (蒸餅; zhēngbǐng) ในบทกวี "ถางปิ่งฟู่" (湯餅賦; tāngbǐngfù) ที่เขียนเมื่อราวปี ค.ศ. 300 ชู่ ซีเป็นคนแรกที่เรียกเจิงปิ่งว่าม่านโถว (曼頭; màntóu) ในบทกวีนี้มีการแนะนำให้กินเจิงปิ่งหรือม่านโถวในงานเลี้ยงในช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ[5]

เชื่อกันว่าชาวมองโกลได้นำหมั่นโถวแบบที่มีไส้ (ซาลาเปาหรือเปาจี) ไปเผยแพร่ในหลายประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเมื่อช่วงต้นยุคราชวงศ์หยวนในศตวรรษที่ 13 คำว่าหมั่นโถวกลายเป็นรากศัพท์ของคำว่า manty และ mantı ซึ่งเป็นเกี๊ยวใส่ไส้ในอาหารตุรกี[6]และอาหารอุซเบกิสถาน[7] (mantu)[8]

คติชาวบ้าน แก้

ตำนานของจีนยอดนิยมเล่าว่าชื่อหมั่นโถว (หมานโถว) แท้จริงแล้วมีที่มาจากคำพ้องเสียงคือคำว่าหมานโถว ที่เขียนว่า 蠻頭 (mántóu) ซึ่งมีความหมายว่า "ศีรษะอนารยชน"

ตำนานเป็นเรื่องราวในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220–280) เมื่อจูกัดเหลียง อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กนำกองทัพจ๊กก๊กทำศึกกับกองกำลังของชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ในดินแดนทางใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณมณฑลยูนนานของประเทศจีนและทางเหนือของประเทศพม่า

หลังจากปราบเบ้งเฮ็กผู้เป็นมันอ๋อง (蠻王 หมานหวาง) หรือกษัตริย์ของชนเผ่าลำมันให้สวามิภักดิ์ จูกัดเหลียงก็นำทัพกลับจ๊กก๊ก แต่ระหว่างทางมาถึงริมแม่น้ำลกซุย (瀘水 หลูฉุ่ย) ที่ไหลเชี่ยวกรากยากจะข้ามไปได้ คนท้องถิ่นบอกจูกัดเหลียงว่าในสมัยก่อน ชนเผ่าลำมันจะสังเวยมนุษย์ผู้ชาย 49 คน ตัดศีรษะโยนลงไปในแม่น้ำเพื่อทำให้วิญญาณในแม่น้ำสงบลงและยอมให้ข้ามแม่น้ำได้ แต่จูกัดเหลียงไม่ต้องการเข่นฆ่าคนเพิ่มอีก จึงสั่งให้ฆ่าวัวและม้าที่ทัพจ๊กก๊กนำมาด้วย ยัดเนื้อลงในก้อนแป้งสาลีที่ปั้นเป็นรูปคล้ายศีรษะมนุษย์ (ลักษณะกลมและส่วนก้นแบน) จากนั้นนำมานึ่งแล้วโยนขนมแป้งนึ่งเหล่านั้นลงในแม่น้ำ แม่น้ำก็กลับมาสงบ หลังจากข้ามแม่น้ำมาได้ จูกัดเหลียงจึงต้องชื่อขนมแป้งนึ่งนี้ว่า หมานโถว (mántóu, 蠻頭, ซึ่งพัฒนาเป็นอักษรว่า 饅頭 ในปัจจุบัน) ซึ่งมีความหมายว่า "ศีรษะอนารยชน"[9] มีเรื่องเล่าอีกแบบหนึ่งย้อนไปถึงการยกทัพบุกใต้ของจูกัดเหลียง เมื่อจูกัดเหลียงสั่งให้ทหารที่ล้มป่วยด้วยโรคท้องร่วงและโรคอื่น ๆ ที่ระบาดในพื้นที่หนองน้ำให้รับประทานขนมแป้งนึ่งที่ยัดไส้เนื้อหรือไส้หวาน[10]

ความหลากหลายของความหมายนอกภาคเหนือของจีน แก้

 
หมั่นโถวรูปลูกท้อที่มีไส้ถั่วแดงกวน พบในภัตตาคารอาหารจีนในประเทศญี่ปุ่น

ก่อนยุคราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960–1279) คำว่าหมั่นโถวมีความหมายถึงขนมแป้งนึ่งทั้งที่มีไส้และไม่มีไส้[11] คำว่าเปาจึ (包子) เกิดขึ้นในยุคราชวงศ์ซ่งเพื่อใช้ระบุถึงเฉพาะขนมแป้งนึ่งที่มีไส้[12] เป็นผลให้คำว่าหมั่นโถวค่อย ๆ กลายเป็นคำที่ใช้ระบุถึงเฉพาะขนมแป้งนึ่งที่ไม่มีไส้ในภาษาจีนกลางและบางภาษาถิ่นของจีน

อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่คำว่าหมั่นโถวยังคงมีความหมายถึงขนมแป้งนึ่งที่มีไส้อยู่ ในภูมิภาคเจียงหนานที่พูดภาษาอู๋ คำว่าหมั่นโถวมักหมายถึงทั้งขนมแป้งนึ่งที่มีไส้และไม่มีไส้ ในมณฑลชานซีที่พูดภาษาจิ้น ขนมแป้งนึ่งที่ไม่มีไส้มักเรียกว่า หมัวหมัว (饃饃) ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรที่มีความหมายว่า "ขนมแป้งนึ่ง" ชื่อหมัวหมัวแพร่หลายในทิเบตและเนปาล และปัจจุบันมักใช้หมายถึงขนมแป้งนึ่งหรือเกี๊ยวที่มีไส้[13]

ชื่อหมั่นโถวเป็นรากศัพท์ของคำว่า manty และ mantı ซึ่งเป็นเกี๊ยวมีไส้ในอาหารตุรกี[14] อาหารเปอร์เซีย[15] อาหารอุซเบกิสถาน[16] และอาหารปากีสถาน (mantu, มีที่มาจากผู้อพยพชาวมองโกลเชื้อสายเติร์ก)[17] ในประเทศญี่ปุ่น คำว่า มันจู (饅頭) มักใช้หมายถึงขนมแป้งนึ่งที่มีไส้ ซึ่งแบบดั้งเดิมจะมีไส้ถั่วบดหรือไส้เนื้อบดผสมผัก (นิกูมัง 肉まん "มันจูเนื้อ")[18] หมั่นโถวมีไส้เรียกว่า siyopaw ในภาษาฟิลิปปินส์[19] แผลงมาจากคำภาษาจีนว่า เชาเปา () ในประเทศไทยมีหมั่นโถวมีไส้ที่มีคำเรียกว่า ซาลาเปา[20] ในประเทศเกาหลี มันทู (만두; 饅頭)[21] สามารถหมายถึงทั้งซาลาเปาหรือเปาจึ (飽子) และเกี๊ยวซ่าหรือเจี่ยวจึ (餃子) ในอาหารมองโกล buuz และ manty หรือ mantu เป็นเกี๊ยวนึ่ง[22][23] อาหารนึ่งนี้กล่าวกันว่าเป็นต้นกำเนิดของมันทูในเกาหลี[24] ในประเทศสิงคโปร์แลมาเลเซีย ปูผัดพริกมักเสิร์ฟพร้อมกับหมันโถวทอด[25][26][27] ในประเทศนาอูรูและประเทศปาปัวนิวกินี หมั่นโถวรู้จักในชื่อว่า mãju

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Graves, Helen (2 October 2013). "Chinese food and drink: Pork belly mantou – recipe". TheGuardian.com. Guardian News & Media LLC. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  2. Hsiung, Deh-Ta (2002). The Chinese Kitchen: A Book of Essential Ingredients with Over 200 Easy and Authentic Recipes. New York, New York: MacMillan. p. 33. ISBN 9780312288945.
  3. Jina (2006-05-24). "Mán tóu dí lì shǐ" 馒头的历史 [History of Mantou]. 中国国学网 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2007. สืบค้นเมื่อ April 25, 2018. 《事物绀珠》说,相传"秦昭王作蒸饼"。{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Jina (2006-05-24). "Mán tóu dí lì shǐ" 馒头的历史 [History of Mantou]. 中国国学网 (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 2, 2007. สืบค้นเมื่อ April 25, 2018. 自汉代开始有了磨之后,人们吃面食就方便多了,并逐渐在北方普及,继而传到南方。中国古代的面食品种,通称为"饼"。据《名义考》,古代凡以麦面为食,皆谓之"饼"。以火炕,称"炉饼",即今之"烧饼",以水沦,称"汤饼"(或煮饼),即今之切面、面条:蒸而食者,称"蒸饼"(或笼饼),即今之馒头、包子:绳而食者,称"环饼"(或寒具),即今之馓子。{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. 三春之初,陰陽交際,寒氣既消,〈《北堂書鈔》卷一百四十四「消」作「除」。〉溫不至熱。

    — 束皙, 湯餅賦 on Wikisource
  6. Malouf, Greg and Lucy (2008). Turquoise: A Chef's Travels in Turkey. San Francisco: Chronicle Books. p. 244. ISBN 9780811866033.
  7. Rishi, Inderjeet (2012). Super Snacks: 100 Favorite Snacks from Five Continents. Trafford Publishing. p. 173. ISBN 9781466963559.
  8. Brown, Lindsay; Clammer, Paul; Cocks, Rodney (2008). Pakistan and the Karakoram Highway. Lonely Planet. p. 198. ISBN 9781741045420.
  9. Bates, Roy (2008). 29 Chinese Mysteries. Lulu.com. pp. 103–104. ISBN 9780557006199.
  10. Lee, Keekok (2008). Warp and Weft, Chinese Language and Culture. Strategic Book Publishing. p. 86. ISBN 9781606932476.
  11. cf Zhuge Liang tale; also "Shǐ huà " mán tóu " hé " bāo zǐ " yóu lái" 史話“饅頭”和“包子”由來 (ภาษาจีน).
  12. "Shǐ huà " mán tóu " hé " bāo zǐ " yóu lái" 史話“饅頭”和“包子”由來 (ภาษาจีน).
  13. Gordon, Stewart (2009). When Asia Was the World: Traveling Merchants, Scholars, Warriors, and Monks Who Created the "Riches of the "East" (Reprint ed.). Da Capo Press. p. 13. ISBN 978-0306817397.
  14. Malouf, Greg and Lucy (2008). Turquoise: A Chef's Travels in Turkey. San Francisco: Chronicle Books. p. 244. ISBN 9780811866033.
  15. Civitello, Linda (2007). Cuisine and Culture: A History of Food and People. John Wiley & Sons. p. 89. ISBN 9780471741725.
  16. Rishi, Inderjeet (2012). Super Snacks: 100 Favorite Snacks from Five Continents. Trafford Publishing. p. 173. ISBN 9781466963559.
  17. Brown, Lindsay; Clammer, Paul; Cocks, Rodney (2008). Pakistan and the Karakoram Highway. Lonely Planet. p. 198. ISBN 9781741045420.
  18. The East, Volumes 30-31. Tokyo: East Publications. 1994. p. 9.
  19. Eggs, Malcolm; Emina, Seb (2013). The Breakfast Bible. Bloomsbury Publishing. ISBN 9781408839904.
  20. Sukphisit, Suthon (1997). The vanishing face of Thailand: folk arts and folk culture. Post Books. p. 155. ISBN 9789742020279.
  21. Wong, Lee Anne (2014). Dumplings All Day Wong: A Cookbook of Asian Delights From a Top Chef. New York, New York: Macmillan. p. 51. ISBN 9781624140594.
  22. Bloom, Greg; Clammer, Paul; Kohn, Michael (2010). Central Asia. Lonely Planet. p. 86. ISBN 9781741791488.
  23. Mezhenina, Tatiana. "Close-up buryat, mongolian or chinese traditional buuz, buuza,." 123RF (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-01-12. Stock Photo - Close-up buryat, mongolian or chinese traditional buuz, buuza, baozi. Asian steamed food made of dough and meat.
  24. Pettid, Michael J. (2008). Korean Cuisine: An Illustrated History. Reaktion Books. p. 98. ISBN 9781861893482.
  25. Tan, Jeanette (28 October 2014). "Chilli crab, mantou wow MasterChef Australia's George Calombaris in Singapore". Yahoo Asia Pacific Pte. Ltd. Yahoo Entertainment, Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2014. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  26. Ting, Deanna (12 December 2012). "5 Can't-Miss Singapore Dining Experiences". Successful Meetings. Northstar Travel Media LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2015. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  27. Sietsema, Robert (7 August 2012). "Chili Crab Dip With Mantou From Masak, Dish #71". Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.