หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์

หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีการร่วมมือระหว่างไชโยภาพยนตร์ ของไทย โดยสมโพธิ แสงเดือนฉาย และสึบูรายะพรอดักชันส์ ของญี่ปุ่น เข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 และได้กลับนำถูกฉายใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2544 โดยได้ปรับปรุงส่วนเสียงพากย์และดนตรีประกอบเข้ามาใหม่

หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์
กำกับพีรศิษฏ์
โชเฮอิ โทโจ
เขียนบทป.พิมล
บุงโค วากาสุกิ
อำนวยการสร้างสมโพธิ แสงเดือนฉาย
นักแสดงนำยอดชาย เมฆสุวรรณ
ภาวนา ชนะจิต
สีเผือก
ศรีสุริยา
พันธ์ ไชโย
กำกับภาพมา จินดา (โทชิยูกิ มาจิดะ)
ผู้จัดจำหน่ายไชโยภาพยนตร์
สึบุรายะโปรดักชั่น
วันฉายไทย 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ญี่ปุ่น 17 มีนาคม พ.ศ. 2522
ประเทศ ไทย
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภาษาไทย
ทุนสร้าง120,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ก่อนหน้านี้ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ (2517)
ต่อจากนี้หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (2518)
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

ในประเทศญี่ปุ่นก็ได้ถูกฉายในชื่อว่า 6 พี่น้องอุลตร้า VS กองทัพสัตว์ประหลาด (ญี่ปุ่น: ウルトラ6兄弟VS怪獣軍団โรมาจิUrutora Roku Kyōdai tai Kaijū Gundan) เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)

ภาพรวม แก้

การสร้าง แก้

หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เกิดขึ้นจากการที่เอจิ สึบุระยะ ผู้ก่อตั้งบริษัทสึบุรายะโปรดักชั่น จำกัด ถึงแก่กรรมไป และได้ทิ้งหนี้สินไว้ให้แก่บริษัทเป็นจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้บริหารและประธานของสึบุรายะโปรดักชันในขณะนั้นคือ โนโบรุ สึบุรายะ บุตรชายของเอย์จิ ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อขอพบกับสมโพธิ ซึ่งเคยร่วมงานกันมาก่อน เพื่อขอความช่วยเหลือ ในตอนแรกสมโพธิเสนอที่จะให้เงินช่วยเหลือ แต่ทางโนโบรุได้ปฏิเสธ ก่อนที่จะตกลงสร้างภาพยนตร์ชุดนี้ด้วยกัน ทั้งหมด 2 เรื่อง โดยเรื่องก่อนหน้านั้น คือ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ ในปีเดียวกัน แต่เข้าฉายในช่วงต้นปี[1]

การตอบรับ แก้

ภาพยนตร์เข้าฉายในประเทศไทย รับช่วงปิดเทอมปลายปี ได้รับความนิยมอย่างมากทำรายได้เพียง 7 วัน 1 ล้านบาท โดยเข้าฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงเพียงที่เดียว เฉพาะ 2 วันแรก ก็ทำรายได้กว่า 3 แสนบาทแล้ว โดยมีหุ่นจำลองขนาดใหญ่ของหนุมานตั้งแสดงอยู่หน้าโรง[1]

ในต่างประเทศ รัน รัน ชอว์ ประธานบริษัทชอว์บราเดอร์ส แห่งฮ่องกง ได้เดินทางมายังประเทศไทยด้วยตนเอง เพื่อติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายยังต่างประเทศ ด้วยราคา 120,000 ดอลลาร์สหรัฐ กับลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นเวลา 7 ปี โดยทำการลงนามเซ็นสัญญากันที่โรงแรมดุสิตธานี[1][2] เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นทำรายได้ถึง 70 ล้านบาท[1]

แต่ขณะที่เข้าฉาย ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาจาก รังสฤษดิ์ เชาวน์ศิริ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ว่าไม่เหมาะสม ที่จะนำหนุมานซึ่งเป็นตัวละครเอกในวรรณคดีไทย มาพบกับอุลตร้าแมน ซึ่งเป็นซูเปอร์ฮีโร่ในวัฒนธรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่น แต่ทว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลเชิดชูวัฒนธรรมของเอเชีย ในงานประกวดภาพยนตร์เอเชียที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[3]

ต่อมา หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ 25 เรื่อง ที่กระทรวงวัฒนธรรม เลือกให้เป็นมรดกของชาติ เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย ประจำปี 2555 [4]

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ได้มีคำพิพากษาว่าให้ภาพยนตร์เรื่องนี้และเรื่องอื่นๆ ที่ผลิตโดยไชโยภาพยนตร์ (ไชโยโปรดักชัน) ถูกตกเป็นของบริษัทสึบุรายะ โปรดักชันเพียงผู้เดียว[5]

เนื้อเรื่องย่อ แก้

เป็นเรื่องราวของเด็กชายโก๊ะที่ถูกโจรที่ขโมยตัดเศียรพระยิงตาย จนเจ้าแม่อุลตร้าเห็นความดีของโก๊ะ จึงเรียกวิญญาณของหนุมานเพื่อให้เป็นร่างที่อาศัยอยู่ของหนุมาน ต่อมาในวันหนึ่ง การทดลองจรวดของดร.วิสุทธิ์ เกิดการผิดพลาดจนทำให้สัตว์ประหลาด 5 ตัวอาละวาดจนทำให้หนุมานสู้คนเดียวจนพ่ายแพ้ เหล่าพี่น้องอุลตร้าทั้งหกต้องไปช่วยจนชนะเหล่าสัตว์ประหลาดได้[6]

ตัวละคร แก้

โก๊ะ
อนันต์
ดร. วิสุทธิ์
มาริษา
ศรีเผือก, ศรีสุริยา
6 พี่น้องอุลตร้า (โซฟี่, อุลตร้าแมน, อุลตร้าเซเว่น, อุลตร้าแมนแจ็ค, อุลตร้าแมน เอซ, อุลตร้าแมนทาโร่)
เจ้าแม่อุลตร้า

สัตว์ประหลาด แก้

โกโมร่า (古代怪獣ゴモラ)
โดโรบอน (泥棒怪獣ドロボン)
ไทแรนท์ (暴君怪獣タイラント)
แอสโตรมอนส์ (宇宙大怪獣アストロモンス)
ดัสท์แปง (妖怪怪獣ダストパン)
มาจากสัตว์ประหลาดที่มาจากเรื่องมิลเลอร์แมน

เพลงประกอบ แก้

ร้องโดย ซาซากิ อิซาโอะ

หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์ แก้

หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ฉายในช่วงปี พ.ศ. 2527 เป็นการนำ หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ มาฉายใหม่อีกครั้ง โดยเพิ่มฉากของภาพยนตร์ อุลตร้าแมน ZOFFY นักรบอุลตร้า VS กองทัพสัตว์ประหลาด มาตัดต่อใหม่เพิ่มเติม ซึ่งได้เพิ่มตัวละครที่ปรากฏในภาพยนตร์คือ เจ้าพ่ออุลตร้า, อุลตร้าแมนเลโอ, แอสตร้า, อุลตร้าแมนคิง, อุลตร้าแมน 80, ยูเลี่ยน[8]

นอกจากนี้ในประเทศอเมริกาได้ซื้อลิขสิทธิ์ในการฉายในประเทศตัวเองโดยใช้ชื่อว่า SPACE WARRIORS 2000 (The Year of the Monkey Wrench)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ลายกนก ย้อนหลัง 08 พฤศจิกายน 2558 ตอน บันไดชีวิต สมโพธิ แสงเดือนฉาย". เนชั่นทีวี. 8 November 2015. สืบค้นเมื่อ 21 September 2016.
  2. "ลายกนก ย้อนหลัง 15 พฤศจิกายน 2558 ตอน บันไดชีวิต สมโพธิ แสงเดือนฉาย (2)". เนชั่นทีวี. 15 November 2015. สืบค้นเมื่อ 16 November 2015.
  3. "บทสัมภาษณ์คุณสมโพธิ แสงเดือนฉาย เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2550". โอเคเนชั่น. 3 June 2008. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  4. ซิเดอร์ บางนา. มายาประเทศ. เนชั่นสุดสัปดาห์. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1063. วันที่ 12 ตุลาคม 2555. ISSN 15135705. หน้า 35
  5. หวั่นไทยเสียมรดกชาติ! บ.ไชโยฯ ร้อง 2 กระทรวงช่วย หลังแพ้คดีลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ หนุมาน
  7. "(เพลงไตเติ้ล)หนุมาน พบ 7 ยอดมนุษย์ เสียงร้องคุณ ชาย เมือง สิงห์ ใช่ไหมครับ". thai-toku.com. 24 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 November 2015.
  8. "ไฟเขียว "หอภาพยนตร์" รับบริจาคหนัง "หนุมานพบ 11 ยอดมนุษย์" ปลอดภาษี". Isranews. 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้