หนานเยฺว่ (จีน: 南越[1] หรือ 南粤[2]; พินอิน: Nányuè; ยฺหวิดเพ็ง: Naam4 Jyut6; แปลตรงตัว: "เยฺว่ตอนใต้"[3]) หรือ นามเหวียต (เวียดนาม: Nam Việt)[4] เป็นอาณาจักรโบราณที่ปกครองโดยตระกูลเจ้าของจีน[5][6] มีอาณาเขตปกคลุมบริเวณมณฑลทางตอนใต้ของจีน อันได้แก่ กวางตุ้ง,[7] กว่างซี,[7] ไหหลำ,[8] ฮ่องกง,[8] มาเก๊า,[8] ฝูเจี้ยนตอนใต้[9] ไปจนถึงเวียดนามตอนเหนือและกลางในปัจจุบัน[7] หนานเยฺว่ได้รับการก่อตั้งในช่วง 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงการล่มสลายของราชวงศ์ฉินของจีน หนานเยฺว่ได้ถูกก่อตั้งโดย จ้าว ถัว ผู้ปกครองดินแดนทะเลจีนใต้ อาณาเขตของหนานเยฺว่ในช่วงแรกประกอบด้วยหนานไฮ่, กุ้ยหลิน และ เซียง

หนานเยฺว่
นามเซียด
นามเหวียต

南越  (จีน)
Nányuè
204 ปีก่อนคริสตกาล–111 ปีก่อนคริสตกาล
อาณาจักรหนานเยฺว่ในช่วงสูงสุด
อาณาจักรหนานเยฺว่ในช่วงสูงสุด
เมืองหลวงพานยฺหวี
ภาษาทั่วไปจีนเก่า
เยฺว่เก่า
กลุ่มชาติพันธุ์
ชาวจีน
ชาวไป่เยฺว่
ศาสนา
ศาสนาชาวบ้านจีน
เชมันพื้นเมือง
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิหรือพระมหากษัตริย์ 
• 204–137 ปีก่อน ค.ศ.
เจ้า ถัว
• 137–122 ปีก่อน ค.ศ.
เจ้า มั่ว
• 122–113 ปีก่อน ค.ศ.
เจ้า ยิงฉี
• 113–112 ปีก่อน ค.ศ.
เจ้า ซิง
• 112–111 ปีก่อน ค.ศ.
เจ้า เจี้ยนเต๋อ
อัครมหาเสนาบดี 
• 130 ปีก่อน ค.ศ. – 111 ปีก่อน ค.ศ.
ลฺหวี่เจีย
ประวัติศาสตร์ 
• สงครามรวมดินแดนของราชวงศ์ฉิน
218 ปีก่อนคริสตกาล
• สถาปนา
204 ปีก่อนคริสตกาล
• ส่งบรรณาการให้ราชวงศ์ฮั่นครั้งแรก
196 ปีก่อนคริสตกาล
• เจ้า ถัวเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ
183 ปีก่อนคริสตกาล
• การพิชิต Âu Lạc
179 ปีก่อนคริสตกาล
• ส่งบรรณาการให้ราชวงศ์ฮั่นครั้งที่สอง
179 ปีก่อนคริสตกาล
111 ปีก่อนคริสตกาล
ประชากร
• 111 ปีก่อนคริสตกาล
1,302,805
สกุลเงินป้านเหลี่ยง
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ฉิน
Âu Lạc
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
การปกครองเวียดนามของจีนครั้งแรก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
เวียดนาม
หนานเยฺว่
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน南越
ฮั่นยฺหวี่พินอินNányuè
ยฺหวิดเพ็งกวางตุ้งNaam4 Jyut6
ความหมายตามตัวอักษร"เยฺว่ตอนใต้"
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามNam Việt
ฮ้าน-โนม南越
ชื่อภาษาจ้วง
ภาษาจ้วงNamz Yied

ใน 196 ปีก่อนคริสต์ศักราช จ้าว ถัว ได้สวามิภักดิ์ต่อจักรพรรดิฮั่นเกาจู่แห่งราชวงศ์ฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้ถูกเรียกโดยผู้ปกครองชาวจีนฮั่นว่าเป็น "คนรับใช้ชาวต่างชาติ" มีภาพพจน์เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีน ประมาณ 183 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นได้ห่างเหินต่อกันมากขึ้น และ จ้าว ถัวได้เริ่มที่จะสถาปนาอ้างตัวเองว่าเป็นจักรพรรดิอีกทั้งประกาศอาณาจักรหนานเยฺว่เป็นอิสระ ใน 179 ปีก่อนคริสต์ศักราช ความสัมพันธ์ระหว่างหนานเยฺว่และราชวงศ์ฮั่นกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง จ้าว ถัวได้ยอมสวามิภักดิ์ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อราชวงศ์ฮั่นอีกครั้ง ในสมัยของจักรพรรดิฮั่นเหวิน ในฐานะเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮั่นของจีน อย่างไรก็ตามแม้จะมีการส่งบรรณาการและการยอมสวามิภักดิ์ หนานเยฺว่ยังคงมีอิสระและยังคงปกครองตนเองจากชาวจีนฮั่น และจ้าว ถัว ยังอ้างตนเป็น "จักรพรรดิ" แห่งหนานเยฺว่ จนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์ ในช่วง 113 ปีก่อนคริสตกาล ผู้นำ 4 รุ่น แห่งตระกูลจ้าว จ้าว ซิง มีแนวโน้มที่มีใจฝักใฝ่จีนโดยได้พยายามขอให้ราชวงศ์ฮั่นยอมรับหนานเยฺว่เป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการ อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ ลฺหวี่เจีย ได้คัดค้านอย่างรุนแรงและได้สมคบคิดวางแผนกับขุนนางคนอื่นๆทำการลอบสังหารจ้าว ซิง และอัญเชิญพระเชษฐา จ้าว เจี้ยนเต๋อที่มีพระชนม์มากกว่าขึ้นครองราชย์ ลฺวี่เจียได้บับบังคับจ้าว เจี้ยนเต๋อตั้งตนเป็นอิสระแข็งข้อต่อราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเท่ากับเผชิญหน้ากับราชวงศ์ฮั่น ในปีต่อมาจักรพรรดิฮั่นอู่แห่งราชวงศ์ฮั่นได้ส่งกองทัพ 100,000 คน ทำสงครามบุกหนานเยฺว่ จนกระทั่งเมื่อถึงปลายปีเดียวกันนั้น กองทัพราชวงศ์ฮั่นได้บุกยึดและทำลายหนานเยฺว่ลงอย่างราบคาบและสถาปนาเป็นดินแดนของชาวจีนฮั่น ดินแดนหนานเยฺว่ได้สิ้นสุดลงนับแต่บัดนั้น โดยดำรงอยู่ 93 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 5 รุ่น

การก่อตั้งอาณาจักรหนานเยฺว่เกิดมาจากการที่เป็นเมืองหน้าด่านของแคว้นหลิงหนานในระหว่างช่วงความวุ่นวายสับสนระหว่างการล่มสลายของราชวงศ์ฉิน เปิดโอกาสให้แคว้นทางตอนใต้ของจีนได้มีอิสระและหลีกเลี่ยงการปกครองที่กดขี่จากชาวจีนฮั่นที่มาจากแคว้นทางเหนือของจีน อาณาจักรหนานเยฺว่ถูกก่อตั้งโดยผู้นำชาวจีนฮั่นที่มาจากภาคกลางของจีนตอนบนซึ่งนำไปสู่การนำรูปแบบการปกครองแบบเจ้าขุนมูลนายจีน, เทคนิควิธีทางการเกษตร, ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย มาสอนเผยแพร่แก่ชนพื้นเมืองแคว้นทางตอนใต้ อาทิเช่น การรับรู้ภาษาจีนและระบบการเขียนแบบจีน ผู้นำหนานเยฺว่แทบทุกพระองค์สนับสนุนนโยบาย "สามัคคีและรวบรวมชนเผ่าไป่เยฺว่" (จีน: 和集百越) ประกอบกับตัวผู้นำเองมีใจฝักใฝ่จีนโดยมีการเชิญชวนให้ชาวจีนฮั่นผู้เป็นมิตรมาแสวงโชคโดยอพยพจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำหวงโฮทางตอนเหนือเข้ามาอาศัยในดินแดนตอนใต้ พวกเขายังสนับสนุนนโยบาย เปลี่ยนให้เป็นจีน โดยการกลมกลืนระหว่างสองวัฒนธรรมและผู้คน ระหว่างสองวัฒนธรรมจีนฮั่นและวัฒนธรรมพื้นเมืองทางตอนใต้ บ่อยครั้งที่วัฒนธรรมจีนมักจะดูดกลืนวัฒนธรรมของชนพื้นเมือง ผู้นำหนานเยฺว่ ตระกูลจ้าว ยังประกาศใช้วัฒนธรรมจีนและภาษาจีนไปทั่วทั้งดินแดนหนานเยฺว่ แม้ว่าจะมีการรักษาขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของตนเอาไว้ควบคู่กัน[10]

ประวัติ แก้

มีการเขียนบันทึกประวัติของอาณาจักรหนานเยฺว่ไว้อย่างละเอียด คือ บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ โดยนักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ฮั่น ซือหม่า เชียน ประวัติของอาณาจักรแห่งนี้ส่วนใหญ่มีอยู่ในส่วน (จวน)ที่ 113 (จีน: 南越列傳; พินอิน: Nányuè Liè Zhuàn) (บันทึกประชุมพงศาวดารหนานเยฺว่)[11] จากบันทึกนี้พบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ตั้งแต่สมัยการปกครองของจ้าว ถัว ถึงสมัย การปกครองของจ้าว เจี้ยนเต๋อและการล่มสลายของหนานเยฺว่

การก่อตั้ง แก้

การขยายดินแดนทางใต้ของราชวงศ์ฉิน (218 ปีก่อนคริสตกาล) แก้

หลังจาก จักรพรรดิจิ๋นซี ได้รวบรวมอาณาจักรจีนที่แตกแยก 6 อาณาจักร อันได้แก่ หาน, จ้าว, เว่ย, ฉู่, เอี๋ยน, และ ฉี, ในสงครามรวมชาติของจิ๋นซีฮ่องเต้ ต่อมาจิ๋นซีได้เปลี่ยนเป้าหมายความสนใจมาที่ชนเผ่าซฺยงหนูทางทิศเหนือและทิศตะวันตกและชนเผ่าไป่เยฺว่ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนในปัจจุบัน โดยต้อองการรวมดินแดนทั้งสองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชาวจีนฮั่น ประมาณ 218 ก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดิจิ๋นซีในฐานะจักรพรรดิฉินองค์แรกได้ส่งกองกำลังทหารโดยมีแม่ทัพถูซุยคุมกองทัพฉิน จำนวน 500,000 คนเพื่อแบ่งออกเป็นห้าทัพโจมตีเผ่าไป่เยฺว่ในแคว้น หลิงหนาน ทัพแรกได้มารวมพลกันที่ หยูหาน (ในปัจจุบันคือ เขตหยูกาน ใน มณฑลเจียงซี) และเข้าตีพวกชนเผ่าหมิ่นเย่ว์ กองทัพฉินได้ชัยชนะอย่างรวดเร็วและการจัดตั้งกองบัญชาการหมินจง ทัพที่สองได้สร้างป้อมค่ายทหารขึ้นที่หนานเย (เขตหนานคัง ใน มณฑลเจียงซีปัจจุบัน) ป้อมค่ายทหารได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแรงกดดันต่อชนเผ่าทางใต้และพิทักษ์ราชวงศ์ฉิน ทัพที่สามได้ยึดครองเมืองพานยฺหวี ทัพที่สี่ได้มารวมพลกันใกล้ๆกับภูเขาจิ๋วหยี่ และทัพที่ห้าได้มารวมพลกันข้างนอกถันเฉิง (ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลหูหนาน เขตชนบทปกครองตนเองจิงโจว เหมียวและตง) จักรพรรดิจิ๋นซีได้มอบหมายให้ข้าราชการระดับขุนนางนามว่า "ฉือหลู่" เพื่อดูแลการขนส่งลำเลียงอาวุธและเสบียง ฉือหลู่ได้นำทัพผ่าน อุโมงค์หลิง (ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเซียงและแม่น้ำหลีเจียง) เพื่อควบคุมระบบเส้นทางลำเลียง หลังจากนั้นได้สำรวจและสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำไข่มุก เป็นการสร้างระบบเครือข่ายขนส่งทางน้ำเพื่อเพเอ่มความปลอดภัยให้กับการลำเลียงทางทหารของกองทัพฉิน ต่อมากองทัพฉินได้บุกยึด "หุบเขาตะวันตก" (จีน: 西甌) ของเผ่าไป่เยฺว่ กองทัพฉินได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย หัวหน้าชนเผ่าหุบเขา หยี ซู ซ่ง ถูกสังหารในการรบ แต่อย่างไรก็ตามชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฉินและหลบหนีเข้าไปในป่า จากนั้นพวกเขาก็ได้คัดเลือกหัวหน้าเผ่าคนใหม่และรวบรวมกำลังเข้าโจมตีกองทัพฉินอีกครั้ง ชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกได้ทำการโจมตีในเวลากลางคืนโดยที่ฉินไม่ทันตั้งตัวและสังหารทหารฉินไปจำนวนมาก แม่ทัพแห่งฉิน ถูซุย ถูกสังหารในระหว่างการรบ ราชสำนักฉินทราบข่าวถือการสูญเสียอย่างหนักในการรบและทางราชสำนักได้ส่งแม่ทัพคนใหม่นามว่า เจ้าถัว มาบัญชาการรบในฐานะแม่ทัพจีนแห่งกองทัพฉิน ในปี 214 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิจิ๋นซีได้ส่ง เริน เสี่ยว และ เจ้า ถัว มาควบคุมกองทัพในการเสริมการโจมตีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ชนเผ่าไป่เยฺว่แห่งหุบเขาตะวันตกได้ถูกปราบจนพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงและแคว้นหลิงหนานทั้งหมดได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของชาวจีนฮั่น[12][13][14] ในปีเดียวกันนั้นราชสำนักฉินได้สถาปนา หนานไฮ่, กุ้ยหลิน และกองบัญชาการเซียงขึ้น เริน เสี่ยว ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้ว่าปกครองหนานไฮ่ซึ่งต่อมาหนานไฮ่ได้ถูกแบ่งการปกครองออกเป็น พานยฺหวี, หลงชวน, โบหลัว, และ จี่หยาง ส่วน เจ้าถัว ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองหลงชวน

จักรพรรดิจิ๋นซีสิ้นพระชนม์ในปี 210 ก่อนคริสตกาลและพระโอรสของพระองค์ หูไห่ ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิฉินที่ 2 ในปีต่อมาแม่ทัพทหารนำโดย เฉินเสิง, หวูกวงและคนอื่น ๆ ก็ได้ฉวยโอกาสก่อกบฎต่อราชสำนักฉิน การจลาจลแผ่กระจายไปทั่วประเทศจีน (รวมทั้งที่นำโดย ฌ้อปาอ๋อง และ หลิวปัง ทั้งสองผู้ซึ่งภายหลังได้ก่อตั้งราชวงศ์ในอนาคต) ปละทั้งดินแดนลุ่มแม่น้ำเหลืองได้เกิดการจราจลวุ่นวาย ไม่นานหลังจากการจลาจลครั้งแรก ผู้ปกครองแคว้นหนานไฮ่ เริน เสี่ยว ได้ล้มป่วยลงและได้เรียก เจ้า ถัวเพื่อฟังคำแนะนำเพื่อเป็นการสั่งเสีย เรินได้อธิบายถึงการที่แคว้นทางใต้มีชัยภูมิยุทธศาสตร์ดีและแนะนำให้สร้างอาณาจักรขึ้นโดยรวบรวมชาวจีนฮั่นที่ตั้งถื่นฐานอยู่ขึ้นเพื่อซ่องซุมกำลังต่อต้านกบฎที่กำลังจราจลในทางตอนเหนือและฟื้นฟูราชวงศ์ฉิน[15] หลังจากที่เริน เสี่ยวได้สิ้นใจตาย เขาได้แต่งตั้งให้ เจ้า ถัว เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้ปกครองหนานไฮ่คนต่อไป

การให้คำนิยาม แก้

อาณาจักรท้องถิ่นกวางตุ้ง-ฮ่องกง แก้

 
แผนที่รัฐน่านเย่ว์หรือนามเวียด (สีม่วง)
 
แผนที่แสดงบริเวณของชาวไป่เยฺว่ที่ใช้วัฒนธรรมกวางตุ้ง (สีฟ้า)

นักประวัติศาสตร์ชาวจีนและเวียดนามสมัยใหม่ได้พิจารณาอาณาจักรหนานเยฺว่ไว้ว่าเป็น อาณาจักรที่ไม่ใช่อาณาจักรเวียดนามโบราณและเป็นดินแดนไม่ใช่ทั้งชาวจีนฮั่นและชาวเวียด แต่เป็นดินแดนที่เป็นของชนชาติอีกพวกหนึ่งที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมกวางตุ้งที่มีอยู่บริเวณมณฑลกวางตุ้งและฮ่องกงในปัจจุบัน

สมัยสงครามแห่งรัฐแห่งยุคชุนชิว ชัยชนะในสงครามขยายอาณาเขตของจักรพรรดิจิ๋นซีแห่งราชวงศ์ฉินในตอนปลายปี 221 ก่อน ค.ศ. โดยพิชิตแคว้นใหญ่ทั้ง 6 แคว้น ได้แก่ หัน จ้าว เว่ย ฉู่ เอี้ยน และฉี (韩、赵、魏、楚、燕、齐 Han, Zhao, Yan, Wei, Chu and Qi) ในบริเวณแถบชายฝั่งทะเลจีนใต้ ใกล้กับเมือง ซั่งไห่ หรือ เซี่ยงไฮ้ปัจจุบัน มีรัฐเล็ก ๆ เป็นที่อยู่ของชนชาติเย่ว์ (越,Yue) ต่อมาถูกแคว้นฉู่เข้าครอบครองปกครอง

ชนชาติเย่ว์ (越, Yuè; หรือ 粵) สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า "อวก" หรือ "เวียต" ในสำเนียงเวียดนาม (เวียดนาม: Việt) นักประวัติศาสตร์ไม่นับว่าเป็นชาวฮั่น เนื่องจากเป็นชาติพันธุ์ที่รวมกันหลากหลายจึงเรียกว่า ร้อยชาติพันธุ์เย่ว์ (百越,ไป่เย่ว์) กระจายตัวอยู่ใน แถบชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีน และตอนเหนือของเวียดนาม สืบทอดเผ่าพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ตั้งแต่ในมณฑลเจ้อเจียง แตกเป็นพวกเย่ว์ในฝูเจี้ยนที่เรียกว่า หมิ่นเย่ว์ (闽越 Minyue) ที่มณฑลกวางตุ้งเรียกว่า หนานเย่ว์ (南越, Nan Yue)

ฮ่องกงในยุคประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ในยุคสมัยของจักรพรรดิจิ๋นซี รวบรวมแค้วนต่างๆเป็นอาณาจักรจีน แล้วตั้งราชวงศ์ฉินขึ้น ดินแดนที่เป็นเกาะฮ่องกงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกวางตุ้ง ขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติเย่ว์

ในปี 204 ก่อน ค.ศ.หลังจากจักรพรรดิจิ๋นซีสวรรคคต ตอนปลายของราชวงศ์ฉิน อาณาจักรฉินจะล่มสลาย นายทหารกองทัพฉินนามว่า เจ้าถัว (趙佗,Zhào Tuó;) สถาปนาอาณาจักรหนานเย่ว์ (南越, Nan Yue) ขึ้น โดยมี เมืองพั่นหวี (番禺) Pānyú ปัจจุบันคือเมืองพั่นหวี (番禺区) ในมณฑลกวางตุ้งเป็นเมืองหลวง ครอบคลุมอาณาบริเวณตอนเหนือของเวียตนามด้วยในปี 207 ก่อน ค.ศ.

ในช่วงปีที่ 207-137 ก่อน ค.ศ. เจ้าถัว ก็ตั้งราชวงศ์เจ้า หรือ เจี่ยว ในภาษาเวียดนาม (赵,Triệu dynasty) ขึ้น ยกตนเป็นกษัตริย์ ชื่อ จิววูเวือง (Triệu Vũ Vương ใน) สำเนียงเวียตนาม ต่อจากราชวงศ์ถุก (Thục dynasty) ของ กษัตริย์ อาน เซือง เวือง (An Dương Vương)

แม้จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เวียดนาม ชนชาวเวียดนามกลับไม่ยินยอมรับนับถือว่าเจ้าถ้ว เป็นกษัตริย์ของตน เนื่องจากเป็นคนเชื้อชาติจีน ที่มีกองทัพแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ รุกรานราชวงศ์เก่าแก่ดั้งเดิมยุคบรรพกาลของเวียดนาม

ความเกี่ยวข้องเวียดนาม แก้

 
แผนที่ของเวียดนามแสดงอาณาเขตของอาณาจักรหนานเยฺว่ หรือ นามเวียด (Nam Việt) (สีเหลือง)

ในเวียดนามราชวงศ์ผู้ปกครองของอาณาจักรหนานเยฺว่ ในภาษาเวียดนามจะเรียกว่า ราชวงศ์เจี่ยว ตามประวัติศาสตร์เวียดนามที่บันทึกไว้ในพงศาวดารเวียดนาม ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ (大越史記全書, Đại Việt sử ký toàn thư)

เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังจากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซีซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิให้เป็นหนึ่งเดียว โดยได้ยกทัพโดยมี เจี่ยวด่า เป็นแม่ทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของราชวงศ์ถุกที่ปกครองโดย อาน เซือง เวือง ลงได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีนในปัจจุบัน

เจี่ยวด่า หลังจากเอาชัยชนะอาน เซือง เวือง อาณาจักรเอิวหลากถูกรวมเข้ากับราชวงศ์ฉินในฐานะเป็นเมืองขึ้นของจีน จนกระทั่งราชวงศ์ฉินล่มสลาย และมีการสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นมาใหม่แทน เจี่ยวด่าได้ปฏิเสธที่จะสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮั่นและตั้งตนเป็นอิสระ อีกทั้งสร้างรัฐของตน ที่มีนามว่า น่านเย่ว์ ประกาศตัวจักรพรรดิองค์ใหม่ของราชวงศ์จ้าว

นับตั้งแต่หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน จ้าวถัวได้ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือ นามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่า เจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่างๆ ไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้ พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้ง

ที่มาของชื่อประเทศเวียดนาม แก้

ในสมัยราชวงศ์เหงียนหลังจากที่องเชียงสือสถาปนาตนเป็นฮ่องเต้เวียดนามว่า ซาลอง (เวียดนาม: 嘉隆, Gia Long) ในปี ค.ศ.1802 ในปีต่อมา ค.ศ.1803 จักรพรรดิเวียดส่งจิ้มก้องถึงจักรพรรดิเจียชิ่งแห่งราชวงศ์ชิง (嘉慶) พร้อมถวายพระราชสาส์นขอใช้ชื่อประเทศว่า หนานเยว่ (南越) หรือ นามเหวียด ในภาษาเวียดนาม แต่จักรพรรดิจีนไม่อนุมัติชื่อนี้เพราะว่ารัฐหนานเยว่โบราณ หรือในสามก๊กเรียกว่าเมืองลำอวด คือรัฐในดินแดนจีนโบราณในพื้นที่กวางตุ้งและกวางสี จักรพรรดิเวียดจะเอาชื่อรัฐโบราณในอาณาเขตจีนก็ไม่ควร

ในปีต่อมา รัชศกเจียชิ่งที่8 จักรพรรดิเจียชิ่งตั้งชื่อประเทศใหม่ว่า เยว่หนาน (越南) หรือ เหวียดนาม เป็นชื่อประเทศจวบจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นชื่อประเทศเวียดนาม หรือ เหวียดนาม เป็นชื่อที่ฮ่องเต้เจียชิ่งมอบให้

รายพระนามกษัตริย์แห่งหนานเยฺว่ แก้

พระนาม ระยะที่ครองราชย์ ครองราชย์ตั้งแต่ พระนามอื่นๆ
จีน กวางตุ้ง พินอิน จ้วง เวียดนาม จีน กวางตุ้ง พินอิน เวียดนาม
趙佗/趙他 ziu6 taa4 Zhào Tuó Ciuq Doz Triệu Đà 武王 mou5 wong4 Wǔ Wáng Vũ Vương 203–137 BC  
趙眜 ziu6 mut6 Zhào Mò Ciuq Huz Triệu Mạt 文王 man4 wong4 Wén Wáng Văn Vương 137–122 BC 趙胡
趙嬰齊 ziu6 jing1 cai4 Zhào Yīngqí Ciuq Yinghcaez Triệu Anh Tề 明王 ming4 wong4 Míng Wáng Minh Vương 122–113 BC  
趙興 ziu6 hing1 Zhào Xīng Ciuq Hingh Triệu Hưng 哀王 oi1 wong4 Āi Wáng Ai Vương 113–112 BC  
趙建德 ziu6 gin3 dak1 Zhào Jiàndé Ciuq Gendwz Triệu Kiến Đức 陽王 joeng4 wong4 Yáng Wáng Dương Vương 112–111 BC  

วัฒนธรรมหนานเยฺว่ แก้

วัฒนธรรมหนานเยฺว่ได้เกำดจาการผสมผสนาระหว่างวัฒนธรรมจีนฮั่นและวัฒนธรรมเยฺว่หรือกวางตุ้งในรูปแบบที่หลากหลาย โดยปรากฏจากหลักฐานจากซากสิ่งประดิษฐ์โบราณที่ถูกขุดค้นพบโดยนักโบราณคดีจากหลุมฝังศพของกษัตริย์ เจ้ามั่ว ใน กว่างโจว สุสานจักรพรรดิหนานเยฺว่ในกวางโจวมีสมบัติที่แสดงถึงความมั่งคั่งมาก มีสัมฤทธิ์จำนวนมากที่แสดงอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนฮั่นและกวางตุ้ง[16]

แกลเลอรี แก้

หยกที่ขุดจากสุสานจักรพรรดิหนานเยฺว่ แก้


อ้างอิง แก้

  1. 司马迁 (1959). 史记·南越列传(卷113). 北京: 中华书局. pp. 2967–2977.
  2. 班固 (1962). 汉书·西南夷两粤朝鲜传(卷95). 北京: 中华书局. pp. 3837–3863.
  3. "Site of Southern Yue State". United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ August 26, 2019.
  4. Keat Gin Ooi (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 932. ISBN 1-57607-770-5.
  5. Wicks, Robert (2018). Money, Markets, and Trade in Early Southeast Asia: The Development of Indigenous Monetary Systems to AD 1400. p. 27. ISBN 9781501719479.
  6. Walker, Hugh (2012). East Asia: A New History. p. 107. ISBN 9781477265178.
  7. 7.0 7.1 7.2 Yang, Wanxiu; Zhong, Zhuo'an (1996). 廣州簡史. p. 24. ISBN 9787218020853.
  8. 8.0 8.1 8.2 南越国史迹研讨会论文选集. 2005. p. 225. ISBN 9787501017348.
  9. Xie, Xuanjun (2017). 中国的本体、现象、分裂、外延、外扩、回想、前瞻、整合. p. 57. ISBN 9781365677250.
  10. Zhang Rongfang, Huang Miaozhang, Nan Yue Guo Shi, 2nd ed., pp. 418–422
  11. Sima Qian - Records of the Grand Historian, section 113 《史記·南越列傳》
  12. Sima Qian, Records of the Grand Historian, section 112.
  13. Huai Nan Zi, section 18
  14. Zhang & Huang, pp. 26–31.
  15. Taylor (1983), p. 23
  16. Guangzhou Xi Han Nanyue wang mu bo wu guan, Peter Y. K. Lam, Chinese University of Hong Kong. Art Gallery - 1991 - 303 pages - Snippet view [1]

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้