สโมสรฟุตบอลอุดรธานี

สโมสรฟุตบอลอุดรธานี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยเป็นทีมจากจังหวัดอุดรธานี

อุดรธานี เอฟซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลอุดรธานี
ฉายายักษ์แสด
ชื่อย่อUDFC
ก่อตั้ง1999; 25 ปีที่แล้ว (1999)
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดอุดรธานี
ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ความจุ9,000-10,000 คน
เจ้าของบริษัท สโมสรฟุตบอลอุดรธานี เอฟซี จำกัด
ประธานไทย
2565–66ไทยลีก 2, อันดับที่ 18 (ตกชั้น) ลดลง
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

ประวัติสโมสร แก้

ยุคโปรลีก แก้

สมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี ได้รับคำเชิญจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ให้เข้าร่วมทำการแข่งขัน โปรวินเชียลลีก ครั้งแรก ในปี 2542 โดยมี สถาพร โคตรบุตร เป็นประธานสโมสรคนแรก โดยได้เริ่มส่งทีมจังหวัด เข้าร่วมการแข่งขันมาโดยตลอด โดยผลงานที่ดีที่สุดของทีมจังหวัด ซึ่งผลงานดีที่สุดคือการคว้าอันดับที่ 4 ใน ฤดูกาล 2542/2543

ต่อมาในปี 2547 ทางสมาคมกีฬาจังหวัดฯ มีมติไม่ส่งเข้าร่วมการแข่งขันในฤดูกาล 2548 เนื่องจากไม่พอใจที่ทางฝ่ายจัดการแข่งขัน ไม่มีความชัดเจนในระบบการเลื่อนชั้น-ตกชั้น อีกทั้งทีมเองมีปัญหาด้านงบประมาณ

ยุคระบบลีก แก้

ในปี 2552 ได้มีการปรับโครงสร้างลีก ให้เป็นลีกภูมิภาค ทาง สมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี ได้ตัดสินใจส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันอีกครั้ง โดยมี พงศาสตร์ กิจนุกร เป็นประธานสโมสร และ สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมและสามารถจบที่อันดับที่ 3 ของโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำเร็จ

ต่อมาในปี 2554 ทางสโมสร ก็ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม บริษัท สโมสรฟุตบอลอุดรธานี จำกัด และได้แยกการบริหารออกจาก สมาคมกีฬาจังหวัดอุดรธานี เพื่อพัฒนาให้เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเลื่อนชั้นเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล ไทยพรีเมียร์ลีก และ ให้เป็นสโมสรฟุตบอลของจังหวัดอย่างแท้จริง โดยมีประธานสโมสรคือ สุวิทย์​ พิพัฒน์วิไลกุล โดยในช่วงเวลานั้น สโมสรประสบความสำเร็จในการเลื่อนชั้นเข้าร่วมการแข่งขันใน ไทยลีก 2 ได้สำเร็จ โดยในไทยลีก 3 2560 สโมสร ชนะเลิศการเพลย์ออฟเลื่อนชั้นได้สำเร็จ

ต่อมาใน ฤดูกาล 2561 ได้มีการเปลื่ยนแปลงผู้บริหารใหม่ทั้งหมด[1] และได้แต่งตั้ง วัชรพล ขาวขำ ผู้จัดการทีมขึ้นเป็นประธานสโมสร และได้แต่งตั้ง ศราวุธ เพชรพนมพร เป็นประธานที่ปรึกษาสโมสร โดยเป็นผู้บริหารใหม่ทั้งหมด

ในการแข่งขัน ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2565-66 สโมสรจบอันดับที่ 18 ทำให้ตกชั้นต้องลงไปแข่งขันใน ไทยลีก 3 ในฤดูกาลต่อไป แต่ต่อมาทางบริษัท ไทยลีก จำกัดได้แจ้งว่าสโมสรไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่ง ทำให้ต้องลงแข่งเซมิโปรลีกในฤดูกาลต่อมา[2]

รูปแบบชุดแข่งของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ชุดเหย้า แก้

 
 
 
 
 
 
2010
 
 
 
 
 
 
 
2011
 
 
 
 
 
 
2012
 
 
 
 
 
2013
 
 
 
 
 
 
2014 (a)
 
 
 
 
 
 
 
2014 (b)
 
 
 
 
 
 
 
2014 (c)
 
 
 
 
 
 
 
2015
 
 
 
 
 
 
 
2016
 
 
 
 
 
 
 
2017
 
 
 
 
 
 
 
2018

(a) ในปี พ.ศ. 2557 สโมสรได้เปลี่ยนชุดหลังจากแข่งขันไปได้ 10 นัด (b) ใช้หลังจากจบการแข่งขันเลกที่ 1 (c) ใช้ในการแข่งขันเลกที่ 2

ชุดเยือน แก้

 
 
 
 
 
 
 
 
2010
 
 
 
 
 
 
 
2011
 
 
 
 
 
 
2012
 
 
 
 
 
 
2013
 
 
 
 
 
 
2014 (a)
 
 
 
 
 
 
 
 
2014 (b)
 
 
 
 
 
 
 
2014 (c)
 
 
 
 
 
 
 
2015
 
 
 
 
 
 
 
2016
 
 
 
 
 
 
 
2017
 
 
 
 
 
 
2018

(a) ในปี พ.ศ. 2557 สโมสรได้เปลี่ยนชุดหลังจากแข่งขันไปได้ 10 นัด (b) ใช้หลังจากจบการแข่งขันเลกที่ 1 (c) ใช้ในการแข่งขันเลกที่ 2

ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า แก้

 
สนามกีฬาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี
พิกัด ที่ตั้ง สนาม ความจุ ปีที่ใช้
17°24′20″N 102°46′09″E / 17.405522°N 102.769181°E / 17.405522; 102.769181 ถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี (ด้านตะวันตก) สนามกีฬาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี 3,500 2550-2558, 2560-2561
17°23′57″N 102°47′28″E / 17.399168°N 102.791219°E / 17.399168; 102.791219 ถนนทหาร สนามกีฬาใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 8,000 2559
17°26′55″N 102°54′53″E / 17.44870°N 102.914710°E / 17.44870; 102.914710 ถนนสามพร้าว - ดอนกลอย สนามกีฬากลางจังหวัดอุดรธานี 10,000 2562 2564

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ลีก เอฟเอ คัพ ลีก คัพ ผู้ยิงประตูสูงสุด
ระดับลีก แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ จำนวนประตู
2542/43 โปรลีก 22 12 2 8 35 26 38 อันดับ 4 - สมศักดิ์ มีพรหม
สุริยันห์ นะดาบุตร
10
2543/44 โปรลีก 22 10 4 8 35 32 34 อันดับ 5 -
2545 โปรลีก 10 2 1 7 8 19 7 อันดับ 6
(สาย เอ)
- -
25461 โปรลีก 22 7 6 9 25 31 27 อันดับ 8 - -
25471 โปรลีก 18 2 10 6 18 29 16 อันดับ 9 - -
2552 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 10 5 5 45 21 35 อันดับ 3 รอบแรก -
2553 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 12 6 12 39 43 42 อันดับ 7 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน
2554 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 10 9 11 41 46 39 อันดับ 9 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบ 64 ทีมสุดท้าย
2555 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 16 8 6 37 23 56 อันดับ 3 รอบคัดเลือก รอบแรก Ousmanou Mohamadou 15
2556 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 30 18 5 7 53 25 59 รองชนะเลิศ ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบ 8 ทีมสุดท้าย Oyewole Yemi Joseph 15
2557 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 15 5 6 35 16 50 รองชนะเลิศ ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบ 64 ทีมสุดท้าย Tomiwa Bolarinwa 7
2558 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34 21 8 5 78 29 71 อันดับ 3 ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน รอบเพลย์ออฟ ภาคอีสานนัดที่ 2 พร้อมพงษ์ กรานสำโรง 32
2559 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 18 4 4 55 17 58 ชนะเลิศ ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน ณัฐภัทร สมศรี 10
2560 ไทยลีก 3 โซนบน 26 15 7 4 43 18 52 รองชนะเลิศ รอบคัดเลือก ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Valci Júnior 15
2561 ไทยลีก 2 28 9 7 12 33 35 34 อันดับ 6 รอบ 64 ทีม สุดท้าย รอบ 32 ทีม สุดท้าย ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา

สีหนาท สุทธิศักดิ์

3
2562 ไทยลีก 2 34 15 6 13 44 43 51 อันดับ 7 รอบคัดเลือก รอบเพลย์ออฟ บรูนู โกเรอา 18
2563 ไทยลีก 2 34 9 11 14 44 46 38 อันดับ 14 รอบ 64 ทีมสุดท้าย งดจัดการแข่งขัน เจาเปาโล ซาเรส 8
2564–65 ไทยลีก 2 34 13 8 13 53 58 47 อันดับ 8 รอบ 64 ทีม ไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน อาร์โนลด์ ซึว 11
2565–66 ไทยลีก 2 34 6 3 25 31 87 21 อันดับ 18 รอบแรก รอบ 32 ทีมสุดท้าย อาร์โนลด์ ซึว 5

1. แข่งขันในนาม อุดรธานี ไจแอนท์

ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติสโมสร แก้

รายการ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีชนะเลิศ ปีรองชนะเลิศ ผลงานที่ดีที่สุด ปีที่เข้ารอบสูงสุด
โปรวินเชียลลีก 0 0 - - อันดับที่ 4 2542/43
ดิวิชั่น 2
โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1 2 2559 2556, 2557 ชนะเลิศ 2559
ไทยลีก 3 0 1 - 2560 ไทยลีก 3 ตอนบน 2560
ไทยเอฟเอคัพ 0 0 - - รอบแรก 2556
ไทยลีกคัพ 0 0 - - รอบ 8 ทีมสุดท้าย 2556
ภูพานราชนิเวศน์คัพ 7 0 2525, 2531, 2532, 2538, 2539, 2540, 2550 - ชนะเลิศ 2525, 2531, 2532, 2538, 2539, 2540, 2550

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

หัวหน้าผู้ฝึกสอน แก้

ระยะเวลา ชื่อ สัญชาติ
2552 พิทยา สันตะวงศ์   ไทย
มกราคม – เมษายน 2553 วิทยา การธนะภักดี   ไทย
เมษายน 2553 – เมษายน 2554 พิทยา สันตะวงศ์   ไทย
เมษายน – ธันวาคม 2554 วุฒิวัฒน์ แดงเสมอเกียรติ   ไทย
มกราคม – กรกฎาคม 2555 สุพล ยะประภา   ไทย
กรกฎาคม – กันยายน 2555 พัก โน บง   เกาหลีใต้
กันยายน 2555 – มิถุนายน 2557 พิทยา สันตะวงศ์   ไทย
มิถุนายน – ตุลาคม 2557 วุฒิวัฒน์ แดงเสมอเกียรติ   ไทย
ตุลาคม – ธันวาคม 2557 สมเกียรติ ฟองเพชร   ไทย
ธันวาคม 2557 – มีนาคม 2558 วรเดช ภูประไพ   ไทย
มีนาคม – พฤษภาคม 2558 หาญณรงค์ ชุณหคุณากร   ไทย
พฤษภาคม – ธันวาคม 2558 สมเกียรติ ฟองเพชร   ไทย
มกราคม – ตุลาคม 2559[3] โชคทวี พรหมรัตน์   ไทย
มกราคม – ตุลาคม 2560[4] พนิพล เกิดแย้ม   ไทย
พฤศจิกายน[5] – ธันวาคม 2560[6] เฉลิมวุฒิ สง่าพล   ไทย
มกราคม – เมษายน 2561 อุทัย บุญเหมาะ   ไทย
เมษายน – กรกฎาคม 2561 แดร์เรน รีด   อังกฤษ
กรกฎาคม – ตุลาคม 2561 วัชรพงษ์ กล้าหาญ   ไทย
พฤศจิกายน 2561[7] – พฤศจิกายน 2562 พนิพล เกิดแย้ม   ไทย
กรกฎาคม – สิงหาคม 2563 จักราช โทนหงษา   ไทย
สิงหาคม – ธันวาคม 2563 เจษฎา จิตสวัสดิ์   ไทย
ธันวาคม 2563 พนิพล เกิดแย้ม   ไทย
ธันวาคม 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 เยิร์ค สเตนบรุนเนอร์   เยอรมนี
กุมภาพันธ์ – เมษายน 2564 ศิริศักดิ์ ยอดญาติไทย   ไทย
พฤษภาคม – สิงหาคม 2564 เฟอร์นันโด ซาเลส   บราซิล
สิงหาคม – ตุลาคม 2564 ดานีเอล บลังกู   อาร์เจนตินา
ตุลาคม 2564 Hagen Hübner (รักษาการ)   เยอรมนี
พฤศจิกายน 2564 – มกราคม 2565 เยิร์ค สเตนบรุนเนอร์   เยอรมนี
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2565 รอยเตอร์ โมไรร่า   บราซิล
กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2565 เฉลิมวุฒิ สง่าพล[8]   ไทย
มิถุนายน – สิงหาคม 2565 พนิพล เกิดแย้ม   ไทย
กันยายน – ธันวาคม 2565 อักบาร์ นาบาซ   สิงคโปร์
ธันวาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566 มาวี ลอปึช   บราซิล
กุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2566 อักบาร์ นาบาซ   สิงคโปร์

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้