สโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด

สโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา เป็น สโมสรฟุตบอล ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [1] ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับ ไทยลีก 2 โดยใช้ สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสนามเหย้า

สโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มอยุธยา ยูไนเต็ด
ฉายาเรือด่วนสีฟ้า (2016)
นักรบอโยธยา (2017–ปัจจุบัน)
ก่อตั้ง2007; 17 ปีที่แล้ว (2007) (ในชื่อเทศบาลเมืองเสนา)
2016; 8 ปีที่แล้ว (2016) (ในชื่ออยุธยา ยูไนเต็ด)
สนามสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Ground ความจุ5,700
เจ้าของบริษัท อยุธยา ยูไนเต็ด (2015) จำกัด
ประธานอดิศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
ผู้จัดการพิมพฤดา ตันจรารักษ์
ผู้ฝึกสอนแดนนี อินวินซิบิเล ออสเตรเลีย
ลีกไทยลีก 2
2565–66อันดับ 10
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ประวัติ แก้

ยุคสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา แก้

สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2550 โดยเทศบาลเมืองเสนาเพื่อเป็นสโมสรฟุตบอลระดับท้องถิ่นของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระดับสมัครเล่นที่จัดขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค แก้

สโมสรเริ่มส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2550/51 และเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้ให้กับ โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา 3–2 ต่อมาในฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค 2551/52 สโมสรผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายอีกเช่นเคย และแพ้ให้กับ สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองหัวหิน 0–1 ตกรอบไปในที่สุด

การแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ค. ประจำปี 2556 สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา สามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ โดยต้องพบกับ สโมสรฟุตบอลโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา [2] ซึ่งถึงแม้ว่าเทศบาลเมืองเสนาจะเป็นฝ่ายแพ้ไป 4–2 แต่ก็เพียงพอที่จะได้สิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในถ้วย ข. ในปีถัดไป

ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข แก้

ปี พ.ศ. 2557 เทศบาลเมืองเสนา ลงแข่งขันในรายการฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นปีแรก และสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้ให้กับ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกรุงเทพ 2–1[3] ตกรอบไปในที่สุด

ต่อมาในการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2558 สโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา สามารถผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศไปพบกับสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร โดยผู้ชนะจะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศและได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2

ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ สโมสรเป็นฝ่ายแพ้ต่อสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร ไป 2–0 แต่ยังได้รับสิทธิเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 เนื่องจากการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศอีกคู่ระหว่าง โรงเรียนจ่าอากาศ และสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนปากช่อง ถูกคณะกรรมการจัดการแข่งขันปรับตกรอบทั้งสองทีม เนื่องจากใช้ผู้เล่นผิดคุณสมบัติลงแข่งขัน ทำให้สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาครคว้าแชมป์ไปโดยไม่ต้องแข่งนัดชิงชนะเลิศ และสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา ที่แพ้ในรอบรองชนะเลิศ ได้สิทธิเลื่อนชั้นอีกหนึ่งทีม[4]

ยุคสโมสรฟุตบอลอยุธยา ยูไนเต็ด แก้

 
สนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นสนามเหย้าของสโมสรในปัจจุบัน

ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 แก้

หลังจากสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด เพื่อดำเนินกิจการทางฟุตบอลภายใต้ชื่อ บริษัท อยุธยา ยูไนเต็ด (2015) จำกัด และเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น อยุธยา ยูไนเต็ด โดยใช้สนามกีฬาเสนาบดี ตำบลบ้านแพน อำเภอเสนา เป็นสนามเหย้าของสโมสร

สโมสรลงแข่งขันภายใต้ชื่อใหม่อย่างเป็นทางการเป็นนัดแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2นัดที่บุกไปชนะนครสวรรค์ เอฟซี 1–0 ที่สนามกีฬากลางจังหวัดนครสวรรค์ จากลูกโหม่งของ รุ่งโรจน์ สว่างศรี อดีตกองหลังทีมชาติไทย ทำให้เขาถูกบันทึกว่าเป็นผู้เล่นที่ยิงประตูแรกในลีกให้กับสโมสร โดยเมื่อจบฤดูกาลสโมสรสามารถคว้าอันดับที่ 4 ในลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางได้สำเร็จ และได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 3

รวมกับ อยุธยา วอริเออร์ แก้

หลังจบฤดูกาล 2559 แม้สโมสรจะได้เลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งขันในไทยลีก 3 แต่ก็ต้องประสบปัญหาในการยื่นขอใบอนุญาตสโมสรฟุตบอล (Club Licensing) อันเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่ลงแข่งขัน ประกอบกับทาง สโมสรฟุตบอลอยุธยา วอริเออร์ ที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในไทยลีก 3 เช่นเดียวกัน ต้องส่งคืนสิทธิในการลงแข่งขันคืนให้กับ สโมสรฟุตบอลจังหวัดพิจิตร ทั้งสองสโมสรจึงร่วมมือกัน โดยใช้สิทธิของ อยุธยา ยูไนเต็ด

การร่วมมือกันของทั้งสองสโมสร ทำให้มีประธานสโมสร 2 คน โดยมี นิรันดร์ วนิชวรพงษ์ ประธานสโมสรคนเดิมเจ้าของสิทธิ และ อดิศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ประธานคนใหม่ ซึ่งเป็นอดีตประธานสโมสรของ อยุธยา วอริเออร์ โดยมีการเปลี่ยนโลโก้สโมสรรวมถึงสนามเหย้าแห่งใหม่ โดยย้ายสนามเหย้าจากเดิมที่ใช้สนามกีฬาเสนาบดี อำเภอเสนา มาเป็นสนามกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา[5]

ไทยลีก 3 แก้

ไทยลีก 2 แก้

หลังจากพีทีที ระยองในไทยลีกและไทยฮอนด้าในไทยลีก 2 ไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันในฤดูกาล 2563 สมาคมฟุตบอลฯ มีมติให้คงจำนวนทีมในไทยลีกและไทยลีก 2 เป็น 16 และ 18 ทีมตามเดิมเพื่อให้จำนวนทีมเหมาะสมและเอื้อต่อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด ทำให้สุพรรณบุรีที่จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 14 ในไทยลีกยังคงแข่งขันในไทยลีกต่อไป ส่วนราชนาวีที่จบฤดูกาลในอันดับที่ 16 ในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 ยังคงแข่งขันในไทยลีก 2 เช่นกัน ในขณะที่อุบล ยูไนเต็ดซึ่งเป็นสโมสรที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มตกชั้นนั้นไม่ผ่านคลับไลเซนซิงและถูกปรับตกชั้นไปแข่งขันในไทยลีก 4 ทำให้สิทธิ์การแข่งขันในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563 ตกเป็นของอยุธยา ยูไนเต็ด[6][7]

ตราสโมสรและชุดแข่งขัน แก้

ตราสัญลักษณ์ของสโมสรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แก้

ในยุคแรกเริ่มของสโมสรที่ยังแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ในชื่อสโมสรฟุตบอลเทศบาลเมืองเสนา (2550–2558) ได้ใช้ตราสัญลักษณ์ของสโมสรเป็นแบบเดียวกับตราสัญลักษณ์ของเทศบาลเมืองเสนา โดยเป็นรูปพระแม่โพสพถือรวงข้าว ล้อมรอบด้วยกรอบสีเขียว เพื่อสื่อถึงการเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของอำเภอเสนา

 
ตราสโมสรแรกในชื่ออยุธยา ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2559

ต่อมาภายหลังจากที่สโมสรได้เลื่อนชั้นเข้ามาแข่งขันในลีกอาชีพและเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นอยุธยา ยูไนเต็ด ในปี 2559 สโมสรได้เปลี่ยนไปใช้ตราสัญลักษณ์เป็นรูปเรือด่วน เพื่อสื่อถึงการท่องเที่ยวและการเดินทางบนแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านทางเรือโดยสาร อันแสดงถึงความเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และใช้สีฟ้าเป็นสีของชุดทีมเหย้า

 
ตราสโมสรอยุธยา ยูไนเต็ด ตั้งแต่ฤดูกาล 2560–ปัจจุบัน

ในฤดูกาล 2560 สโมสรได้ควบรวมสโมสรฟุตบอลอยุธยา วอริเออร์ ไว้ด้วยกันและเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ของสโมสรให้เป็นแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยตราสโมสรที่ใช้ในปัจจุบันนี้อาศัยเค้าโครงมาจากตราสัญลักษณ์ของสโมสรอยุธยา วอริเออร์ ที่เป็นรูปทหารของอาณาจักรอยุธยากำลังใช้ดาบ สื่อถึงความเป็นนักสู้เช่นทหารในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเปลี่ยนสีชุดเหย้าจากสีฟ้ามาเป็นสีน้ำเงิน

ชุดแข่งที่ใช้และผู้สนับสนุน แก้

ปี ผู้ผลิต ผู้สนับสนุน
(ด้านหน้า/อกเสื้อ)
ผู้สนับสนุน
(ด้านหน้า/ชายเสื้อล่าง)
ผู้สนับสนุน
(ด้านหน้า/มุมบน)
ผู้สนับสนุน
(ด้านหลัง/ชายเสื้อล่าง)
ผู้สนับสนุน
(แขนเสื้อซ้าย)
2558 แกรนด์สปอร์ต   ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
2559 อีโก้ สปอร์ต   น้ำดื่ม รีเจนซี่
ปตท.เสนา
ไม่มี ไม่มี ไม่มี ไม่มี
2560 พีแกน สปอร์ต   กัลฟ์ อบจ.พระนครศรีอยุธยา เบียร์ช้าง หจก.ชลอ การท่องเที่ยว สวนอุตสาหกรรมโรจนะ
2561
2562
2563–64 เบียร์ช้าง กัลฟ์
2564–65 เบียร์ช้าง/
กัลฟ์
บ.เมืองไทยประกันภัย บ.นราวดี กรุ๊ป จำกัด สวนอุตสาหกรรมโรจนะ/
หจก.ชลอ การท่องเที่ยว
2565–66 เบียร์ช้าง/
บ.วงษ์พาณิชย์
กัลฟ์/
เจ็ทส์ ฟิตเนส/
ปุ๋ยเคมี ตรารถเกษตร
บ.เมืองไทยประกันภัย
2566–67 เกลเม   เบียร์ช้าง/
บ.เมืองไทยประกันภัย
กัลฟ์/
เจ็ทส์ ฟิตเนส
เกลเม

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

ณ วันที่ 9 มีนาคม 2567

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   อนุศิษฏ์ เติมมี
2 DF   ณัฐธนนท์ เจริญสิงคีวรรณ (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
3 MF   กฤษณพล บุญชารี (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
5 DF   ยุทธพงษ์ ศรีละคร (กัปตันทีม)
7 MF   กฤษณ์พรหม บุญสาร
8 MF   ณัชชา พรมสมบูรณ์ (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
10 FW   ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
11 MF   พัสกร เบี้ยวทุ่งน้อย (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
16 MF   ชยธร เทพสุวรรณวร (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
17 MF   ภัคพล ไหมหมาด (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
18 GK   ภูวดล พลสงคราม (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
19 MF   มาร์เซล ซีกฮาร์ท (ยืมตัวจาก การท่าเรือ)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
20 MF   ภัคพล บุญช่วย
21 MF   นรากรณ์ แก่งกระโทก (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
26 DF   วรวุฒิ สถาพร
27 GK   ธีรัตม์ นาคชำนาญ
28 MF   นันทวัฒน์ กกฝ้าย (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
29 DF   อัษฎาวุธ ช้างทอง (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
30 DF   ช็อง มย็อง-โอ
31 DF   ชลชาติ ทองจินดา (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
37 FW   ฌูเวา เปาลู ซาเลส
39 MF   จิรายุ เนียมไธสง (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)
49 MF   ณัฐวุฒิ มั่งมี
70 FW   อังเดร ลูอิส เลย์ชี
77 FW   มูซา ซานอห์
93 FW   ชูคิด วรรณประเภา (ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด)

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
88 GK   เจมส์ โอเวน ชานาแฮม (ไป คัสตอม ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)

บุคคลากร แก้

ผู้บริหาร แก้

ตำแหน่ง บุคคล
ประธานสโมสร อดิศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
รองประธานสโมสร ประสิทธิ์ โชคกิจ
ผู้จัดการทีม พิมพฤดา ตันจรารักษ์
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม ชาณัสม์ ฉัตรไชยรัชต์

ทำเนียบผู้ฝึกสอน แก้

ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567
ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ % ชนะ ความสำเร็จ หมายเหตุ
ราชัน สาระคำ   มีนาคม พ.ศ. 2558 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 8 2 4 2 025.0
อภิรักษ์ ศรีอรุณ   11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ธันวาคม พ.ศ. 2559 15 7 3 5 046.7
สมบัติ คงปลิก   ธันวาคม พ.ศ. 2559 30 เมษายน พ.ศ. 2560 12 7 4 1 058.3
อภิรักษ์ ศรีอรุณ (2)   3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 3 2 0 1 066.7 ชั่วคราว
ณรงค์ธนพร เฉยไธสงโชดก   29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 16 8 4 4 050.0
มาซายูกิ มิอุระ   ธันวาคม พ.ศ. 2560 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 30 18 6 6 060.0
สันติ ไชยเผือก   29 สิงหาคม พ.ศ. 2561 17 กันยายน พ.ศ. 2561 2 1 1 0 050.0
  • ชนะรอบเพลย์ออฟ ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2561
  • เลื่อนชั้นขึ้นไทยลีก 2
ชั่วคราวในการแข่งขันไทยลีก 3 รอบเพลย์ออฟ 2 นัด
เฉลิมวุฒิ สง่าพล   13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 25 มีนาคม​ พ.ศ.​ 2562 6 1 1 4 016.7
อนุรักษ์ ศรีเกิด   1​ เมษายน พ.ศ. 2562 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 19 3 6 10 015.8
พัฒฐนพงศ์ ศรีปราโมช   1​ สิงหาคม พ.ศ. 2562 กันยายน พ.ศ. 2562 10 2 1 7 020.0
สันติ ไชยเผือก (2)   ธันวาคม พ.ศ. 2562 1 เมษายน พ.ศ. 2564 34 13 8 13 038.2
เจษฎา จิตสวัสดิ์   สิงหาคม พ.ศ. 2564 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 35 10 11 14 028.6 ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด บี
สันติ ไชยเผือก (3)   13 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 29 15 3 11 051.7
บรูนู มีแกล ฟือร์นังดึช ดา กอชตา เมเนซึช ปึไรรา   16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 11 4 3 4 036.4
แดนนี อินวินซิบิเล   สิงหาคม พ.ศ. 2566 32 14 9 9 043.8 ยืมตัวจาก ทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด

ทำเนียบกัปตันทีม แก้

ลำดับ ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง หมายเลข ตำแหน่ง
1 รุ่งโรจน์ สว่างศรี   ก.พ.2559 เม.ย.2559 6 กองหลัง
2 อานนท์ เมฆฉาย   พ.ค.2559 มิ.ย. 2559 8 กองกลาง
3 ประกิต เพ็ญศรี   มิ.ย.2559 ก.ย.2559 4 กองหลัง
4 สิทธิชัย ไตรศิลป์   ก.พ.2560 ก.ย.2562 30 กองหลัง
5 ดัสกร ทองเหลา   ก.พ.2563 เม.ย. 2564 7 กองกลาง
6 นนทวัฒน์ กลิ่นจำปาศรี​   ก.ย.2564 เม.ย.65 19 กองกลาง
7 จักรพันธ์ พรใส   ส.ค.2565 เม.ย.66 7 กองกลาง
8 ยุทธพงษ์ ศรีละคร   ส.ค.2566 ปัจจุบัน 5 กองหลัง

สถิติ แก้

สถิติเกี่ยวกับผลการแข่งขัน แก้

สถิติเกี่ยวกับผู้เล่น แก้

ผู้ชม แก้

ผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสร แก้

  • สถิตินับถึง​ 7 เมษายน พ.ศ. 2567 แถบสีฟ้าหมายถึงปัจจุบันยังคงเล่นให้กับสโมสร(ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนนัดที่ลงสนาม)
 
ยู บย็อง-ซู เป็นผู้เล่นจากทวีปเอเชียที่ยิงประตูให้สโมสรมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยเป็นนักฟุตบอลที่ทำประตูให้สโมสรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก เนตู อุชวัลดู
 
อานนท์ บุษผา เป็นผู้เล่นจากชาวไทยที่ยิงประตูให้สโมสรมากที่สุดเป็นอันดับ 1
อันดับ ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง ช่วงปี ลีก ไทยเอฟเอคัพ ไทยลีกคัพ อื่นๆ รวม
1 นาซีเม็งตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู   AM 2561–2562 20 (44) 0 (0) 1 (3) 0 (0) 21 (47)
2 ยู บย็อง-ซู   FW 2563–2564 20 (29) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 20 (29)
3 เคนดัลล์ มอริส ชคเทวสิงห์   FW 2560 12 (25) 2 (1) 4 (2) 0 (0) 18 (28)
ฌูแซ นีลซง ดุช ซังตุช ซิลวา   ST 2565–2566 18 (27) 0 (0) 0 (1) 0 (0) 18 (28)
5 อังแดร ลูอิช เลย์ชี   LW/CF 2566–ปัจจุบัน 12 (27) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 12 (27)
6 อานนท์ บุษผา   ST 2561–2562 6 (31) 0 (0) 3 (2) 0 (0) 9 (33)
7 ฟาบรีซีอู เปรีส การ์เนย์รู   CF/LW/RW 2560 8 (24) 0 (2) 0 (0) 0 (0) 8 (26)
กุสตาวู อาเลชังดรี บาร์บอซา ดู นาซีเม็งตู   AM 2565 8 (18) 0 (0) 0 (1) 0 (0) 8 (19)
สมประสงค์ ชื่นจันทร์   CB 2560–2561 7 (25) 1 (2) 0 (5) 0 (0) 8 (32)
ย็อง วู-กึน   FW 2562 8 (17) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 8 (17)
มีลาน บูบาโล   FW 2563–2564 8 (23) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 8 (23)
ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา   ST 2565–2566 3 (27) 5 (3) 0 (3) 0 (0) 8 (33)
13 โทโมฮิโระ โอโนะเดะระ   FW 2559, 2561 6 (23) 1 (1) 0 (1) 0 (0) 7 (25)
โนอาห์ ชิวูตา   CM/DM 2560–2561 7 (37) 0 (2) 0 (1) 0 (0) 7 (40)
มูซา ซานูฮ์   RW 2566–ปัจจุบัน 7 (30) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 7 (30)
16 ชรินทร์ บุตรฮาด   ST 2561 6 (12) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 6 (12)
กฤษดา ปิสสา   CB 2559, 2561–2562 6 (52) 0 (0) 0 (1) 0 (0) 6 (53)
ศรายุทธ อยู่สืบเชื้อ   FW 2564–2565 6 (32) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 6 (32)
ชียากู​ ดูชาทช์ โมเรย์รา   CB 2565–2566 5 (32) 1 (2) 0 (3) 0 (0) 6 (37)
20 เกแว็ง มารีอุส ปาร์เซอแม็ง   FW 2562 5 (14) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5 (14)
เซยะ โคจิมะ   MF 2564–2565 5 (27) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5 (27)
เจษฎากร น้อยศรี   FW 2564–2565 5 (32) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5 (32)
กาโรลิส ลูคเฌมิส   ST 2566 5 (14) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5 (14)
กัณตภณ คีรีแลง   FW 2566–2567 5 (18) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5 (18)
ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม   CF/AM 2566–ปัจจุบัน 5 (30) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 5 (30)
26 ภุชพงศ์ นามสีฐาน   CM 2561–2562 3 (19) 0 (0) 1 (4) 0 (0) 4 (23)
สิทธิชัย ไตรศิลป์   CB 2560–2563 3 (71) 0 (2) 1 (4) 0 (0) 4 (77)
กีเยร์มี โรดริกิส โมเรย์รา   AM 2562 3 (30) 0 (0) 1 (2) 0 (0) 4 (32)
ดัสกร ทองเหลา   AM 2563–2564 4 (32) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 4 (32)
ฟีลีปี วัลเลซ​ ดู นาซีเม็งตู   ST 2564 4 (6) 0 (1) 0 (0) 0 (0) 4 (7)
ชูคิด วรรณประเภา   CF 2566–ปัจจุบัน 4 (22) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 4 (22)

ผู้เล่นที่ลงสนามให้สโมสรมากที่สุด แก้

  • สถิตินับถึง​ 7 เมษายน พ.ศ. 2567 แถบสีฟ้าหมายถึงปัจจุบันยังคงเล่นให้กับสโมสร (ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนประตูที่ยิงได้)
อันดับ ชื่อ สัญชาติ ตำแหน่ง ช่วงปี ลีก ไทยเอฟเอคัพ ไทยลีกคัพ อื่นๆ รวม
1 สิทธิชัย ไตรศิลป์   CB 2560–2563 71 (3) 2 (0) 4 (1) 0 (0) 77 (4)
2 สามารถ โพธิ์มี   AM 2559–2562 54 (2) 3 (0) 6 (1) 0 (0) 63 (3)
3 กรรณ กลีบผึ้ง   CM 2563–2564, 2565–2566 53 (1) 2 (0) 3 (0) 0 (0) 58 (1)
4 เสกสิทธิ์ ศรีใส   AM 2563–2564, 2565–2566 51 (2) 2 (0) 2 (0) 0 (0) 55 (2)
5 กฤษดา ปิสสา   CB 2559, 2561–2562 52 (6) 0 (0) 1 (0) 0 (0) 53 (6)
6 พิชิต เกสโร   RWB 2563–2564, 2565–2566 48 (0) 2 (0) 2 (0) 0 (0) 52 (0)
7 อนุวัฒน์ พิกุลศรี   CB/RB 2560–2561, 2564–2565 48 (1) 1 (0) 0 (0) 0 (0) 49 (1)
จิรวัฒน ทองแสงพราว   LWB/LB 2560–2561 46 (3) 1 (0) 2 (0) 0 (0) 49 (3)
9 ภคพล บุญช่วย   CM 2563–ปัจจุบัน 43 (1) 3 (0) 2 (0) 0 (0) 48 (1)
10 นาซีเมงตู ดุช ซังตุช เนตู อุชวัลดู   FW/AM 2561–2562 44 (20) 0 (0) 3 (1) 0 (0) 47 (21)
เค็นตาโร ทากามัตสึ   CM 2560–2561 44 (0) 1 (0) 2 (0) 0 (0) 47 (0)
12 กิตติศักดิ์ บุญถา   DM 2561–2562 41 (2) 0 (0) 3 (0) 0 (0) 44 (2)
13 โนอาห์ ชิวูตา   CM/DM 2560–2561 37 (7) 2 (0) 1 (0) 0 (0) 40 (7)
14 ชียากู ดูชาทช์ โมเรย์รา   CB 2565–2566 32 (5) 2 (1) 3 (0) 0 (0) 37 (6)
15 ชินดนัย วงษ์ประเสริฐ   DF 2561–2562 34 (0) 0 (0) 2 (0) 0 (0) 36 (0)
จักรพันธ์ พรใส   AM 2565–2566 30 (1) 3 (1) 3 (0) 0 (0) 36 (2)
17 ปิยะณัฐ ชาญรัมย์   CB/RB 2560–2562 29 (1) 1 (0) 5 (2) 0 (0) 35 (3)
18 จิรวัฒน์ จันทร์พงษ์   DF 2564–2565 34 (2) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 34 (2)
19 อานนท์ บุษผา   ST 2561–2562 31 (6) 0 (0) 2 (3) 0 (0) 33 (9)
ไพรัช ลิ้มเกียรติสถาพร   MF 2560–2561 26 (1) 2 (0) 5 (0) 0 (0) 33 (1)
ดนุสรณ์ วิจิตรปัญญา   ST 2565–2566 27 (3) 3 (5) 3 (0) 0 (0) 33 (8)

ตารางคะแนนฤดูกาล 2566–2567 แก้

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การเลื่อนชั้นหรือการตกชั้น
1 หนองบัว พิชญ (P) 32 21 6 5 75 35 +40 69 เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2567–68
2 นครราชสีมา มาสด้า (P) 32 20 9 3 60 26 +34 69
3 ระยอง 32 15 11 6 53 29 +24 56 ผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟ
4 นครศรีฯ ยูไนเต็ด 32 15 11 6 54 33 +21 56
5 เชียงใหม่ 32 16 7 9 52 33 +19 55
6 อยุธยา ยูไนเต็ด 32 14 9 9 48 34 +14 51
7 ลำปาง 32 14 8 10 46 38 +8 50
8 พัทยา ยูไนเต็ด 32 13 10 9 40 34 +6 49
9 เชียงใหม่ ยูไนเต็ด 32 11 13 8 49 39 +10 46
10 จันทบุรี 32 9 12 11 42 40 +2 39
11 สุพรรณบุรี 32 11 6 15 35 41 −6 39
12 แพร่ ยูไนเต็ด 32 11 6 15 37 52 −15 39
13 ดราก้อน ปทุมวัน กาญจนบุรี 32 9 8 15 39 48 −9 35
14 สมุทรปราการ ซิตี้ 32 8 11 13 34 47 −13 35
15 ชัยนาท ฮอร์นบิล 32 8 10 14 29 43 −14 34
16 คัสตอม ยูไนเต็ด (R) 32 4 9 19 26 60 −34 21 ตกชั้นสู่ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2567–68
17 เกษตรศาสตร์ (R) 32 6 3 23 28 78 −50 21
18 กระบี่ (R) 32 3 11 18 20 57 −37 20
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 7 เมษายน 2567. แหล่งที่มา : ไทยลีก
กฎการจัดอันดับ : ก่อนสิ้นสุดฤดูกาล: 1. คะแนนรวม 2. ผลต่างประตูได้-เสีย 3. จำนวนประตูได้ 4. จำนวนนัดที่ชนะ
เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแล้ว: 1. คะแนนรวม 2. ผลเฮด-ทู-เฮด/มินิลีก 3. ผลต่างประตูได้-เสียของมินิลีก 4. จำนวนประตูได้ของมินิลีก 5. ผลต่างประตูได้-เสียทั้งหมด 6. จำนวนประตูได้ทั้งหมด 7. คะแนนใบเหลือง-ใบแดง 8. เพลย์ออฟ
(P) เลื่อนชั้น; (R) ตกชั้น.


ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ
2559 ดิวิชั่น 2 (โซนภาคกลาง) 20 8 7 5 19 15 31 อันดับที่ 4 รอบเพลย์ออฟ รอบ 64 ทีมสุดท้าย
2560 ไทยลีก 3 (ตอนบน) 26 14 5 7 40 26 47 อันดับที่ 4 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 32 ทีมสุดท้าย
2561 ไทยลีก 3 (ตอนบน) 26 16 6 4 49 23 54 อันดับที่ 2 รอบคัดเลือก รอบเพลย์ออฟ
2562 ไทยลีก 2 34 5 9 20 37 64 24 อันดับที่ 18 ไม่ได้เข้าร่วม รอบ 32 ทีมสุดท้าย
2563–64 ไทยลีก 2 34 13 8 13 46 45 47 อันดับที่ 9 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
2564–65 ไทยลีก 2 34 10 11 13 40 50 41 อันดับที่ 11 รอบคัดเลือก ไม่ได้เข้าร่วม
2565–66 ไทยลีก 2 34 15 6 13 50 43 51 อันดับที่ 10 รอบ 32 ทีมสุดท้าย รอบ 16 ทีมสุดท้าย
2566–67 ไทยลีก 2 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
แชมป์ รองแชมป์ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

ผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาล แก้

ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567
ฤดูกาล ผู้ทำประตูสูงสุด จำนวนประตูทั้งหมด จำนวนประตูในลีก สัญชาติ ลีก
2559 โทโมฮิโระ โอโนะเดะระ 4 4   เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2
2560 เคนดัลล์ มอริส ชคเทวสิงห์ 18 12   ไทยลีก 3
2561 เนตู ซังตุช 15 15   ไทยลีก 3
2562 ย็อง วู-กึน 8 8   ไทยลีก 2
2563–2564 ยู บย็อง-ซู 20 20 ไทยลีก 2
2564–2565 ศรายุทธ อยู่สืบเชื้อ 6 6   ไทยลีก 2
2565–2566 ฌูแซ นีลซง 18 18   ไทยลีก 2
2566–2567 อังแดร ลูอิช เลย์ชี 12 12   ไทยลีก 2

อ้างอิง แก้

  1. http://idewblog.net/0145558003871.html
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-02-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2016-02-20.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 2016-03-13.
  5. https://www.khaosod.co.th/sports/news_131944
  6. "มิติใหม่ลูกหนังไทย! ส.บอล มีมติ อยุธยา ยู – นาวี ไม่ตกชั้น T2". supersubthailand.com. 24 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. ส.บอลประกาศ 18 ทีมลุยที 2 ปีหน้า
  8. http://www.smmsport.com/m/article.php?a=8815[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้