สโมสรฟุตบอลราชวิถี

สโมสรฟุตบอลราชวิถี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทย เคยลงแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยพี่น้อง สำเริง ไชยยงค์ และ เสนอ ไชยยงค์

ราชวิถี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลราชวิถี
ฉายาทหารเสือราชินี, ชาววัง
ก่อตั้งพ.ศ. 2511
ยุบ2558
สนามสนาม ม.มหิดล ศาลายา
(ความจุ:1,500 ที่นั่ง)
เจ้าของสมาคมกีฬาสโมสรฟุตบอลราชวิถี
ประธานภากร กสิโสภา
ผู้จัดการว่าง
ผู้ฝึกสอนว่าง
ลีกลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2
ฤดูกาลสุดท้าย
2557

อันดับ 14
(โซนกรุงเทพและภาคกลาง)
ยุบทีม
สีชุดทีมเยือน

ในอดีตยุคก่อนจะเกิดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก สโมสรฟุตบอลราชวิถีจัดเป็นสโมสรที่โด่งดังและประสบความสำเร็จสโมสรหนึ่ง โดยสร้างผลงานคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ประเภท ก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลในระดับสูงที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้นได้ถึง 4 สมัย รวมถึงสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลควีนส์คัพ ได้ 1 สมัย

หลังจากที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งระบบฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศไทยอย่างไทยลีกขึ้น สโมสรฟุตบอลราชวิถีได้ลงแข่งขันในไทยลีกฤดูกาลแรก (ฤดูกาล 2539) ซึ่งนับเป็นการลงเล่นในลีกสูงสุดฤดูกาลแรกและฤดูกาลเดียวของสโมสร ก่อนจะตกชั้นเมื่อจบฤดูกาล

ตั้งแต่พ.ศ. 2540 ถึง 2551 สโมสรลงเล่นในระดับไทยลีก ดิวิชัน 1 โดยมีผลงานที่ตกต่ำลงและไม่สามารถกลับขึ้นไปเล่นในไทยพรีเมียร์ลีกได้ โดยในการแข่งขันดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2551สโมสรตกชั้นไปสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2เมื่อจบฤดูกาล

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 สโมสรลงแข่งขันในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 กลุ่มกรุงเทพและปริมณฑล และประสบปัญหาด้านการเงินและงบประมาณ ทำให้ต้องพักทีมไปในฤดูกาล 2555 ก่อนจะกลับมาส่งทีมแข่งขันอีกครั้งในฤดูกาล 2556 และ 2557 โดยในการแข่งขันฤดูกาล 2557 สโมสรมีผลงานที่ย่ำแย่โดยจบอันดับสุดท้ายในตารางคะแนนกลุ่มกรุงเทพและปริมณฑล ทำให้ต้องพักทีมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2558

ประวัติสโมสร แก้

ก่อนปี พ.ศ. 2511 สองพี่น้องตระกูลไชยยงค์ซึ่งเคยเป็นผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ มาก่อนและได้ลาออกในปี พ.ศ. 2508 ได้รวบรวมเด็กๆ และเยาวชน ที่มีความสนใจในเกมลูกหนัง นำมาฝึกสอนทักษะสูกหนัง บริเวณสนามอัฒจันทร์ ศาลต้นโพธิ์ สนามกีฬาแห่งชาติหรือสนามศุภชลาศัย จากจุดเริ่มต้นที่มีเยาวชนเพียงน้อยนิด 10 กว่าคน จนกระทั่งมีจำนวนกว่า 100 ชีวิตในเวลาไม่นาน เมื่อมีเยาวชนและผู้ปกครองนำเยาวชนมาเรียนรู้ศาสตร์ลูกหนังเพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเตะที่ได้ฝึกสอนอยู่มีโอกาสได้ลงสนามแข่งขันอย่างเป็นทางการและเป็นการพัฒนาฝีมือในขั้นสูง

ในปี พ.ศ. 2511 สำเริง ไชยยงค์ จึงได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งสโมสรฟุตบอลต่อกรมตำรวจ ในขณะนั้น (ปัจจุบันคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) โดยใช้ชื่อทีมว่า "สโมสรฟุตบอลราชวิถี" และเป็นชื่อทีมที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทีมสโมสรฟุตบอลราชวิถี ถือเป็นสโมสรแรกๆ ของทีมฟุตบอลในเมืองไทยที่มีระบบการเล่นฟุตบอลแบบ "โททัลฟุตบอล" อันสวยงามและเร้าใจ ทีมราชวิถีประสบความสำเร็จกับการสร้างนักเตะระดับเยาวชนเป็นอย่างมาก โดยสามารถคว้าแชมป์ลูกหนังระดับเยาวชนชิงชนะเลิสแห่งประเทศไทย ถึง 6 ปีซ้อน สำหรับทีมในระดับชุดใหญ่ก็มีผลงานไม่น้อยหน้ากว่าทีมเยาวชน โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมณ์ สามารถความแชมป์ฟุตบอลฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. (ถ้วย ค.) ได้ในปี พ.ศ. 2515 โดยในปี พ.ศ. 2514 ทีมราชวิถีสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยใหญ่หรือฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) ซึ่งถือว่าเป็นถ้วยฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ ได้เป็นครั้งแรก และทีมราชวิถี ยังสามารถกลับมาความแชมป์ถ้วย ก. ได้ อีก 3 ครั้งในปี ปี พ.ศ. 2516 (คว้าแชมป์ร่วมกับสโมสรฟุตบอลราชประชา) ปี พ.ศ. 2518 และ ปี พ.ศ 2520 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองในปีท้ายๆ ของทีมราชวิถีรวมแล้วทีมราชวิถี คว้าแชมป์ระดับสูงสุดของประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง

นอกจากนี้สโมสรฟุตบอลราชวิถียังเป็นสมาชิกภาคีควีนส์คัพ ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นเป็นรายการฟุตบอลที่มีถ้วยรางวัลใหญ่ที่สุดในโลก โดยถ้วยรางวัลนี้ได้รับพระราชทานมาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยทีมราชวิถี สามารถคว้ามแชมป์มาได้หนึ่งครั้งในปี พ.ศ. 2516

ในปี พ.ศ. 2538 ทีมราชวิถี เริ่มกลับเข้าสู่ความสำเร็จอีกครั้ง เมื่อสามารถชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (ถ้วย ข.) และได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.)ในปี พ.ศ. 2539 แต่เนื่องจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศไทยใหม่ในปี พ.ศ. 2539 โดยจัดการแข่งขันในระบบลีกใช้ชื่อการแข่งขันว่า ไทยลีก โดยให้ทีมที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) ในปี พ.ศ. 2539 เข้าร่วมการแข่งขันไทยลีก และจัดให้ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. (ถ้วย ก.) เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดก่อนเปิดฤดูกาลของฟุตบอลไทยลีกแทนคล้ายกับฟุตบอลคอมมูนิตี้ ชิลด์ ของประเทศอังกฤษ ปีแรกที่ทีมราชวิถีเข้าแข่งขันในระบบลีก เนื่องจากเป็นทีมน้องใหม่ของการแข่งขันระดับลีกทำให้ทนต่อแรงเสียดทานของทีมอื่นๆไม่ไหว เมื่อลงแข่งขันจึงแพ้มากกว่าชนะเมื่อจบฤดูกาล ทำอันดับได้ที่ 16 จาก 18 สโมสร ทำให้ต้องตกชั้นลงไปเล่นในระดับ ไทยลีก ดิวิชั่น 1

ในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา สโมสรฟุตบอลราชวิถี อยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงการบริหารทีมภายใต้การนำของประธานสโมสร พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ที่ต้องการเห็นสโมสรกลับไปโลดแล่นในระดับไทยลีกอีกครั้ง แต่เนื่องจาก ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ทีมเผชิญกับวิกฤตหลายๆด้าน จึงยังไม่สามารถส่งทีมไปถึงเป้าหมายได้ แต่ด้วยความรักในทีมสโมสรราชวิถี พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ก็ยังสู้ฝ่าฟันอุปสรรคเรื่อยมา และก็ยังสามารถนำทัพเข้าสู้ศึกในลีกต่างๆอย่างไม่ท้อถอย แต่อย่างไรก็ดี สโมสรราชวิถีภายใต้การนำของ พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล มีปัญหาไม่จ่ายเงินเดือนนักฟุตบอลอย่างต่อเนื่อง นักฟุตบอลที่ไม่ได้รับค่าจ้างจึงขาดแรงจูงใจ ทำให้ผลงานในสนามย่ำแย่ลงอย่างหนัก

ในปี พ.ศ. 2556 พล.ต. หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ประธานสโมสร ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นประธาน สโมสรฟุตบอลราชวิถี ด้วยเพราะมีภารกิจที่สำคัญมากมายรออยู่เบื้องหน้า โดยขอมอบให้หน้าที่นี้ นาย ภากร กสิโสภา อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรี ร่วมกับผู้จัดการทีมฟุตบอลราชวิถี ดำเนินการนำทัพทีมสโมสรราชวิถี สู้ศึกในลีกต่อไป

ผู้เล่นฤดูกาลสุดท้าย แก้

ผู้เล่นชุดสู้ศึกไทยลีกดิวิชัน 2 โซนกรุงเทพและปริมณฑล ฤดูกาล 2557 หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
GK   ณัฐสุด บุญส่งสุข NUTTHASUT.B
FW   ทิตาวีร์ ลักษรศรี THITAWEE.R
DF   จารุวัฒน์ โพธิไสย JARUWAT.P
DF   จักริน สุพิรัฐวรพงศ์ JAKKARIN.S
DF   ธนชาติ ชมชื่น THANACHAT.C
DF   ภูษิต ศรีดอกพุฒ PHUSIT.S
DF   ศุภสันต์ ชาญศรี SUPASUN.C
DF   ธวัชชัย ร้อยแก้ว TAWATCHAI.R
DF   วีระพงศ์ ครยก WEERAPONG.K
DF   ภานุพงศ์ รุ่งสุรีย์ PANUPONG.R
MF   สันติภาพ จันทร์หง่อม SUNTIPAB.J
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF   วรุต วาจาสัตย์ WARUT.W
MF   ศิวรุต พลหิรัญ SIWARUT.P
FW   มีโชค มหาศรานุกูล MEECHOK.M
FW   อภิรักษ์ มีศรี APIRAK.M
FW   ชาตตระการ ตาลเลิศ CHATTAKAN.T
FW   สุริยันต์ ไตรรัตน์ SURIYAN.T
GK   จักรกฤษณ์ วิเศษรัตน์ JAKKRIT.W
FW   สุทธิรักษ์ จันทรุพันธ์ SUTTHIRAK.J
FW   ภานุพงศ์ รุ่งสุรีย์ PANUPONG.R
FW   นิธิพัทธ์ บริบูรณ์วัฒน์ NITIPAT.B
FW   พชรดนัย ศรีปฏิยุทธ์วงศ์ PATCHARARANAI.S
FW   ภูดิศ จิตรุ่งสาคร PHUDIT.J
FW   ณัฐพงศ์ ปะวิเศษ NATTAPONG.P
DF   EDWARD MUWENDA EDWARD.M
DF   SYLLA TIDIANE T.SYLLA

อดีตผู้เล่นที่โดดเด่น แก้

ผลงาน แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้