สโมสรฟุตบอลตราด

สโมสรฟุตบอลจังหวัดดตราด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพจากจังหวัดตราด ปัจจุบันลงแข่งขันในระดับไทยลีก โดยสโมสรเคยลงแข่งขันในลีกสูงสุดของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2562

ตราด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด
ฉายาช้างขาวจ้าวเกาะ
ก่อตั้ง2012; 12 ปีที่แล้ว (2012)
สนามสนามกีฬากลางจังหวัดตราด
ความจุ7,000 ที่นั่ง
เจ้าของบริษัท ตราด เอฟซี จำกัด
ประธานชูชีพ เลี้ยงถนอม
ผู้จัดการมนัส ชลาลัย
ผู้ฝึกสอนสันติ ไชยเผือก
ลีกไทยลีก
2565–66ไทยลีก 2 รองชนะเลิศ
(เลื่อนชั้น) เพิ่มขึ้น
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

ประวัติสโมสร แก้

สโมสรฟุตบอลจังหวัดตราด ก่อตั้งขึ้นในปี 2555 จากการริเริ่มของชมรมกีฬาฟุตบอลของจังหวัด เพื่อส่งเข้าร่วมการแข่งขัน เอไอเอสลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ปี พ.ศ. 2555 โดย วิเชียร ทรัพย์เจริญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด เป็นที่ปรึกษาของสโมสร โดยมีฉายาของสโมสรในช่วงแรกว่า "สิงห์ร้ายตะวันออก"

ซึ่งในปีแรกของการแข่งขัน สโมสรทำผลงานได้ดีโดยจบอันดับสามของการแข่งขันฯ ในโซนภาคกลางและภาคตะวันออก และผ่านเข้ารอบไปทำการแข่งขันในรอบแชมเปี้ยนส์ ลีก และจบด้วยตำแหน่งชนะเลิศ ของสาย บี ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปทำการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 ปี 2556 และได้รองชนะเลิศการแข่งขันในปีนั้นอีกด้วย

หลังจากที่สโมสร เลื่อนชั้นมาทำการแข่งขันในระดับดิวิชั่น 1 ผลงานของสโมสรทำได้ดี โดยจบอันดับที่ 7 ของตารางสองปีติดต่อกัน (2556, 2557)

ทว่า ในฤดูกาลถัดมา (ฤดูกาล 2558) ผลงานของสโมสรไม่ดีนัก โดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 20 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย มี 27 คะแนน จาก 38 นัด ตกชั้นกลับไปแข่งขัน ลีกภูมิภาคในปีถัดมา

ใน ดิวิชั่น 2 ปี 2559 สโมสรทำผลงานได้อย่างน่าพอใจโดย ได้ตำแหน่งชนะเลิศการแข่งขัน ของโซนภาคตะวันออก และผ่านเข้ารอบทำการแข่งขันในรอบแชมเปี้ยนส์ ลีก ต่อมาสืบเนื่องจาก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติให้ยุติการแข่งขันฟุตบอลทุกรายการภายในประเทศเพื่อถวายความไว้อาลัย จึงได้มีการจับสลากเพื่อหา 3 สโมสรที่ได้เลื่อนชั้นสู่ ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2560[1] โดยผลการจับสลากเป็นสโมสรได้อันดับหนึ่ง ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปแข่งขันได้สำเร็จ

ที่ตั้งสโมสรและสนามเหย้า แก้

 
สนามกีฬากลางจังหวัดตราด

สโมสรใช้สนามกีฬากลางจังหวัดตราด เป็นสนามเหย้า โดยรายละเอียดของสนามนั้นเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ที่ ถนนเนินตาแมว ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด จ.ตราด โดยเป็นที่ตั้งของศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดตราด และโรงเรียนกีฬาจังหวัดตราด ดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตราด

พิกัดภูมิศาสตร์ ที่ตั้ง สนามเหย้า ความจุ ปี
12°14′02″N 102°31′30″E / 12.233759°N 102.524949°E / 12.233759; 102.524949 ตราด สนามกีฬากลางจังหวัดตราด 7,000 2555-ปัจจุบัน

ผู้เล่น แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   วรวุฒิ สุขุนา
2 DF   ทิตาวีร์ อักษรศรี (ยืมตัวจาก การท่าเรือ)
3 DF   ภราดร พัฒนะผล (ยืมตัวจาก ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด)
4 DF   จิระพงค์ รักสงคราม
5 DF   รังสรรค์ วิรุฬห์ศรี
6 DF   ทิตาธร อักษรศรี (ยืมตัวจาก การท่าเรือ)
7 MF   พรปรีชา จารุนัย (กัปตันทีม)
8 FW   อี กึน-โฮ
9 FW   เบน อซูเบิล
10 FW   ลิดอร์ โคเฮน
11 MF   ศราวุธ ทองโกฎิ์
12 DF   อมานี อกินัลโด
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 MF   มารุต บุตรรักษ์
16 MF   อดิศักดิ์ กลิ่นโกสุมภ์
18 GK   ทัตพิชา อักษรศรี
19 MF   นนทพล ดาวเรือง
20 FW   ไดโซะ โฮริโกชิ
24 MF   สันติภาพ ราษฎร์นิยม
25 GK   ศุภวัฒน์ สีโนทัย
27 FW   ฤทธิพร หวานชื่น (ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด)
30 GK   ประพัฒน์ ยศไกร
36 DF   ธนาเสฏฐ์ สุจริต
39 MF   เรืองยศ จันชัยชิต (ยืมตัวจาก เมืองทอง ยูไนเต็ด)
46 DF   จอร์จ เฟลลีเป
88 MF   ภาคภูมิ ภูมิทรงธรรม

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
8 FW   ยะชิร อิสละมี (ไป โปลิศ เทโร จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
21 FW   ภูมิพัฒน์ กันทะเนตร (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)

ทีมงานสโมสร แก้

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานสโมสร ชูชีพ เลี้ยงถนอม
ประธานที่ปรึกษาสโมสร วิเชียร ทรัพย์เจริญ
ผู้จัดการทีม มนัส ชลาลัย
หัวหน้าผู้ฝีกสอน สันติ ไชยเผือก
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน ครองพล ดาวเรือง
ชยพัทธ์ กิจพงศ์ศรีธาดา
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส
นักวิเคราะห์ทีมชุดใหญ่
หัวหน้าฝ่ายการแพทย์
ทีมแพทย์ประจำสโมสร
นักกายภาพบำบัด
นักบำบัดการกีฬา
หัวหน้าฝ่ายกายภาพ
ล่ามประจำสโมสร
ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค
เจ้าหน้าที่ทีม ณัฐกฤตา เข็มเพชร์

หัวหน้าผู้ฝึกสอน แก้

ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล แก้

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย คะแนน อันดับ ชื่อ ประตู
2555 ดิวิชั่น 2 ภาคกลาง 34 20 11 3 66 34 71 อันดับ 3 รอบสาม รอบสอง รัฐพร แซ่ตั๋น 22
2556 ดิวิชั่น 1 34 12 11 11 59 60 47 อันดับ 6 รอบสี่ รอบแรก Woukoue Mefire Raymond 9
2557 ดิวิชั่น 1 34 14 7 13 47 33 49 อันดับ 7 รอบสี่ เซยะ ซูงิชิตะ 12
2558 ดิวิชั่น 1 38 7 6 25 35 100 27 อันดับ 20 Borce Manevski 9
2559 ดิวิชั่น 2 ภาคตะวันออก 22 16 4 2 45 19 52 ชนะเลิศ รอบสอง Erivaldo 12
2560 ไทยลีก 2 32 9 10 13 49 59 34 อันดับ 15 รอบสาม บาร์รอส ทาร์เดลี 20
2561 ไทยลีก 2 28 15 9 4 51 32 54 รองชนะเลิศ รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม บาร์รอส ทาร์เดลี 22
2562 ไทยลีก 30 9 8 13 47 47 35 อันดับ 10 รอบ 8 ทีม รอบ 32 ทีม ลอนซานา ดูมบูยา 20
2563–64 ไทยลีก 30 4 5 21 31 64 17 อันดับ 15 รอบ 8 ทีม งดจัดการแข่งขัน รีการ์ดู ซังตุส 10
2564–65 ไทยลีก 2 34 20 8 6 55 33 68 อันดับ 3 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม เปาลู คงราดู 19
2565–66 ไทยลีก 2 34 17 9 8 55 34 60 อันดับที่ 2 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม เฟร์ไรรา ดุส ซังตุส 15
2566–67 ไทยลีก รอบ 64 ทีม รอบ 16 ทีม
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่สาม เลื่อนชั้น ตกชั้น

เกียรติประวัติ แก้

ลีก แก้

อ้างอิง แก้

  1. "มติเอกฉันท์ยุติฤดูกาล2559-ยึด18ทีมชัยนาท,อาร์มี่ตกชั้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2018-05-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้