สูรยะ เสน

นักปฏิวัติชาวอินเดียที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อขบวนการเอกราชอินเดีย

สูรยะ กุมาร เสน (อักษรโรมัน: Surya Kumar Sen; 22 มีนาคม 1894 – 12 มกราคม 1934) เป็นนักปฏิวัติชาวอินเดียที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อขบวนการเอกราชอินเดีย เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะผู้นำการบุกจู่โจมคลังแสงจิตตะกองในปี 1930 เสนเป็นครูในโรงเรียน และเป็นที่รู้จักในชื่อ มาสเตอร์ดา (Master Da; "da" เป็นคำลงท้ายเชิงให้เกียรติในภาษาเบงกอล) เขาได้รับอิทธิพลชาตินิยมจากปี 1916 ขณะยังเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัยเบอร์ฮัมโปร์ (Berhampore College; ปัจจุบันคือ วิทยาลัยกฤษนาถ)[1] ในปี 1918 เขาได้รับเลือกเป็นประธานครองเกรสแห่งชาติอินเดีย สำนักจิตตะกอง[2] เสนเป็นที่รู้จักจากการรวบรวมนักปฏิวัติรุ่นใหม่รวมกีนในชื่อกลุ่มจิตตะกอง ซึ่งมีทั้งอนันตะ สิงห์, คเณศ โฆษ และ โลเกนาถ บาล ซึ่งต่อสู้กับเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ประจำในจิตตะกอง[3]

สูรยะ เสน
เสนเมื่อปี 1924
เกิด22 มีนาคม ค.ศ. 1894(1894-03-22)
ราวซาน อำเภอจิตตะกอง รัฐเบงกอล (ปัจจุบันอยู่ในประเทศบังกลาเทศ)
เสียชีวิต12 มกราคม ค.ศ. 1934(1934-01-12) (39 ปี)
จิตตะกอง
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
สัญชาติอินเดีย
องค์การพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย, อนุศิลันสมิตี
มีชื่อเสียงจากการบุกจู่โจมคลังแสงจิตตะกอง
ขบวนการเอกราช
คู่สมรสบุษบา เสน

เสนมีบทบาทมากในขบวนการดื้อแพ่งและต่อมาเขาถูกจับกุมและคุมขังเป็นเวลา 2 ปีจากปี 1926 ถึง 1928 จากกิจกรรมปฏิวัติของเขา เสนจึงเป็นนักบริหารจัดการที่มีฝืมือ เขามีคำขวัญที่เป็นที่นิยมว่า "มนุษยกรรมเป็นคุณธรรมพิเศษของการปฏิวัติ"[3]

หลังการจู่โจมคลังแสงในปี 1930 และในการสู้รบครั้งรุนแรงที่มีเจ้าหน้าที่อังกฤษเสียชีวิต 80 ราย และนักปฏิวัติเสียชีวิต 12 ราย เสนและคนอื่น ๆ กระจายตัวเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และหลบซ่อนในหมู่บ้านโดยรอบ ในขณะเดียวกันก็ก่อการโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐของอังกฤษที่มายังหมู่บ้าน เวนถูกจับกุมเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 1933 และถูกประหารชีวิตในวันที่ 12 มกราคม 1934[4]

อ้างอิง แก้

  1. Islam, Asiatic Society of Bangladesh. Chief ed. Sirajul (2003). "Mastarda" Surya Sen (1. publ. ed.). Dhaka: Asiatic Society of Bangladesh. ISBN 9843205766. สืบค้นเมื่อ 28 June 2015.[ลิงก์เสีย]
  2. Chakrabarti, Bidyut (1990). Subhas Chandra Bose and Middle Class Radicalism: A Study in Indian Nationalism, 1928-1940. I. B. Tauris & Co. Ltd. p. 108. ISBN 1850431493.
  3. 3.0 3.1 Chandra, Bipan (1988). India's struggle for independence 1857-1947. Penguin. ISBN 9788184751833. OCLC 983835276.
  4. "Death Sentence On Terrorists". The Glasgow Herald. 15 August 1933. p. 9. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:Indian independence movement แม่แบบ:Indian Revolutionary Movement