สุสานพระเยซูหมายถึงสถานที่ใด ๆ ที่เชื่อว่าพระเยซูทรงถูกฝังในพระคูหา (entombed)[1] หรือฝังในพื้น (interred)[2]

โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ แก้

โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์เป็นโบสถ์คริสต์ในควอเตอร์คริสต์ของนครเก่าเยรูซาเลม[3] ตามธรรมเนียมที่อายุเก่าแก่ถึงศตวรรษที่สี่เชื่อว่าเป็นหนึ่งในสองสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาคริสต์ ซึ่งได้แก่ สถานที่ที่ซึ่งทรงถูกตรึงกางเขน[4] ซึ่งอยู่ที่คัลวารี หรือ โกลโกธา (Golgotha) และพระคูหาว่างเปล่า (empty tomb) ซึ่งเชื่อว่าทรงถูกฝังและฟื้นคืนชีพในสามวัน[5]

แผ่นหินอ่อนซึ่งปิดคลุมแผ่นหินปูนเดิมซึ่งเชื่อว่าเป็นแผ่นหินที่โยเซฟแห่งอาริเมเธียได้วางร่างของพระเยซู ถูกนำออกชั่วคราวเพื่อทำความสะอาดและซ่อมแซมในวันที่ 26 ตุลาคม 2016 เป็นการเปิดให้เห็นแผ่นหินปูนเดิมด้านล่างครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1555[6]

สถานที่อื่น ๆ แก้

คูหาสวน แก้

คูหาสวน (The Garden Tomb) เป็นสุสานคูหาเจาะหินในเยรูซาเลม ขุดค้นพบในปี 1867 และคริสต์ชนโปรเตสแตนต์บางส่วนเชื่อว่าที่นี่เป็นพระคูหาที่ฝังศพของพระเยซู[7] นักโบราณคดีชาวอิสราเอล ยาเบรียล บาร์กาย ประมาณอายุคูหานี้อยู่ที่ราว 700-800 ปีก่อนคริสต์กาล[8]

คูหาตัลปิยต แก้

สุสานคูหาตัลปิยต (Talpiot Tomb หรือ Talpiyot Tomb) เป็นคูหาสุสานเจาะหิน ค้นพบในปี 1980 ตั้งอยู่ในย่านอีสต์ตัลปิยต ราวห้ากิโลเมตรทางใต้ของเมืองเก่าเยรูซาเลม ภายในประกอบด้วยหีบไว้ศพจำนวนสิบหีบ ในจำนวนนี้หกหีบมีจารึกคำแกะสลัก ซึ่งหีบหนึ่งปรากฏคำแกะสลักว่า "Yeshua bar Yehosef" ("Jeshua, son of Joseph"; เยชัว บุตรของโยเซฟ) อย่างไรก็ตามจารึกบางส่วนจะไม่สามารถเข้าใจได้ และการตีความนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวาง[9] ยังคงเป็นที่เชื่อกันในวงกว้างว่า "เยชัว" (เยซู) นั้นไม่ได้หมายถึงพระเยซูแห่งนาซาเรธ แต่เป็นบุคคลชื่อเหมือน เนื่องจากยังพบว่า "เยชัว" ร่างนี้มีบุตรนามว่ายูดาส (Judas) ฝังอยู่เคียงกัน และคูหายังแสดงให้เห็นป้ายต่าง ๆ ที่บอกว่าเป็นของครอบครัวยูดายที่มั่งคั่ง ในขณะที่ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูแห่งนาซาเรธมาจากตระกูลยากจนชาวกาลิเลียน[10]

โรซาบาล แก้

โรซาบาล (Roza Bal) เป็นวิหารในย่านขานยาร์ของดาวน์ทาวน์ศรีนคร ใน หุบเขากัศมีร์ คำว่า roza แปลว่าสุสาน/คูหา ส่วน bal แปลว่าสถานที่[11][12][13][14][15] ชาวท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของฤาษีหรือนักพรตยูซาซาฟ และมีร์ซายิด นะซีรุฎฎีน (Mir Sayyid Naseeruddin)

สุสานนี้ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก จนกระทั่งการเกิดขึ้นของขบวนการอะห์มัดดียยะ ซึ่งมีร์ซา ฆูลาม อะห์มัด ได้กล่าวอ้างในปี 1899 ว่าที่นี่เป็นสุสานแท้จริงของพระเยูซูตามความเชื่ออะห์มัดดียะ[16] ซึ่งชาวอะห์มัดดียะยังคงเชื่อเช่นนั้นจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ผู้ดูแลสุสานชาวซุนนีปฏิเสธความเชื่อนี้ หนึ่งในผู้ดูแลสุสานเคยให้สัมภาษณ์ว่า "ทฤษฎีที่ว่าร่างของพระเยซูทรงถูกฝังไว้ที่ใดก็ตามบนผืนแผ่นดินของโลกมนุษย์นั้นเป็นความเชื่อที่ "ฮะรอม" (ขัดต่อหลักศาสนา) ในศาสนาอิสลาม"[17]

คิริซูโตะ โนะ ฮากะ แก้

 
สุสานที่เชื่อว่าเป็นของพระเยซูในหมู่บ้านชิงโง

หมู่บ้านชิงโงในจังหวัดอาโอโมริ เชื่อว่า คิริซูโตะ โนะ ฮากะ แปลว่า "สุสานพระเยซู" เป็นสถานที่ฝังพระศพพระเยซู และเป็นที่อาศัยของสาวกคนท้าย ๆ ของพระเยซู ชื่อซาจิโระ ซาวางูจิ (Sajiro Sawaguchi)[18] ตระกูลของซาวางูจิอ้างว่าพระเยซูไม่ได้สิ้นพระชนม์บนกางเขนที่โกลโกธา แต่ในความจริงแล้ว พี่/น้องชาย อิซูกิริ (Isukiri)[19] ขึ้นตรึงกางเขนแทนพระองค์ ส่วนพระเยซูทรงหลบหนีผ่านทางไซบีเรียมายังแคว้นมุตสึในตอนเหนือของญี่ปุ่น จากนั้นพระองค์เปลี่ยนพระนามเป็น โทไร โทระ ไดเต็งกุ (Torai Tora Daitenku) และเป็นชาวนา สมรสกับสตรีชาวญี่ปุ่นวัยยี่สิบปี นามว่ามิยูโกะ (Miyuko) และมีธิดาด้วยกันสามคน ในพื้นที่ที่ใกล้กับชิงโงในปัจจุบัน ขณะประทับในญี่ปุ่น พระองค์ได้เดินทางและเรียนรู้ไปทั่วแผ่นดิน กระทั่งสิ้นพระชนม์ด้วยวัย 106 ปี ร่างของพระองค์ถูกวางไว้บนยอดเขาเป็นเวลาสี่ปี ตามธรรมเนียมในเวลานั้น พระธาตุของพระองค์ถูกเก็บมาห่อรวมกันและฝังไว้ในหลุมเนินเดินตรงที่ปัจจุบันคือสุสานพระเยซู[20][21]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Romey, Kristin (November 28, 2017). "Exclusive: Age of Jesus Christ's Purported Tomb Revealed". National Geographic.
  2. Lidz, Franz. "The Little-Known Legend of Jesus in Japan". Smithsonian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-19.
  3. "Complete compendium of Church of the Holy Sepulchre". Madain Project. สืบค้นเมื่อ 18 March 2018.
  4. McMahon, Arthur L. (1913). "Holy Sepulchre". ใน Herbermann, Charles (บ.ก.). สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
  5. "Church of the Holy Sepulchre, Jerusalem". Jerusalem: Sacred-destinations.com. 21 February 2010. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
  6. Romey, Kristin (October 31, 2016). "Unsealing of Christ's Reputed Tomb Turns Up New Revelations". National Geographic. Church of the Holy Sepulchre in Jerusalem's Old City. สืบค้นเมื่อ 12 March 2021.
  7. "Garden Tomb - the real place where Jesus was buried and resurrected?". Kaitholil.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-01-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
  8. Gabriel Barkay, The Garden Tomb, published in Biblical Archaeology Review March/April 1986
  9. Heiser, Michael. "Evidence Real and Imagined: Thinking Clearly About the "Jesus Family Tomb"" (PDF). pp. 9–13. สืบค้นเมื่อ 2007-06-08.
  10. Cooperman, Alan (2007-02-28). "'Lost Tomb of Jesus' Claim Called a Stunt". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
  11. Ghulām Muhyi'd Dīn Sūfī Kashīr, being a history of Kashmir from the earliest times to our own 1974 – Volume 2 – Page 520 "Bal, in Kashmiri, means a place and is applied to a bank, or a landing place."
  12. B. N. Mullik – My years with Nehru: Kashmir – Volume 2 1971 – Page 117 "Due to the presence of the Moe-e-Muqaddas on its bank the lake gradually acquired the name Hazratbal (Bal in Kashmiri means lake) and the mosque came to be known as the Hazratbal Mosque. Gradually the present Hazratbal village grew ..."
  13. Nigel B. Hankin Hanklyn-janklin: a stranger's rumble-tumble guide to some words 1997 Page 125 (Although bal means hair in Urdu, in this instance the word is Kashmiri for a place – Hazratbal – the revered place.) HAZRI n Urdu Lit. presence, attendance. In British days the word acquired the meaning to Europeans and those associated with ..."
  14. Andrew Wilson The Abode of Snow: Observations on a Journey from Chinese Tibet to ... 1875 reprint 1993– Page 343 Bal means a place, and Ash is the satyr of Kashmir traditions."
  15. Parvéz Dewân Parvéz Dewân's Jammû, Kashmîr, and Ladâkh: Kashmîr – 2004 Page 175 "Manas means 'mountain' and 'bal' means 'lake' (or even 'place'). Thus, the ..."
  16. J. Gordon Melton The Encyclopedia of Religious Phenomena 2007 "Ahmad specifically repudiated Notovitch on Jesus' early travels to India, but claimed that Jesus did go there late in His life. The structure identified by Ahmad as Jesus' resting place is known locally as the Roza Bal (or Rauza Bal)."
  17. Times of India Tomb Raider: Jesus buried in Srinagar? 8 May 2010 "One of the caretakers of the tomb, Mohammad Amin, alleged that they were forced to padlock the shrine ... He believed that the theory that Jesus is buried anywhere on the face of the earth is blasphemous to Islam."
  18. "From Japanese text of the sign included in this article".[ลิงก์เสีย]
  19. "Japan Travel: Jesus in Japan". Metropolis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-25. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  20. "The Japanese Jesus Trail". BBC. September 9, 2006. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  21. "Land of the Rising Son". Fortean Times. May 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.