สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ศาตราจารย์พิเศษ สุรินทร์ พิศสุวรรณ (มลายู: Tansri Surin Abdul Halim bin Ismail Pitsuwan, สุรินทร์ อับดุลฮาลิม บิน อิสมาอิล พิศสุวรรณ[6][7] (28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และ เลขาธิการอาเซียน วาระ พ.ศ. 2551 ถึง 2556 เป็นเลขาธิการอาเซียนชาวไทยคนที่ 2

สุรินทร์ พิศสุวรรณ
สุรินทร์ พิศสุวรรณในปี 2548
เลขาธิการอาเซียน คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2551 – 1 มกราคม พ.ศ. 2556
(5 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าออง เค็ง ยอง
ถัดไปเล เลือง มิญ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(3 ปี 92 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประจวบ ไชยสาส์น
ถัดไปสุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
(2 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าสมบัติ ศรีสุรินทร์
ถัดไปประชา คุณะเกษม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2492
อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
เสียชีวิต30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 (68 ปี)
โรงพยาบาลรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม[5]
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ (2529–2560)
คู่สมรสอลิสา พิศสุวรรณ (ฮัจยะห์อาอีซะฮ์)[1][2]
บุพการี
  • ฮัจยี อิสมาแอล พิศสุวรรณ (บิดา)
  • ซอฟียะห์ พิศสุวรรณ (มารดา)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Ph.D.)[3][4]
อาชีพนักการเมือง
นักการทูต

ประวัติ แก้

สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมต้นจาก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช และระดับมัธยมปลายจาก โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จากนั้น สุรินทร์ ได้เข้าศึกษาที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รุ่นเดียวกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) เป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2517) และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2522)[2] เขาสมรสกับ นางอลิสา พิศสุวรรณ มีบุตรชาย 3 คน ได้แก่ ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ ฮุสนี พิศสุวรรณ และ ฟิกรี่ พิศสุวรรณ

สุรินทร์ พิศสุวรรณ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลรามคำแหง ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน สิริอายุได้ 68 ปี[8] โดยมีพิธีฝังศพตามหลักศาสนาอิสลาม ที่มัสยิดท่าอิฐ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การทำงาน แก้

เขาเริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529 และ ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์, ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[9] พ.ศ. 2556 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีมติแต่งตั้งให้ สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้ดำรงตำแหน่งธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[10][11]

บทบาททางการเมือง แก้

สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 8 สมัย (แบบแบ่งเขต 7 สมัย, แบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย) เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529 - 2531) ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2538[12] และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมาสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ได้มีการส่งชื่อไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 และได้รับการรับรองจากชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550[13]

รางวัลและเกียรติยศ แก้

  • พ.ศ. 2532 รับพระราชทานยศเป็น "นายกองตรี" แห่งกองอาสารักษาดินแดน[14]
  • พ.ศ. 2533 รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "นายกองโท" แห่งกองอาสารักษาดินแดน[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หลังบ้านอาเซียนบุกครัวไทย
  2. 2.0 2.1 "สุรินทร์ พิศสุวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-10-17.
  3. การศึกษา ดร.สุรินทร์[ลิงก์เสีย]
  4. ด่วน! ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาฯ อาเซียนถึงแก่อนิจกรรมแล้ว
  5. ผู้แทนพระองค์อัญเชิญดินพระราชทาน ฝังศพ "สุรินทร์ พิศสุวรรณ"
  6. "IDB 1440H Vision Commission Members". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  7. Latar Belakang Dr Surin Pitsuwan[ลิงก์เสีย]
  8. "สุรินทร์ พิศสุวรรณ" หัวใจวายเฉียบพลันถึงแก่กรรม
  9. ผู้แทนพระองค์อัญเชิญดินพระราชทาน ฝังศพ "สุรินทร์ พิศสุวรรณ"
  10. มธ. แต่งตั้ง "ธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3"
  11. "มธ. แต่งตั้ง "ธรรมศาสตราภิชาน คนที่ 3"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-07. สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
  12. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  13. Dr.Surin Pitsuwan Named Secretary-General of ASEAN 2008-2012 (อังกฤษ)
  14. รับพระราชทานยศเป็น "นายกองตรี" แห่งกองอาสารักษาดินแดน
  15. รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น "นายกองโท" แห่งกองอาสารักษาดินแดน
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑, ๑ มีนาคม ๒๕๔๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๑๑ กันยายน ๒๕๔๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๕, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๓
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  22. "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-11.

บรรณานุกรม

ก่อนหน้า สุรินทร์ พิศสุวรรณ ถัดไป
ออง เค็ง ยอง   เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(1 มกราคม พ.ศ. 2551 – 1 มกราคม พ.ศ. 2556)
  เล เลือง มิญ
ประจวบ ไชยสาส์น   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ครม. 53)
(14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  สุรเกียรติ์ เสถียรไทย