สุพรรณิการ์

สปีชีส์ของพืช

สุพรรณิการ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cochlospermum regium)[2] เป็นไม้ผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทุ่งหญ้าเขตร้อนแซราดู (Cerrado) ในทวีปอเมริกาใต้ (บริเวณประเทศบราซิล, โบลิเวีย, ปารากวัย)[1] และมี (ชื่อสามัญ Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood) แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สุพรรณิการ์มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกับฝ้ายคำมาก ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ ฝ้ายคำจะออกดอกเพียงชั้นเดียว มี 5 กลีบ และบานทีละดอก ในขณะที่สุพรรณิการ์จะมีทั้งชนิดที่ออกดอกชั้นเดียวและชนิดที่ออกดอกซ้อนกันเป็นกระจุกแน่น โดยบานพร้อม ๆ กัน[3]และสุพรรณิการ์ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสระบุรี

สุพรรณิการ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ชบา
วงศ์: วงศ์คำแสด
สกุล: Cochlospermum
(Mart. ex Schrank) Pilg.
สปีชีส์: Cochlospermum regium
ชื่อทวินาม
Cochlospermum regium
(Mart. ex Schrank) Pilg.
ชื่อพ้อง[1]
  • Maximilianea regia Schrank
  • Wittelsbachia insignis Mart. & Zucc.
  • Cochlospermum insigne A.St.-Hil.
  • Azeredia pernambucana Arruda ex Allemão
  • Maximilianea longirostrata Barb.Rodr.
  • Amoreuxia unipora Tiegh.
  • Cochlospermum trilobum Standl.
ดอกสุพรรณิการ์แบบซ้อน
ดอกสุพรรณิการ์แบบชั้นเดียวในบราซิล

ลักษณะทั่วไป แก้

เป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของประเทศพม่าด้วย ในประเทศศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถเพื่อเป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ ในประเทศไทยนิยมปลูกสุพรรณิการ์เป็นไม้ประดับ โดยได้รับการกำหนดให้เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครนายก และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก สระบุรี บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และอุทัยธานี[4][5][6]

สัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา แก้

ระเบียงภาพ แก้


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Kew World Checklist of Selected Plant Families
  2. ราชันย์ ภู่มา และสมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2557, หน้า 146.
  3. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. "สุพรรณิการ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.lib.ru.ac.th/about/supannikar.php [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.
  4. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. "สัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.buriram.go.th/bru/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=3 เก็บถาวร 2014-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2551. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.
  5. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. "สัญลักษณ์จังหวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.suphanburi.go.th/suphan/ProvinceSymbol.php[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.
  6. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. "ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.uthaithani.go.th/flowerUthai.htmlhttp://www.uthaithani.go.th/flowerUthai.html[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2558.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้