สุดสาคร

ตัวละครสุดสาคร

สุดสาคร คือ ตัวละครในเรื่องพระอภัยมนีโดยสุดสาครเป็นลูกของพระอภัยมณีกับนางเงือกที่ช่วยเหลือพระอภัยมณีหนีมายังเกาะแก้วพิสดาร สุดสาครเกิดที่เกาะแก้วพิสดารและอยู่เติบโตกับพระฤๅษี เมื่อโตขึ้นสุดสาครจึงออกตามหาพ่อ โดยมีม้านิลมังกรเป็นพาหนะ "แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มัน แสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด

สุดสาคร
ตัวละครใน พระอภัยมณี
สร้างโดยพระสุนทรโวหาร (ภู่)
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์ครึ่งมนุษย์ครึ่งเงือก
เพศชาย
ตำแหน่งกษัตริย์กรุงลังกา
คู่สมรสเสาวคนธ์
สุลาลีวัน
บุตรหัสกัน
ญาติพระอภัยมณี (พ่อ)
นางเงือก (แม่)
ท้าวสุทัศน์ (ปู่)
นางปทุมเกสร (ย่า)
พ่อนางเงือก (ตา)
แม่นางเงือก (ยาย)
ศรีสุวรรณ (อา)
บ้านเกิดเกาะแก้วพิสดาร
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด       ก็ไม่

คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน          บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน          เกิด

เป็นคนคิดเห็นจึงเจรจาฯ" เป็นบทกลอนที่ทำให้สุนทรภู่ต้องบวชเพื่อลี้ภัยทางการเมือง ไปยังวัดอนงค์คาราม เป็นนิยายแทนแฝงสัญลักษณ์ทางการเมือง

ประวัติสุดสาคร แก้

ณ เกาะแก้วพิสดาร นางเงือกได้ให้กำเนิดบุตรชายที่เกิดจากพระอภัยมณี ชื่อ สุดสาคร พระฤๅษีที่อยู่ในเกาะแก้วพิสดารได้เลี้ยงดูและสั่งสอนวิชาต่างๆ ให้สุดสาคร สุดสาครจึงออกเดินทางตามหาพระบิดา ที่ออกจากเกาะแก้วพิสดารไป โดยมีสัตว์พาหนะคู่ใจ คือ ม้านิลมังกร ทั้งสองได้หลงไปในเกาะผีสิง จึงต้องต่อสู้กับพวกผีทั้งหมดในเกาะเป็นเวลานานพอสมควร จนเกือบจะเสียท่า แต่ก็รอดมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากพระฤๅษีเกาะแก้วพิสดาร

หลังจากนั้นสุดสาครได้เดินทางต่อจนพบกับชีเปลือย และถูกชีเปลือยล่อลวงเอาม้านิลมังกรและไม้เท้าวิเศษจนถูกผลักตกหน้าผา เดชะบุญที่สุดสาครไม่ตายจึงกลับมาชิงไม้เท้าวิเศษคืนไปได้ที่เมืองแห่งหนึ่ง เจ้าเมืองแห่งนั้นได้รับอุปการะสุดสาครไว้เป็นลูกบุญธรรม จนสุดสาครโตขึ้น จึงออกเดินทางตามหาพระบิดาต่อ โดยครั้งนี้เจ้าเมืองการเวกให้เสาวคนธ์และหัสชัยซึ่งเป็นพระโอรสและพระธิดาของพระองค์ พร้อมทั้งกองเรือรบจำนวนหนึ่งออกเดินทางไปกับสุดสาครด้วย ระหว่างทางกองเรือของสุดสาครถูกฝูงผีเสื้อยักษ์โจมตีและจับตัวเอาเสาวคนธ์และหัสชัยไป สุดสาครติดตามไปสังหารผีเสื้อยักษ์และชิงตัวทั้งสองคนกลับคืนมาได้สำเร็จและเดินทางออกตามหาพระบิดาต่อไป

วัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

เรื่องราวของสุดสาครได้นำมาถ่ายทอดในสื่อต่างๆคือ

ดูเพิ่ม แก้