สุชาติ ธาดาธำรงเวช

ศาสตราจารย์ สุชาติ ธาดาธำรงเวช (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2495) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
ถัดไปพงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ถัดไปกรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าสมหมาย ภาษี
ถัดไปประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ก่อนหน้าบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ
ถัดไปยงยุทธ วิชัยดิษฐ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2538–2544)
ชาติไทย (2544–2546)
ไทยรักไทย (2546–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561,2562–ปัจจุบัน)​
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสวัชรี ธาดาธำรงเวช

ประวัติ แก้

สุชาติ ธาดาธำรงเวช เกิดวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2495 ที่จังหวัดพระนคร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ รุ่นที่ 77 เลขประจำตัว 8293 จบการศึกษาเศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ The London School of Economics and Political Science สหราชอาณาจักร ปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา ประกาศนียบัตรเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย(University of East Anglia) สหราชอาณาจักร ปริญญาบัตรหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 1 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

สุชาติสมรสกับวัชรี ธาดาธำรงเวช (สกุลเดิม พิพัฒน์ประทานพร) นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มีบุตร 2 คน คือ กรกฎ จัสติน ธาดาธำรงเวช และอรณิชา ธาดาธำรงเวช

ประวัติการทำงาน แก้

สุชาติรับราชการเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2534 นอกจากนั้นยังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ๆ อีกหลายหน่วยงาน ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค กรรมการและกรรมการตรวจสอบ ธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรรมการการประปานครหลวง

สุชาติได้รับตำแหน่งทางวิชาการ เป็นศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1] และได่รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2555

งานการเมือง แก้

สุชาติเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 10 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้คะแนนลำดับที่ 7 [2] ต่อมาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2546 และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช[3] ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ต่อมาสุชาติได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการยุบพรรคพลังประชาชนดังเช่นปัจจุบัน

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 สมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกระทำผิดรัฐธรรมนูญ และได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเลือก และในรัฐบาลนี้สุชาติได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วยเช่นกัน[4]

ต่อมาเมื่อมีการยุบพรรคพลังประชาชนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 สมาชิกพรรคพลังประชาชนส่วนหนึ่งจึงได้ย้ายเข้ามาสังกัดพรรคเพื่อไทยซึ่งมีสุชาติเป็นหัวหน้าพรรค

สุชาติเป็นประธานในการเปิด “หมู่บ้านเสื้อแดง เพื่อประชาธิปไตย” ที่บ้านนามั่ง ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี[5] และเข้าร่วมชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อปี พ.ศ. 2553[6] พร้อมกล่าวโจมตีรัฐบาลในขณะนั้น

สุชาติได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2) เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 112[8]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 19 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 16ง วันที่ 16 มกราคม 2555
  2. "ผลการเลือกตั้งส.ส.กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2538" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-02. สืบค้นเมื่อ 2022-02-02.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-17. สืบค้นเมื่อ 2011-09-06.
  6. http://www.newworldbelieve.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539116098&Ntype=76
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๖๐, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า สุชาติ ธาดาธำรงเวช ถัดไป
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
(24 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  กรณ์ จาติกวณิช
วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 60)
(18 มกราคม พ.ศ. 255528 ตุลาคม พ.ศ. 2555)
  พงศ์เทพ เทพกาญจนา
บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ    
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(21 กันยายน พ.ศ. 2551 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
  ยงยุทธ วิชัยดิษฐ