สุขภาพจิตเป็นระดับความเป็นอยู่ดีทางจิตใจ หรือการปลอดโรคทางจิต เป็น "สถานะทางจิตของบุคคลที่ทำหน้าที่ได้ในระดับการปรับตัวได้ทางอารมณ์และพฤติกรรมที่น่าพอใจ" จากทัศนะจิตวิทยาเชิงบวกหรือสัมพฤตินิยม (holism) สุขภาพจิตอาจรวมความสามารถของบุคคลในการมีความสุขกับชีวิต และสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมชีวิตและความพยายามบรรลุความยืดหยุ่นทางจิตวิทยา องค์การอนามัยโลกระบุว่า สุขภาพจิตรวม "ความเป็นอยู่ดีอัตวิสัย การก่อผลตนเองที่รับรู้ อัตตาณัติ ความสามารถ การพึ่งระหว่างรุ่นและความตระหนักในศักยภาพตนในด้านปัญญาและอารมณ์ เป็นต้น"[1] องค์การอนามัยโลกยังกล่าวอีกว่า ความเป็นอยู่ดีของปัจเจกบุคคลรวมอยู่ในการตระหนักถึงความสามารถของตน การจัดการกับความเครียดปกติของชีวิต การทำงานและการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ต่อชุมชนของพวกเขา[2] ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การประเมินอัตวิสัย และทฤษฎีของมืออาชีพที่ขัดกันล้วนมีผลต่อการนิยาม "สุขภาพจิต" ทั้งสิ้น[3]

อ้างอิง แก้

  1. "The world health report 2001 – Mental Health: New Understanding, New Hope" (PDF). WHO. สืบค้นเมื่อ 4 May 2014.
  2. "Mental health: strengthening our response". World Health Organization. August 2014. สืบค้นเมื่อ 4 May 2014.
  3. Edmonds, David Matthew; Zayts-Spence, Olga; Fortune, Zoë; Chan, Angus; Chou, Jason Shang Guan (2024-03-04). "A scoping review to map the research on the mental health of students and graduates during their university-to-work transitions". BMJ Open (ภาษาอังกฤษ). 14 (3): e076729. doi:10.1136/bmjopen-2023-076729. ISSN 2044-6055.