สิริกิติยา เจนเซน

พระธิดาพระองค์เล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน หรือ สิริกิตติยา ใหม่ เจนเสน[4][5] (นามเดิม: ใหม่ เจนเซน; เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว


สิริกิติยา เจนเซน

เกิดใหม่ เจนเซน
18 มีนาคม พ.ศ. 2528 (39 ปี)
แซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
อาชีพข้าราชการกรมศิลปากร[1][2]
บุพการีปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สิริกิติยา" โดยนำมาจากพระนามของสมเด็จยาย คือ "สิริกิติ์"

ประวัติ แก้

ชีวิตตอนต้นและการศึกษา แก้

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน หรือ สิริกิตติยา เจนเสน มีนามเดิมว่า ใหม่ เจนเซน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2528 เมืองแซนดีเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน มารดาเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ท่านผู้หญิงสิริกิติยามีพี่สาวและพี่ชาย คือท่านผู้หญิงพลอยไพลินและคุณพุ่ม เจนเซน[6][7][8]

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเกิดและเติบโตในแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาได้ศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเอิร์ลวอร์เรนจูเนียร์ (Earl Warren Junior High School) และโรงเรียนมัธยมศึกษาทอร์เรย์ไพนส์ (Torrey Pines High School)[9] ในช่วงปี พ.ศ. 2541 บิดาและพระมารดาได้หย่าร้างกัน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมด้วยคุณพุ่ม พี่ชาย ส่วนท่านผู้หญิงสิริกิติยายังคงพำนักอยู่ในแซนดีเอโกร่วมกับบิดา จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2543 ต่อมาท่านผู้หญิงพลอยไพลินพี่สาวได้ย้ายที่อยู่ไปยังเมืองแซนดีเอโกและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาแคลิฟอร์เนียแซนดีเอโกจนสำเร็จการศึกษา ส่วนท่านผู้หญิงสิริกิติยาก็ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์[10] ต่อมาได้ตัดสินย้ายไปอยู่นิวยอร์กเพียงลำพังเพื่อศึกษาต่อ[11] จนสำเร็จการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สาขาการศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออก[12] โดยท่านผู้หญิงสิริกิติยาเคยกล่าวถึงไว้ว่า "...เราเลือกเรียนด้านประวัติศาสตร์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เน้นจีนกับญี่ปุ่นมากหน่อย เพราะชอบ พยายามตั้งใจเรียน เพราะรู้ว่าตัวเองไม่ได้ฉลาดตามธรรมชาติเหมือนคนอื่น..." และ "...เมื่ออยากได้งานดี ๆ จึงต้องเรียนให้ได้คะแนนดี อีกอย่างค่าเรียนแพง ต้องตั้งใจเรียน จะได้คุ้ม..."[13]

การทำงาน แก้

หลังสำเร็จการศึกษา ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ทำงานด้านแฟชั่นโดยเป็นคนฝึกงานของโยจิ ยามาโมโตะ (Yohji Yamamoto) นักออกแบบชาวญี่ปุ่น และทำงานกับแอร์เมส (Hermes)[14] เพราะอยากใช้ความคิดสร้างสรรค์ระหว่างทำงาน และมองว่างานแฟชั่นคือสิ่งที่สนุกที่สุด[11] ต่อมาทำงานอิสระโดยเปิดเว็บไซต์ที่รวมเว็บไซต์โฆษณา[15]

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสนใจงานภัณฑารักษ์ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันตั้งแต่ทำงานที่แอร์เมส[11] หลังกลับเข้ามาพำนักในไทย จึงเข้าฝึกงานในกลุ่มงานวิชาการการอนุรักษ์ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2559 และหลังจากฝึกงานเสร็จก็ได้รับการบรรจุเป็นเข้าข้าราชการระดับ 3 ของหน่วยงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[1][2] ในตำแหน่งนักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ช่วยราชการที่สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร[11] ในปี พ.ศ. 2560 ท่านผู้หญิงสิริกิติยารับหน้าที่ดูแลการก่อสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะข้าราชการ[16] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาเป็นผู้อำนวยการโครงการ "วังน่านิมิต" ซึ่งเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล[11][14][17] ซึ่งจัดแสดงโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในรูปแบบภาพ (visual language)[18] เธอกล่าวเกี่ยวกับความเป็นมานิทรรศการนี้ว่า "...นิทรรศการนี้จึงทำขึ้นด้วยความตั้งใจที่อยากให้เด็กรุ่นใหม่เห็นว่าประวัติศาสตร์กับปัจจุบันไปด้วยกันได้ และให้รู้สึกว่าประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ไกลจากตัว"[19]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโบราณสถานสำคัญต่าง ๆ ในเมืองสงขลา ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา, เขาตังกวน, เกาะยอ, สถาบันทักษิณคดีศึกษา, วัดมัชฌิมาวาส และมัสยิดอุสาสนอิสลาม[20][21] เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เมืองสงขลาเป็นเมืองมรดกโลก[22][23][24][25]

วันที่ 6 มีนาคม – 28 เมษายน 2562 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาร่วมกับนาตาลี บูแตง และแมรี่ ปานสง่าจัดโครงการ "วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งการเวลา" และนิทรรศการ "นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน" ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มเติมชิ้นงานของผู้คนที่โดดเด่นจากวงการต่าง ๆ 20 คน และหนึ่งคณะนักร้องประสานเสียง สร้างชิ้นงานที่สื่อถึงวังหน้าตามความถนัด[26]

วันที่ 1 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย Hundred Years Between ที่บอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของท่านผู้หญิงสิริกิติยา กับการตามรอยเสด็จประพาสรัชกาลที่ 5 ที่นอร์เวย์ ในวาระครบรอบ 115 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-นอร์เวย์ พ.ศ. 2563 ด้วยการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกจากการเดินทางไปยังจุดเหนือสุดแห่งทวีปยุโรป ของทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตัวท่านผู้หญิงเองด้วยจดหมาย 4 ฉบับเขียนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเสด็จฯ ถึงยังสถานที่เดียวกัน หากแต่คั่นด้วยเวลา 113 ปี ซึ่งภายหลังถูกรวบรวมเป็นบทพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน [27][28]

กิจกรรมกับพระราชวงศ์ แก้

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาได้ร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนไทยที่พำนักในสหรัฐอเมริกาในวาระสำคัญต่าง ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[29] และเป็นเจ้าภาพในงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตของวัดวชิรธรรมปทีป ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก[30] เป็นต้น

ส่วนในประเทศไทย ท่านผู้หญิงสิริกิติยามักโดยเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[31][32] ซึ่งเคยตามเสด็จเพื่อร่วมบรรยายในวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[33] หรือโดยเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีขณะประกอบพระกรณียกิจบ่อยครั้ง[34][35] และมีบ้างที่ออกไปปฏิบัติงานเพียงคนเดียว เช่น ในพระราชพิธีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ท่านผู้หญิงสิริกิติยาก็ได้มอบของแก่ประชาชนที่ร่วมเข้ามาสักการะพระบรมศพด้วย[36] และอื่น ๆ[37]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษฝ่ายในและเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 2 แก่คุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา เจนเซน[38] ทั้งสองได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ท่านผู้หญิง"[39][40]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ท่านผู้หญิงสิริกิติยากล่าวว่าตนเองขี้อาย[11] แต่พูดตรงไปตรงมาไม่เสแสร้ง[14] ทั้งยังใช้ภาษาไทยได้ดีแม้ว่าจะไม่ได้พูดมาเป็นระยะเวลานานก็ตาม[15] รักการเดินทางไปยังสถานที่หรือประเทศต่าง ๆ[11][14] ชื่นชอบภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง มหาศึกชิงบัลลังก์[11][14] เธอสนใจประวัติศาสตร์และศิลปะลัทธิประทับใจ และมักเพิ่มเติมความรู้ที่พิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ยังเรียนที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก[13] นอกจากนี้โปรดปรานในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการวิ่ง ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำ โดยถนัดกีฬาชนิดหลังที่สุด จากเดิมที่ไม่ชอบออกกำลังกาย และชอบการออกเที่ยวและดื่ม โดยให้เหตุผลว่า "น้องใหม่มีความสุขมากจริง ๆ นี่คือข้อดีของการเล่นกีฬา มันสอนเราเราให้รู้ว่าไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ"[15] เธอเลี้ยงแมวตัวหนึ่งชื่อปลาทู[3]

ท่านผู้หญิงสิริกิติยานับถือศาสนาพุทธ และกล่าวเกี่ยวกับศาสนาไว้ว่า "หลายคนคิดว่าศาสนาพุทธคือการไปวัดแล้วขอพร...แต่สำหรับเราศาสนาพุทธไม่ได้เป็นแบบนั้น ไม่ได้สอนว่าขอ [พร] แล้วจะได้ แต่สอนให้มีสติ..."[11]

ในปี พ.ศ. 2547 ท่านผู้หญิงสิริกิติยาและคุณพุ่ม พี่ชายได้ตามเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีท่องเที่ยวที่เขาหลัก จังหวัดพังงา แต่ทว่าได้เกิดเหตุการณ์คลื่นสึนามิเนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ซึ่งขณะที่เกิดเหตุนั้น ท่านผู้หญิงสิริกิติยากำลังเล่นน้ำทะเล เมื่อเห็นคลื่นยักษ์กำลังจะซัดเข้ามาจึงรีบหนี ก่อนถูกคลื่นใหญ่ซัดเข้าไปที่ต้นสน เธอจึงเกาะต้นสนนั้นไว้แน่นเพื่อเอาตัวรอด แต่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้คุณพุ่มถึงแก่อนิจกรรม[41]

เกียรติยศ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

ปริญญากิตติมศักดิ์ แก้

ปี ปริญญากิตติมศักดิ์ สถาบัน อ้างอิง
2565 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาประวัติศาสตร์และมรดกไทย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต [45]

สิ่งอันเนื่องด้วยนาม แก้

  • ห้องประชุมสิริกิติยา อาคารอุบลรัตนราชกัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "คุณใหม่ สิริกิติยา บรรจุเป็นข้าราชการสำนักสถาปัตย์ฯ กรมศิลปากร ซี 3". มติชนออนไลน์. 4 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ลุยงานเต็มที่..ภาพล่าสุด 'คุณใหม่ สิริกิติยา' เดินเก็บข้อมูลที่ จ. เพชรบูรณ์ ในอิริยาบถสุดเรียบง่าย". แพรว. 24 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "ชีวิตนอกวัง "ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน" นักเดินทางหญิงแกร่ง สายแบ็กแพ็คเกอร์". แพรว. 29 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "IN RE MARRIAGE OF JENSEN". Leagle. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "IN RE: the MARRIAGE of Julie and Peter JENSEN". FindLaw. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2556. ...Sirikittiya Mai, born in 1985... {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
  7. "Paploy.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
  8. คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ, นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ 2625 ปีที่ 51 ประจำวัน อังคาร ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548
  9. Former Del Mar resident and Thai royal is among tsunami dead
  10. "Prince dies in tsunami, was grad of Torrey Pines". The San Diego Union-Tribune. December 30, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-09-19.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8 ทรงกลด บางยี่ขัน (15 มิถุนายน 2561). "คุณใหม่ เจนเซน นักประวัติศาสตร์ที่ขี่จักรยาน ปีนเขา ถ่ายรูปด้วยเลนส์เก่า และชอบคุยกับคน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Paploy.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-07. สืบค้นเมื่อ 2006-08-30.
  13. 13.0 13.1 "ชีวิตนอกวังสุดสมถะ "คุณใหม่ สิริกิติยา" ก่อนจะมาเป็นข้าราชการกรมศิลป์". แพรว. 8 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 สาวิตรี สุทธิชานนท์ (23 พฤษภาคม 2561). "คุณใหม่ เจนเซน "ความยากของการเล่าประวัติศาสตร์คือ ทำอย่างไรให้ผู้คนรู้สึกเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขามองไม่เห็นอีกต่อไปแล้ว"". The Standard. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. 15.0 15.1 15.2 อรณา. "คุณสิริกิติยา เจนเซน คุณใหม่คนใหม่". พลอยแกมเพชร. 25, 579 (15 มีนาคม 2559), หน้า 169-176
  16. ""คุณสิริกิติยา" ในฐานะข้าราชการกรมศิลป์ กับการทำหน้าที่ถวายงาน "สมเด็จตา" ครั้งสุดท้าย". ข่าวสด. 21 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. สราญรัตน์ ไว้เกียรติ (13 มิถุนายน 2561). "วังน่านิมิต: เรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในนิทรรศการ สู่การรื้อฟื้นอาคารในวันวานให้หวนคืน". The Standard. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "นำเทคโนโลยีผสานประวัติศาสตร์กับปัจจุบัน บอกเล่าเรื่องราวของ วังหน้า". ไทยรัฐออนไลน์. 12 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "'คุณใหม่' เปิดนิทรรศการ 'วังน่านิมิต' ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงประวัติศาสตร์-ปัจจุบัน". มติชนออนไลน์. 9 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "สุดปลาบปลื้ม! คุณใหม่ เยี่ยมชมสถาปัตยกรรม ณ วัดมัชฌิมาวาสพร้อมเดินทางเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง". ข่าวเมืองน่าน. 25 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  21. "งดงาม! คุณสิริกิติยา เจนเซน สวมผ้าคลุมเยี่ยมชมมัสยิดอุสาสนอิสลาม". มุสลิมไทยโพสต์. 26 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "คุณสิริกิติยา ลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ-เขาตังกวน ส่งเสริมเมืองสงขลาก้าวสู่เมืองมรดกโลก". กิมหยงดอตคอม. 24 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "คุณสิริกิติยา เยี่ยมชมสถาบันทักษิณฯ และวัดท้ายยอ หวังร่วมผลักดันสงขลาสู่เมืองมรดกโลก". กิมหยงดอตคอม. 26 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด และวสันต์พรรษ จำเริญนุสิต (23 กรกฎาคม 2561). "คุณสิริกิติยา เจนเซน ลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ-เขาตังกวน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อส่งเสริมเมืองสงขลาก้าวสู่เมืองมรดกโลก". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "เจ้าหญิงนักประวัติศาสตร์ เยือนเมืองเก่าสงขลา". สยามรัฐออนไลน์. 26 กรกฎาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-27. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. กรณิศ รัตนามหัทธนะ (4 มีนาคม 2562). "'วังหน้านฤมิตฯ' เปิดประวัติศาสตร์ซับซ้อนของวังหน้าใน 16 มุมมองศิลปินด้วยภาษาใหม่". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "อ่านจดหมาย 4 ฉบับที่คุณใหม่เขียนถึง ร.5 ในวาระไปเยือนที่เดียวกันแต่ห่างกัน 113 ปี". The Cloud. 11 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563.
  28. "ตามคุณใหม่ไปนอร์เวย์ทำ Hundred Years Between เล่าประวัติศาสตร์ผ่านรูปถ่ายและเขียนจม.ถึงร.5". The Cloud. 1 กุมภาพันธ์ 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563.
  29. "ที่นี่จาก USA ประจำอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2556". เดลินิวส์. 15 ธันวาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-22. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "ภาพคุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซ่น ร่วมพิธีผูกพัทธสีมา-ฝังลูกนิมิต วัดวชิรธรรมปทีป ลองไอร์แลนด์ นิวยอร์ก วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553". อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอตคอม. 12 กรกฎาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พร้อมด้วยคุณสิริกิติยา เจนเซน เปิดโรงพยาบาลสิริโรจน์". โรงพยาบาลสิริโรจน์. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  32. "งานจิตรลดาเดินเฉลิมพระเกียรติ". วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. ทรงกลด บางยี่ขัน (13 มีนาคม 2562). "บทสัมภาษณ์เรื่องประวัติศาสตร์ครั้งประวัติศาสตร์ของสมเด็จพระเทพรัตนฯ โดยคุณใหม่ เจนเซน". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันคล้ายวันประสูติ". สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. 5 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  35. ""ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน" ทรงไม่ถือพระองค์ต่อพสกนิกร". คมชัดลึก. 13 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. ""คุณใหม่" สิริกิติยา มอบเสื้อดำให้ประชาชนที่มาถวายสักการะ". คมชัดลึก. 4 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "'คุณใหม่-สิริกิติยา' ร่วมงาน '25 ปีมรดกโลก' ที่อุทยานฯ สุโขทัย". ไทยรัฐออนไลน์. 12 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "รัชกาลที่ 10 พระราชทานเครื่องราชฯ แก่คุณพลอยไพลินและคุณสิริกิติยา". Hello Magazine. 8 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ดังนี้". ช่อง 7 เอชดี. 28 กรกฎาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. "งดงาม "ท่านผู้หญิงสิริกิติยา" สวมชุดผ้าไหมมัดหมี่ สืบสานงานสมเด็จพระพันปีหลวง". แพรว. 9 สิงหาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. "รายงานพิเศษ : ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาฯ กับนาทีชีวิตของ 'คุณพุ่ม'". มติชนสุดสัปดาห์. 26 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
  43. 43.0 43.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  44. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑, ๔ มีนาคม ๒๕๔๘
  45. "ทูลกระหม่อมฯ พระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา". มติชนออนไลน์. 23 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)