สารระเหย (อังกฤษ: inhalant) เป็นกลุ่มสารเคมีในครัวเรือนและอุตสาหกรรมหลายชนิดซึ่งไอระเหยหรือแก๊สอัดความดันสามารถทำให้เข้มข้นและสูดหายใจเข้าไปทางจมูกหรือปากเพื่อให้เกิดภาวะพิษได้ (หรือภาษาแสลงว่า "เมา") ในทางที่ผู้ผลิตมิได้ตั้งใจให้ใช้ มีการหายใจสารระเหยเข้าที่อุณหภูมิห้องผ่นการกลายเป็นไอ (ในกรณีของแกโซลีนหรืออะซีโตน) หรือจากบรรจุภัณฑ์อัดความดัน (เช่น ไนตรัสอ็อกไซด์หรือบิวเทน และไม่รวมยาที่สูดหลังเผาหรือให้ความร้อน ตัวอย่างเช่น เอมิลไนไตรต์ (ป็อปเปอร์) ไนตรัสอ็อกไซด์และโทลูอีน ซึ่งเป็นตัวทำละลายที่ใช้อย่างกว้างขวางในคอนแท็กต์ซีเมนต์ (contact cement) ปากกาเคมีชนิดลบไม่ได้ และกาวบางชนิด ถือเป็นสารระเหย แต่การสูบยาสูบ กัญชาและโคเคนไม่ใช่สารระเหย แม้ยาเหล่านี้สูดดมเข้าไปเมื่อสูบเช่นกัน[1][2]

สารระเหย
ผลิตภัณฑ์ในบ้านทั่วไปอย่างยาทาสีเล็บมีตัวทำละลายที่สามารถทำให้เข้มข้นและสูดได้เพื่อก่อให้เกิดภาวะพิษในทางที่ผู้ผลิตมิได้ตั้งใจ การใช้ผลิตภัณฑ์แบบนี้อาจเป็นอันตรายหรือถึงตายได้
สาขาวิชาพิษวิทยา

แม้วิชาชีพแพทย์มีการจ่ายสารระเหยบางชนิด และใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ เช่น ยาสลบชนิดสูดและไนตรัสอ็อกไซด์ แต่บทความนี้จะเน้นการใช้สารขับเคลื่อนในครัวเรือนและอุตสาหกรรม กาว เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อื่นในทางที่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจให้ใช้ เพื่อให้เกิดภาวะพิษหรือผลออกฤทธิ์ต่อประสาทอย่างอื่น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีใช้เป็นยาเพื่อนันทนานการสำหรับผลภาวะพิษของมัน ในรายงานของสถาบันการใช้ยาเสพติดแห่งชาติของสหรัฐปี 2538 ผู้ใช้สารระเหยที่รุนแรงที่สุด ได้แก่ เด็กและวัยรุ่นไร้บ้านซึ่ง "ไม่มีครอบครัว"[3] สารระเหยเป็นสารชนิดเดียวที่วัยรุ่นอายุน้อยใช้มากกว่าวัยรุ่นอายุมากกว่า[4] ผู้ใช้สารระเหยสูดไอหรือแก๊สขับเคลื่อนละอองฝอยโดยใช้ถงพลาสติกครอบไว้เหนือปากหรือโดยหายใจจากผ้าที่ชุบตัวทำละลายหรือสูดจากภาชนะเปิด

ผลของสารระเหยมีตั้งแต่ภาวะพิษคล้ายแอลกอฮอลและภาวะครึ้มใจอย่างเข้มไปจนถึงประสาทหลอนชัดเจนขึ้นอยู่กับสารและขนาดที่ใช้ ผู้ใช้สารระเหยบางคนได้รับบาดเจ็บเนื่องจากผลเป็นอันตรายของตัวทำละลายหรือแก๊ส หรือเนื่องจากสารเคมีอื่นที่ใชในผลิตภัณฑ์ที่สูด สำหรับยาที่ใช้เพื่อนันทนาการ ผู้ใช้อาจได้รับบาดเจ็บจากพฤติกรรมอันตรายขณะเป็นพิษ เช่น ขับยานพาหนะโดยอยู่ภายใต้อิทธิพลของสารระเหย ในบางกรณีผู้ใช้เสียชีวิตจากภาวะออกซิเจนต่ำในเลือด ปอดบวม หัวใจล้มเหลวหรือหยุด[5] หรือการสำลักอาเจียน การบาดเจ็บของสมองมักเกิดในผู้ใช้ตัวทำละลายระยะยาว[6]

อ้างอิง แก้

  1. Michael B. First; Allan Tasman (2 October 2009). Clinical Guide to the Diagnosis and Treatment of Mental Disorders. John Wiley and Sons. p. 203. ISBN 978-0-470-74520-5. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
  2. Sharp, Charles W; Rosenberg, Neil L (2005). "Inhalants". ใน Lowinson, Joyce H; Ruiz, Pedro; Millman, Robert B; Langrod, John G (บ.ก.). Substance Abuse: A Comprehensive Textbook (4th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 0-7817-3474-6. สืบค้นเมื่อ 2 December 2010.
  3. "Epidemiology of Inhalant Abuse: An International Perspective" เก็บถาวร 2016-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF), National Institute on Drug Abuse, NIDA Research Monograph 148, 1995
  4. Abuse, National Institute on Drug. "Inhalants". สืบค้นเมื่อ 19 July 2017.
  5. "Inhalants – Facts and Statistics". Greater Dallas Council on Alcohol & Drug Abuse. 4 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2009.
  6. "Inhalants: Background, Pathophysiology, Epidemiology". 5 May 2017. สืบค้นเมื่อ 19 July 2017 – โดยทาง eMedicine. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)