สายกาจัง

รถไฟฟ้าสายแรกที่เปิดให้บริการในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
(เปลี่ยนทางจาก สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง)

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายกาจัง (อังกฤษ: MRT Kajang line ;KGL)[4][5] หรือชื่อเดิม สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินที่เปิดให้บริการในเขตกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล สายนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง

สายกาจัง
Semantan Platform 1 viewing KLCC at the background.
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อลำลองMRT Laluan Kajang
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของMRT Corp
หมายเลขสาย9 (สีเขียว)
ที่ตั้งหุบเขากลัง
ปลายทาง
จำนวนสถานี29 & 3 สำรอง
เว็บไซต์myrapid.com.my
การดำเนินงาน
รูปแบบระบบขนส่งมวลชนเร็ว
ระบบRapid KL (brand) Rapid KL
เส้นทางกวาซาดามันซารากาจัง
ผู้ดำเนินงานรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
ศูนย์ซ่อมบำรุงสุไหง บูโละฮ์ และ กาจัง
ขบวนรถซีเมนส์ อินสไปโร
58 ขบวนต่อ 4 ตู้
กว้าง: 3.1 m (10 ft) - หน้ากว้าง
ยาว: 90.18 m (295.9 ft)[1]
ผู้โดยสารต่อวัน203,709 (2023)[2]
ผู้โดยสาร66.5 ล้าน (2023)
ประวัติ
เปิดเมื่อระยะ 1:
16 ธันวาคม 2016; 7 ปีก่อน (2016-12-16)[3]
สุไหง บูโละฮ์  KG01 [note 1]เซอมันตัน  KG14 
ระยะ 2:
17 กรกฎาคม 2017; 6 ปีก่อน (2017-07-17)
มูซีมัมเนอการา  KG15 กาจัง  KG31 
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง47 km (29 mi)
ยกระดับ: 37.5 km (23.3 mi)
ใต้ดิน: 9.5 km (5.9 mi)
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ750 V DC รางที่สาม
ระบบการนำไฟฟ้าอัตโนมัติและไร้คนขับ
ความเร็ว100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง)

ประวัติ แก้

สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง เป็นหนึ่งในโครงการเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสามสายในเขตหุบเขากลัง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าว 36 พันล้านริงกิต[6]

เส้นทางเริ่มต้นจากตำบลซูไงบูโละฮ์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัวลาลัมเปอร์ ผ่านใจกลางกรุง ไปสิ้นสุดที่เมืองกาจัง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกัวลาลัมเปอร์ คาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้งานประมาณ 1.2 ล้านคนต่อปี[6] การก่อสร้างระยะที่ 1 เริ่มจากซูไงบูโละฮ์ ไปสิ้นสุดที่เซอมันตัน ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2016 ส่วนระยะที่ 2 สร้างจากเซอมันตัน ไปสิ้นสุดที่กาจัง ซึ่งจะเปิดให้บริการในกรกฎาคม ค.ศ. 2017[6]

เดิมที สายนี้เป็นสายรถไฟฟ้ารางเบา ระยะทาง 43 กิโลเมตร วิ่งจากตำบลดามันซารา ไปยังตำบลเชรัส ต่อมาได้ขยายเส้นทางไปยังซูไงบูโละฮ์ และกาจัง ซึ่งเพิ่มระยะทางอีก 8.8 กิโลเมตร และได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟใต้ดิน ซึ่งจุผู้โดยสารได้มากกว่า[7]

สายนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะดำเนินการโดยบริษัทแรพิดเรล[8]

ข้อมูลทั่วไป แก้

การจัดขบวน แก้

รถไฟฟ้าสายนี้มีระยะทาง 51 กิโลเมตร วิ่งจากตำบลซูไงบูโละฮ์ ไปสิ้นสุดที่เมืองกาจัง เมื่อเปิดใช้งาน คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 1.2 ล้านคน รถไฟฟ้าเป็นแบบ 4 คันต่อขบวน จุผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อขบวนต่อทิศทาง และใน 1 วันจะมีผู้โดยสารใช้บริการทั้งหมด 400,000 คน ความถี่รถไฟฟ้า 3.5 นาที[9]

การปรับแก้ไขเส้นทางและสถานี แก้

หลังจากที่โครงการนี้ได้นำเสนอเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเส้นทางและสถานีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[10]

  • ลดจำนวนสถานีจาก 35 สถานี เหลือเพียง 31 สถานี โดยมีสถานีสำรองในอนาคตอีก 3 สถานี ได้แก่
    • สถานี RRI อยู่ระหว่างสถานีกัมปงเซอลามัต–กวาซาดามันซารา
    • สถานีเทคโนโลยี อยู่ระหว่างสถานีกวาซาเซ็นทรัล–โกะตะดามันซารา
    • สถานีบูกิตเกียรา อยู่ระหว่างสถานีฟีลีดามันซารา–ปูซัตบันดาร์ดามันซารา
  • สถานีเซกชัน 17 ถูกยกเลิก
  • สถานี TTDI ถูกย้ายจากที่ตั้งเดิม 300 เมตร เนื่องจากติดย่านที่พักอาศัย[11]
  • สถานีบูกิตบินตังตะวันออก และบูกิตบินตังตะวันตก ถูกยุบรวมเป็นสถานีเดียวกัน มีชื่อว่า "สถานีบูกิตบินตัง"
  • ที่จอดรถถูกเพิ่มจาก 13 เป็น 16 แห่ง
  • ยกเลิกสถานีตามันเมสรา

รายชื่อสถานี แก้

จะมี 31 สถานี โดยมีสถานีใต้ดินอยู่ 7 สถานี ช่วงทางใต้ดินยาว 9.5 กิโลเมตร[9] (แผนที่เส้นทาง เก็บถาวร 2014-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)[12] การเรียกชื่อสถานีบนขบวนรถ จะแตกต่างจะชื่อทางการเล็กน้อย[13] อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

รหัส ชื่อทางการ ชื่อทั่วไป ประเภทชานชาลา โครงสร้าง ที่จอดรถ จุดเปลี่ยนเส้นทาง/หมายเหตุ
ระยะที่ 1 – เปิดในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี ค.ศ. 2016
S01 ซูไงบูโละฮ์ ซูไงบูโละฮ์ ปลายทาง ยกระดับ 1 สายเซอเริมบัน, เคทีเอ็ม อีทีเอส, รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม
S02 กัมปงเซอลามัต กัมปงบาห์รูซูไงบูโละฮ์ ด้านข้าง ยกระดับ
S03 RRI ด้านข้าง ยกระดับ สถานีสำรองในอนาคต
S04 กวาซาดามันซารา โกะตะดามันซารา เกาะกลางซ้อนกัน ยกระดับ 11 สายซูไงบูโละฮ์-เซอร์ดัง-ปูตราจายา
S05 เติกโนโลกี ด้านข้าง ยกระดับ สถานีสำรองในอนาคต
S06 กวาซาเซ็นทรัล ตามันอินดัสตรีซูไงบูโละฮ์ ด้านข้าง ยกระดับ
S07 โกะตะดามันซารา PJU5 ด้านข้าง ยกระดับ
S08 ซูเรียน ดาตารันซันเวย์ ด้านข้าง ยกระดับ
S09 มูเตียราดามันซารา เดอะเคิร์ฟ ด้านข้าง ยกระดับ
S10 บันดาร์อูตามา อูนามา 1 ด้านข้าง ยกระดับ 10 สายชาห์อลัม
S11 TTDI TTDI ด้านข้าง ยกระดับ
S12 ฟีโลดามันซารา เซิกซเยน 16 เกาะกลาง ยกระดับ
S13 บูกิตเกียรา ด้านข้าง ยกระดับ สถานีสำรองในอนาคต
S14 ปูซัตบันดาร์ดามันซารา ปูซัตบันดาร์ดามันซารา ด้านข้าง ยกระดับ
S15 เซอมันตัน เซอมันตัน ด้านข้าง ยกระดับ
ระยะที่ 2 – เปิดในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2017
S16 มูซีมัมเนอการา เคแอลเซ็นทรัล เกาะกลาง ใต้ดิน 1 สายเซอเริมบัน, 2 สายพอร์ตกลัง, 5 สายเกอลานาจายา, 6 เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส, 7 เคแอลไอเอ แทรนสิต, 8 เคแอลโมโนเรล
ธีมพิเศษ: ประวัติระบบขนส่งมวลชน
S17 ปาซาร์เซอนี ปาซาร์เซอนี เกาะกลาง ใต้ดิน 5 สายเกอลานาจายา, 1 สายเซอเริมบัน, 2 สายพอร์ตกลัง
ธีมพิเศษ: จุดรวมแม่น้ำสองสาย
S18 เมอเดกา เมอเดกา เกาะกลาง ใต้ดิน 3 สายอัมปัง, 4 สายศรีเปอตาลิง[14]
ธีมพิเศษ: อิสรภาพ
S19 บูกิตบินตัง บูกิตบินตังเซ็นทรัล แยกกัน ใต้ดิน 8 เคแอลโมโนเรล[15][16]
ธีมพิเศษ: พลวัต
S20 ตลาดหลักทรัพย์ตุนราซัก ปาซาร์รักยัต เกาะกลางซ้อนกัน ใต้ดิน 11 สายซูไงบูโละฮ์-เซอร์ดัง-ปูตราจายา
ธีมพิเศษ: ชุมชนมุสลิม
S21 โคเครน โคเครน เกาะกลาง ใต้ดิน ธีมพิเศษ: การอยู่อาศัย
S22 มาลูริ มาลูริ เกาะกลาง ใต้ดิน 3 สายอัมปัง
ธีมพิเศษ: การเติบโตครั้งใหม่
S23 ตามันเปอร์ตามา ตามันบูกิตเรีย ด้านข้าง ยกระดับ
S24 ตามันมิดะฮ์ ตามันบูกิตเมอวะฮ์ ด้านข้าง ยกระดับ
S25 ตามันมูเตียรา เลเซอร์มอลล์ ด้านข้าง ยกระดับ
S26 ตามันคอนนอจต์ พลาซาฟีนิกซ์ ด้านข้าง ยกระดับ
S27 ตามันซันเต็กซ์ ตามันซันเต็กซ์ เกาะกลาง ยกระดับ
S28 ศรีระยา ตามันคิวแพ็ค ด้านข้าง ยกระดับ
S29 บันดาร์ตุนฮุสเซนออนน์ บันดาร์ตุนฮุสเซนออนน์ ด้านข้าง ยกระดับ
S30 บูกิตดูกุง บาลากง ด้านข้าง ยกระดับ
S31 ตามันโกเปอราซีคิวแพ็ค ตามันโกเปอราซี ด้านข้าง ยกระดับ
S32 ซัวจานาอิมเปียน ซัวจานาอิมเปียน ด้านข้าง ยกระดับ
S33 บันดาร์กาจัง บันดาร์กาจัง ด้านข้าง ยกระดับ
S34 กาจัง กาจัง ปลายทาง ยกระดับ 1 สายเซอเริมบัน

ระบบรถไฟฟ้า แก้

ระบบรถไฟฟ้าผลิตโดยบริษัท ซีเมนส์ รถไฟฟ้าเป็นแบบไร้คนขับ พ่วง 4 คันต่อขบวน จุผู้โดยสารได้ 1,200 คนต่อขบวนต่อทิศทาง โดยรถไฟฟ้าจะเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ในรถไฟใต้ดินวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์[17]

  • ความยาวรถ: 18.6–20.1 เมตร
  • จำนวนประตูรถต่อหนึ่งฝั่ง: 4
  • ความยาวประตูรถ: 1400 มิลลิเมตร
  • การรับกระแสไฟฟ้า: 750 VDC รางที่สาม

มีศูนย์ซ่อมบำรุง 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ซ่อมบำรุงซูไงบูโละฮ์ และศูนย์ซ่อมบำรุงกาจัง[18]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ inspiro-kl
  2. "Rapid Rail Performance Update" (ภาษาอังกฤษ). Rapid KL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-06.
  3. Rapid Rail to take over SBK line ops from Dec 15
  4. "Clash over naming of MRT service line". Malay Mail. 5 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
  5. "No Tussle Over Naming of MRT Line". ETP Updates. 6 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-07. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
  6. 6.0 6.1 6.2 "MRT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-15. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "SBK info" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  7. "NU Sentral Set To Improve Urban Transportation, Says Najib". Bernama. 11 August 2009.
  8. "Government goes with Prasarana to operate Sg Buloh-Kajang MRT line". The Malaysian Insider. 16 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-17. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
  9. 9.0 9.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
  10. transitmy. "MRT Update: MyRapidTransit launching & public viewing on 8 July 2011 at KL Convention Centre". Malaysian Transit. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
  11. Achariam, Noel (30 May 2011). "Proposed TTDI MRT station shifted". New Straits Times. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
  12. "Route Map". MRT Corp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-13. สืบค้นเมื่อ 22 January 2014.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
  14. http://www.youtube.com/watch?v=d62grQs_2I4
  15. http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=J_9QkoLV8FQ#t=207s
  16. http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=J_9QkoLV8FQ#t=222s
  17. MRT Corp. "MRT CORP AWARDS RM3.474 BILLION WORTH OF CONTRACTS" (PDF). MRT Corp. สืบค้นเมื่อ 15 September 2012.[ลิงก์เสีย]
  18. Progress Report (PDF). MRT Corp. 2012. p. 13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน